ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาและกระทำไปโดยบุคคลเพียงฝ่ายเดียว การกระทำนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมได้ เช่น การทำพินัยกรรม การบอกเลิกสัญญา การปลดหนี้ การตั้งมูลนิธิ เป็นต้น mahjong slot
นิติกรรมหลายฝ่าย เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาและการกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะเกิดเป็นนิติกรรมได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง สัญญากู้ยืมเงิน การหมั้น การสมรส เป็นต้น
- นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบและนิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ
นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ เป็นนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดแบบหรือวิธีการในการทำ
นิติกรรมนั้นเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะไม่เกิดผลทางกฎหมายและตกเป็นโมฆะ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจำนอง การทำพินัยกรรม การสมรส เป็นต้น https://www.funpizza.net/
นิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาเท่านั้นและจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการทำนิติกรรมกัน เช่น สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ สัญญาจ้างแรงงาน เป็นต้น
- นิติกรรมมีค่าตอบแทนและนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน
นิติกรรมมีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำขึ้นแล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทนนั้นอาจเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน
อื่นใด หรือการชำระหนี้ก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ สัญญาให้ที่มีค่าภาระผูกพัน เป็นต้น https://www.highlandstheatre.com/
นิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่ให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือนิติกรรมที่ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ได้ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป เป็นต้น
- นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลาและนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา
นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลหรือสิ้นผลไปเมื่อเป็นไป ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนด เช่น ตกลงจะขายรถยนต์ต่อเมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศเมื่อใด ถือว่าเงื่อนไขที่ตกลงซื้อขายรถกันมีผลสำเร็จแล้ว ผู้ขายต้องขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ตกลงไว้ เป็นต้น
นิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลใช้บังคับทันทีที่ https://www.sushitokyo.net/
ตกลงทำนิติกรรมกัน โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากำหนดไว้ในนิติกรรมนั้น เช่น คู่สัญญาตกลงซื้อรถยนต์กันโดยไม่มีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใดๆ ไว้ สัญญาซื้อขายนั้นมีผลผูกพันผู้ขายและผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขายรถกัน เป็นต้น
- นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ และนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว
นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิติกรรมที่ผู้ทำแสดงเจตนาประสงค์ให้เกิดผลระหว่างที่ผู้ทำนิติกรรมยังมีชีวิตอยู่ เช่น สัญญาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ทำสัญญานั้นมีชีวิตอยู่ และมีผลใช้บังคับในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น
นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทำมีชีวิตอยู่ แต่จะมีผลบังคับเมื่อผู้ทำตายไปแล้ว เช่น การทำพินัยกรรม การทำสัญญาประกันชีวิต เป็นต้น
บทความโดย : ทนายสุริยา สนธิวงศ์
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382
https://page.line.me/379vfaui