กรณีถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2499 คำรับสภาพหนี้ในใบบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ ซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 หรือสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 65/2507 หนังสือ ไอ โอ ยู เป็นหลักฐานการยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้ เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 644/2509 บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง และจำเลยได้ลงชื่อไว้ใช้บันทึกนั้นด้วย แม้จะเป็นเรื่องพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม ก็ใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 215/2510 จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในใบบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นบันทึกถูกต้อง ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนหย่า ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 โจทก์นำหลักฐานนั้นมาฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากกู้ยืมได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 483/2510 จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่าไม่ต้องการรบกวนตรวจอีก เขายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละหายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งเพราะไม่ระบุจำนวนเงินจำนวนนั้นไม่ได้ ต่อมาตรวจส่งครับไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟแล้วและต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 682, 863 /2520 การที่นิติกรรมสัญญาขายฝากทางขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงิน นิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาหลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น วิธีการอ่านและที่พักบนออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือ สัญญากู้เงินที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกนำไปตามมาตรา 118 วรรค 2 ในกรณีเช่นนี้ แม้นิติกรรมสัญญากู้เงินจะไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาขายฝากก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเอกสารการขายฝากเป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีผลบังคับได้
สอบถามปัญหาข้อพิพาทการกู้เงิน กับทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์) สำนักงานกฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์ ถนนบางนา- ตราด (สมุทรปราการ)