การขอปล่อยชั่วคราว
การปล่อยชั่วคราว คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจ าเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะให้ปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
การขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวได้ ดังนี้
1) ชั้นฝากขัง ขอปล่อยชั่วคราวได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตฝากขังระหว่างที่ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ
2) ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจำเลย จึงมีสิทธิขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลได้ หรือในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์เมื่อศาลประทับฟ้องแล้วจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนวันนัด ในวันนัดหรือหลังจากวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้
3) ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา กรณีที่จำเลยถูกขังหรือจำคุกโดยผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาพร้อมกัน หรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้แล้วแต่กรณี
สอบถามเรา รับคำแนะนำกับเรา /ฟรี 091-0473382