อัตราดอกเบี้ยในคดีเงินกู้
เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เรียกเก็บตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ได้บัญญัติว่า ” ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี “
นอกจากนี้ในกรณีที่ดอกเบี้ยมิได้กำหนดอัตราไว้โดยธรรมนิติกรรมหรือบทบัญญัติอันใดอันหนึ่งชัดแจ้ง ประมวลกฎหมายแพ่งและปริมาตรา 79 บัญญัติให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี
จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่ให้เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือ 1.25 ต่อเดือน หรือช่างละบาทต่อเดือน และมีบทบัญญัติในกรณีไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทบัญญัติชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
ข้อสังเกตประการแรก นอกจากบทบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ในทางอาญายังมีกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ถูกจัดให้ถือเป็นความผิดทางอาญาระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเหตุผลและเจตนารมณ์ของการร่างกฎหมายฉบับนี้จะเห็นได้จากคำแถลงการณ์คณะกรรมการราษฎรเกี่ยวกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 หวังจะบำรุงการกู้ยืมให้เป็นไปในทางการที่ควร และในตัวบทบัญญัติกฎหมายก็กล่าวไว้ด้วยว่า การกู้ยืมเงินโดยอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควรนั้น ย่อมเป็นทางเสื่อมประโยชน์ของบ้านเมือง สมควรจะป้องกันราษฎรมิให้ต้องเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
ประการที่สอง เมื่อการกู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ก็มีผลตกเป็นโมฆะ ซึ่งการตกลงเป็นโมฆะนี้ แนววินิจฉัยของศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะเฉพาะข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ส่วนต้นเงินไม่โมฆะ หนี้ตามสัญญากู้ยังคงสมบูรณ์อยู่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยเฉพาะบทบัญญัติส่วนท้ายของมาตรา 654 ก็บัญญัติไว้ว่า ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี
ประการที่สาม ปัญหาต่อมาคือ เมื่อถือว่ากรณีผู้กู้โดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ต้นเงินยังสมบูรณ์ ผู้ให้กู้จะยังคงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่ หากคิดได้ จะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด และมีแนวคำพิพากษาวินิจฉัยว่าคิดดอกเบี้ยกันได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แนวคำพิพากษาฎีกาในเรื่องของดอกเบี้ย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1100/2523 ถ้าเงินค่าเซ้งตึกที่ต้องคืนกัน 80,000 บาท คู่กรณีตกลงกันทำเป็นสัญญากู้โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ครึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นระยะเวลา 15 เดือน เงิน 30,000 บาท รวมเป็นสัญญากู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาทนี้เป็นมูลค่าทั้งหมด เจ้าหนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินคืนโดยรวมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาฎีกาที่ 4056/2528 จำเลยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้เงินมีข้อความระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 18 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ย่อมมีผลให้โจทก์หมดสิทธิ์ที่จะเลือกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดี สัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้นหลังจากที่โจทย์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อทำการชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว จำเลยยังคงเพิกเฉยไม่ได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่าสิ่งนั้นแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4010/2530 โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในทางร้อยละ 20 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทย์หมดสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
ข้อสังเกต
ฎีกาทั้ง 3 ที่ยกมานี้ศาลได้วินิจฉัยว่า การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ แต่ก็ยังเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพียงแต่ฎีกาที่ 4056/2528, 4010/2510 อ้างอิงว่าเป็นการได้ดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ซึ่งก็เรียกได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหมือนกับมาตรา 7
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)