ความผิดคดีฉ้อโกง

ความผิดคดีฉ้อโกง

คดีความข้อหาฉ้อโกงเป็นความผิดในคดีอาญามีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี   โดยมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ครับ mahjong slot

มาตรา 341    “  ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความซึ่งควรบอกให้แจ้ง   และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวง   หรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ์    ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ” https://www.sushitokyo.net/

สอบถามเพิ่มเติม https://www.facebook.com/chessstudio/

091-0473382 , 02-1217414 https://www.funpizza.net/
https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

 

ฎีกาเรื่องหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

ฎีกาที่ 167/ 2499

คำรับสารภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นพยาน  แสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 65/2507

หนังสือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว    ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น

 

ฎีกาที่ 64/2509

บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง และจำเลยได้ลงชื่อไว้ท้ายบันทึกนั้นด้วย    แม้จะเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม   ก็สามารถใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแทนสัญญาแห่งการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 215/2510

จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าบันทึกถูกต้อง  ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนการหย่าถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 โจทย์สามารถนำหลักฐานนั้นมาฟ้องร้องเรียกหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 483/2510

จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า ไม่ต้องมารบกวนอีกเก่ายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละอายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ   เพราะข้อความยังไม่ระบุจำนวนเงินโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ไม่ได้     แต่ต่อมาหากโจทก์ส่งข้อความไปให้จำเลยจำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับเงินแล้ว  และต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงจุดยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม     โจทก์จึงฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้

 

กฎหมายหน้ารู้

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ทางปฏิบัติในการกู้ยืมเงินที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การกล่าวถึงหลักการพื้นๆไม่ลงลึกในรายละเอียด  เพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแนวทาง ในการทำคดีประเภทนี้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะยึดถือเป็นหลักตายตัวไปทั้งหมด จะยึดได้กรณีเฉพาะที่มีการแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเท่านั้น    ส่วนด้านอื่นที่เป็นเทคนิคของผู้ทำคดีแต่ละคนที่จะประยุกต์ใช้หรือมีเทคนิควิธีการที่ดีอยู่แล้วก็ได้ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลไป     ในทางปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงินในแต่ละขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นว่าควรมีสิ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องกระทำเมื่อเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี ทางหนึ่งที่จะได้ข้อเท็จจริงก็คือการตรวจสอบซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงจากตัวความ เพิ่งมาติดต่อปรึกษาว่าจ้างให้เราเป็นทนายความให้ จะต้องซักถามรายละเอียดและข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีอะไร อย่างไรบ้าง ต้องรวบรวมไว้ซึ่งจะต้องซักถามรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมองลู่ทางรูปเขาของคดีแล้ว เมื่อตัดสินใจฟ้องร้องก็มักจะมีการออกหนังสือบอกกล่าวที่เรียกว่า Notice เป็นการกล่าวเตือนให้ปฏิบัติการชำระหนี้มิฉะนั้นจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ลักษณะของหนังสือบอกกล่าวนั้นควรมีลักษณะตรงไปตรงมา กล่าวถึงเหตุผลความเป็นมาของนิติกรรมสัญญาระหว่างกันการผิดนัดจำนวนหนี้สินที่ต้องชำระตลอดเป็นมาตรการที่จะให้ดำเนินการหากไม่ปฏิบัติตามการชำระหนี้คือ การฟ้องคดีนั้นเอง

 

กฎหมายหน้ารู้

ละเมิด คือ อะไร

 ละเมิด คือ อะไร

ละเมิด  คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคล อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น อาจเป็นการกระทำของตนเอง การกระทำของบุคคลอื่น หรือความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองดูแล ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ ในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดจากการกระทำละเมิด

ความรับผิดจากการกระทำละเมิด

หลักกฎหมายว่าด้วยการกระทำที่เป็น ” ละเมิด

มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี  แก่ร่างกายก็ดี    อนามัยก็ดี   เสรีภาพก็ดี  ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า  ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ”

              องค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิด กล่าวคือ

  1. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  2. กระทำโดยผิดกฎหมาย
  3. การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
  4. ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น

                สำหรับการละเมิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับด้วยเหตุผลว่า  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะตัว ในการดำเนินงานบางครั้งอาจเกิดความเสียหายขึ้นโดยความไม่ตั้งใจและผิดพลาดเล็กน้อยแต่กลับต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว และที่ผ่านมายังใช้หลักของลูกหนี้ร่วมทำให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของผู้อื่นด้วย  ซึ่งเป็นระบบที่มุ่งจะให้ได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายอย่างครบถ้วนโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อบุคคล จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ จนบางครั้งเป็นปัญหาในการบริหารงานเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจในการทำงานเท่าที่ควร      ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงให้เจ้าหน้าที่รับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ

