การต่อสู้คดีความในชั้นพิจารณาของศาล

การต่อสู้คดีที่เกิดขึ้นกับตัวความกับการหาทางออกในเรื่องคดีความที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน   ทางออกที่ตัวความควรพิจารณาก็คือ        “   หากคดีอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาล  ตัวความทุกท่านสมควรมีที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความที่ท่านไว้วางใจเพื่อขอคำปรึกษา  แนะนำ  ขอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับกับตัวความจากปัญหาที่เกิดขึ้น  อันเนื่องมาจากที่ได้กล่าวเช่นนี้ก็เพราะทนายความถือว่าเป็นผู้รู้  เป็นบัณฑิต  เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในงานคดีที่เกิดขึ้น  ทนายความจะเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการพิจารณาคดีต่อศาล      การตัดสินใจของเราในคดีที่เกิดขึ้นจะมีผลดีหรือผลเสียต่อคดีหรือไม่นั้น  สิ่งเหล่านี้ทนายสามารถเสนอแนะและให้ความเห็นเชิงนักกฎหมายให้แก่ตัวความที่เข้ามาขอคำปรึกษาได้    ”

 

หากท่านดำเนินการดังกล่าวแล้ว  การที่ท่านนำเอาข้อเท็จจริงและความต้องการของตัวความที่มีอยู่เข้ามารวมกับความเห็นในเชิงกฎหมายของทนายความ เชื่อว่าตัวความก็จะได้ประโยชน์และมีทางออกในการแก้ปัญหาคดีความที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

การต่อสู้คดีความในชั้นพิจารณาของศาล

กฎหมายหน้ารู้

ทำยอมกันที่ศาล

คดีความที่เกิดขึ้นแล้วทุกๆคดี  ส่วนใหญ่ศาลมักที่จะเปิดโอกาสให้คู่ความทั้งสองฝ่ายให้มีการพูดคุยเจรจาคดีที่เป็นความกันก่อนอยู่เสมอ  และหากตัวความสามารถตกลงกันได้  ในทางคดีเรียกกันว่า “ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาล ”

การทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลนั้น  หากคู่ความสองฝ่ายตกลงจัดทำขึ้นมาแล้วตามเจตนารมณ์ทั้งสองฝ่ายแล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาและตัดสินคดีให้เสร็จสิ้นไปตามที่สองฝ่ายได้ตกลงกัน  ส่งผลให้คดีความที่ศาลเสร็จสิ้นโดยทันทีได้โดยคดีความไม่ยืดเยื้อยาวนาน

ส่วนหลังจากตกลงกันแล้ว  หากคู่ความฝ่ายใดผิดนัดตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ในสัญญายอม  ตัวความอีกฝ่ายอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สามารถดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลได้

ทำยอมกันที่ศาล

กฎหมายหน้ารู้

ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นดุลพินิจ

การปล่อยตัวชั่วคราวเป็นดุลพินิจ ผู้ต้องหาหรือญาติของผู้ต้องหาที่ประสงค์จะขอปล่อยตัวชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาในระหว่างคดีที่ยังไม่สิ้นสุดนั้น  สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวต่อพนักงานสอบสวนหรือยื่นคำร้องเสนอต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของคดีที่เกิดขึ้นได้

การอนุญาตในการปล่อยตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างคดี      ในบางคดีที่เป็นคดีอุกฉกรรจ์หรือในบางคดีที่มีความผิดร้ายแรง  พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีในชั้นสอบสวนหรือศาลที่พิจารณาอาจสั่งไม่อนุญาตในการปล่อยตัวของผู้ต้องหารายนั้นก็ได้

กรณีหากศาลมีคำสั่งออกมา  ไม่ว่าจะสั่งอนุญาตหรือไม่ก็จะมีเหตุผลของคำสั่งนั้นแจ้งให้กับญาติหรือผู้ต้องหาทราบทุกๆครั้งเสมอไป   ส่วนหากศาลสั่งไม่อนุญาตในการปล่อยตัว   ตัวความหรือผู้ต้องหามีสิทธิในการร้องขอต่อศาลเพื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวอีกครั้งหนึ่งต่อไปได้ครับ

กฎหมายหน้ารู้

แนวทางต่อสู้คดีความ

การต่อสู้คดีกับการหาทางออกในเรื่องคดีความที่เกิดเป็นเรื่องเดียวกัน    การมีทางออกที่ดีและถูกต้อง    “ หากคดีอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาล  ตัวความทุกท่านสมควรมีที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับท่าน  เนื่องด้วยทนายความเป็นผู้รู้และเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในงานคดีที่เกิดขึ้น เข้าใจขั้นตอนการดำเนินคดีต่อศาล  การตัดสินใจของเราในคดีที่เกิดขึ้นมีผลดีหรือผลเสียต่อคดีที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร สิ่งเหล่านี้ทนายสามารถเสนอแนะและให้ความเห็นเชิงนักกฎหมายให้กับตัวความได้    ”    หากท่านทำตามขั้นตอนดังกล่าวนำข้อเท็จจริงและความต้องการของตัวความที่มีมารวมกับความเห็นในเชิงกฎหมายหรือขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาล เชื่อว่าตัวความก็จะได้ประโยชน์และได้มีทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน

