คำให้การในชั้นศาลสำคัญอย่างไร
คำให้การในชั้นศาลในคดีแพ่งและคดีอาญามีความแตกต่างและจำเป็นต่อการพิจารณาคดีอย่างไร คดีแพ่งสามัญนั้นคำให้การต้องทำเป็นหนังสือเสมอเว้นแต่ในคดีมโนสาเร่จำเลยจะให้การด้วยวาจาก็ได้โดยคำให้การมีหลักการที่ควรรู้ 4 ประการคือ
1.ปฎิเสธคำกล่าวหาของโจทก์เสียทั้งหมดเรียกว่าคำให้การปฎิเสธ
2.ให้การรับว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องนั้นเป็นความจริงแต่โจทก์กล่าวไม่หมดแต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่นอีกและจำเลยขอเสนอข้อเท็จจริงนั้น ซึ่งเมื่อเอาข้อเท็จจริงมาเสนอใหม่นี้ประกอบกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เรียกว่าคำให้การกึ่งรับกึ่งสู้
3.คำให้การที่รับข้อเท็จจริงของโจทก์ตามฟ้องและหยิบยกข้อเท็จจริงใหม่พร้อมด้วยข้อต่อสู้ของจำเลยโดยมีลักษณะเป็นทั้งคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามกฎหมายด้วย
4.คำให้การในคดีแพ่งจะต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับหรือปฎิเสธอย่างชัดแจ้งพร้อมด้วยมูลเหตุแห่งการนั้นทั้งนี้เพื่อศาลและคู่ความสามารถกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าคู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์มากน้อยต่อกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
คำให้การในคดีอาญามีข้อพิจารณาต่อไปนี้
- ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 คือการปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดีโดยรายละเอียดข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจะนำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป
2.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 คือการรับสารภาพทุกข้อกล่าวหาโดยขอให้ศาลลงโทษสถานเบา
แต่ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาลูกความผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกฟ้องคดีจึงควรมีทนายความช่วยในการดูแลและหาช่องทางในการต่อสู้คดีให้แก่ลูกความถือว่าดีที่สุด