                      ดังนั้นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน้าที่ของตนนั้นหากเกิดความเสียหายขึ้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าทีนั้นต้องไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่  การที่มีกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ดังกล่าวนั้นเนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ บางกรณีอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดหรือเป็นเหตุสุดวิสัยโดยมิได้เกิดจากความ จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเสียหายพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ จึงบัญญัติคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไว้ ดังนี้

             มาตรา๕ วรรคหนึ่ง “ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐ ดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้  ”

            แต่หากเจ้าหน้าที่กระทำการนอกเหนือหรือไม่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของตน เช่น เจ้าพนักงานการเงิน ไม่ได้มีหน้าที่ในการขับรถ แต่ได้ขับรถไปซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนแล้วเกิดเฉี่ยวชนกับคุคลภายนอกได้รับความเสียหายเป็นต้นย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

           มาตรา๖ บัญญัติว่า  “ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้น เป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานรัฐไม่ได้” จะเห็นได้ว่าหากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือหน้าที่ของตนตามที่กฎ ระเบียบ กำหนดไว้แล้วรัฐไม่คุ้มครองแต่ถ้าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนโดยชอบแล้วเมื่อเกิดความ ผิดพลาดไม่ว่าบุคคลใดได้รับความเสียหายหรือทำให้รัฐเองเสียหายก็ตาม หน่วยงานของรัฐ จะต้องเข้ารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนเจ้าหน้าที่ แต่ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า ความผิดพลาดที่ เกิดขึ้นเนื่องมาจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ตามความที่บัญญัติไว้ใน มาตรา๘ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการอันเป็นไปด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

                กรณีจะเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะต้องเป็นประมาทเลินเล่อเสียก่อนโดย “จะเป็นส่วนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจงใจกับประมาทเลินเล่อธรรมดา” คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือกรมบัญชีกลางว่า การที่จะพิจารณาว่ากรณีใดจะเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบทุกคน จนถึงคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือศาล ส่วนอย่างไรเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีไปความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะมีลักษณะไปในทางที่บุคคลนั้นได้กระทำไปโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้หรือหากใช้ความระมัดระวังสักเล็กน้อย ก็คงได้คาดเห็นการอาจเกิดความเสียหายนั้น นั้นเอง

สอบถามเพิ่มเติมหรือติดต่อทนายความ

091-0473382   , 02-1217414

Line id  : 0910473382

 

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ

3.หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง   แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

วินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ศาลท่านจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108

ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

3) พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร

4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันตัวหรือหลักประกันได้เพียงใด

5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

6) ไปอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาลถ้ามีกำหนดการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์หรือผู้เสียหายแล้วแต่กรณีศาลจึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงรายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้

 

ปรึกษากฎหมายโทร 091-0473382 , 02-1217414

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ
  3. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

กฎหมายหน้ารู้

หลักทรัพย์ประกันตัวในคดีอาญา

หลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันของผู้ต้องหาในคดีอาญาสามารถจัดหาได้ตามความพร้อมของตัวความอันได้แก่

  • กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกัน
  • เงินสดของตัวความหรือญาติพี่น้องนำมาวางที่ศาล
  • โฉนดที่ดิน
  • สมุดบัญชีเงินฝากพร้อมหนังสือยอดเงินในบัญชีจากธนาคาร
  • สลากออมสิน
  • ตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

 

กฎหมายหน้ารู้

วิธีการขอปล่อยตัวชั่วคราว

คู่ความที่ถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจหรือที่ศาลในคดีอาญาทุกคดีมีสิทธิ์ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกคดีในขณะที่คดีความยังไม่เสร็จสิ้นต่อศาลได้

กรณีหากตัวความถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจก็สามารถยื่นหลักทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อทำการขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้

สำหรับตัวความใดที่พนักงานสอบสวนส่งตัวไปขออนุญาตฝากขังที่ศาลแล้ว    ตัวความรายนั้นก็สามารถนำหลักทรัพย์ที่จัดเตรียมไว้เพื่อยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างคดีความยังไม่เสร็จสิ้นได้ต่อศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องได้     ผู้เขียนแนะนำควรจัดเตรียมเอกสารที่ใช้สำหรับการขอปล่อยตัวต่อศาลไปให้ครบถ้วนก่อนเข้าไปติดต่อขอเจ้าหน้าที่       มิฉะนั้นจะทำให้ตัวความเสียเวลาในการดำเนินการดังกล่าวเพราะเหตุขาดความพร้อมในการดำเนินการ  

กฎหมายหน้ารู้