 

กฎหมายหน้ารู้

ขึ้นศาลครั้งแรก

ก่อนอื่นผู้เขียนขอแสดงความยินดีกับตัวความที่มีคดีความเป็นครั้งแรกด้วย เพราะการที่ท่านเพิ่งมีคดีความเพียงครั้งแรกนั้น  แสดงให้เห็นว่าท่านยังมีชีวิตที่ดีกว่าคนอื่นๆอีกหลายคน   สิ่งสำคัญของท่านเมื่อมีคดีความต้องขึ้นโรงขึ้นศาลแล้ว  คือ   การเตรียมความพร้อมก่อนไปศาลตามวันเวลานัดหมาย ผู้เขียนมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวของตัวความดังต่อไปนี้

1) ปรึกษาทนายความ https://www.funpizza.net/

การปรึกษาทนายความก็เพื่อตัวความที่ต้องขึ้นศาลจะได้ทราบหน้าที่ของตนเองว่ามีสิ่งไหนบ้างที่จะต้องเตรียมตัวหากมีคดีความต่อศาล    ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น  ในคดีแพ่งประเภทคดีแพ่งสามัญกฎหมายกำหนดให้ตัวความที่ได้รับหมายศาลจะต้องมีหน้าที่จัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมายเรียก  หากตัวความไม่จัดทำยื่นเสนอต่อศาลภายในเวลากำหนดนี้  ส่งผลให้ตัวความแพ้คดีตั้งแต่เริ่มต้น   ส่วนในบางคดีแพ่งอื่นๆตัวความสามารถยื่นคำให้การต่อศาลภายในวันนัดได้   หากถึงวันนัดไม่จัดทำคำให้การยื่นเสนอต่อศาลอีกก็มีโอกาสแพ้คดีได้เช่นเดียวกัน    ในบางกรณีหากเป็นคดีอาญาที่ตัวความต้องไปตามหมายเรียก  ตัวความควรเตรียมความพร้อมเรื่องหลักทรัพย์ประกันตัวเอาไว้สำหรับการขอปล่อยตัวที่ศาลในวันนัดหมายหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ตัวความควรปรึกษากับทนายความเมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาล    ดังนั้นการปรึกษาทนายความเมื่อมีคดีความต้องขึ้นศาลจึงจำเป็นจะต้องปรึกษาทนายความก่อนเสมอ

2)  จัดทำแนวทางออกของปัญหาคดีความชั้นพิจารณาคดีต่อศาลก่อนถึงวันนัดหมาย

แนวทางออกของตัวความจะได้รับแนวทางออกที่ดีหรือถูกต้องตัวความจะได้รับภายหลังได้ประชุมหารือกับทนายความก่อน เนื่องจากตัวความมีข้อมูลในคดีและมีรายละเอียดข้อเท็จจริงรวมทั้งความต้องการของท่านในคดีที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนทนายความก็มีความเข้าใจในข้อกฎหมายและระบบการพิจารณาของศาล หากนำสองอย่างมารวมกันก็จะได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับตัวความที่ศาลได้อย่างถูกต้องแน่นอน

3)  ไปศาลตามวันเวลาที่นัดหมาย https://www.highlandstheatre.com/

เมื่อถึงกำหนดนัดหมายที่ศาลกำหนดไว้  ตัวความในคดีสมควรมีทนายความร่วมรับฟังและเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมการพิจารณาคดีด้วยเสมอ  ในการพิจารณาคดีของศาลนัดแรกส่วนใหญ่ศาลมักจะเปิดโอกาสให้คู่ความสองฝ่ายไกล่เกลี่ยกันก่อนเสมอ  คู่ความฝ่ายตรงข้ามทุกคดีส่วนใหญ่ก็จะมีทนายความมาด้วยเสมอ  นัดแรกหากคดีตัวความสามารถตกลงกันได้ คดีความก็อาจจะจบลงได้โดยไม่ยืดเยื้อก็สามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน  สัญญาจะส่งผลให้ท่านได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือไม่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง   บางกรณีหากคดีตกลงกันไม่ได้แล้วตัวความจะต้องทำอย่างไรต่อไป  คำให้การจะยื่นเลยไหม  หากไม่ยื่นจะมีผลต่อคดีอย่างไร  หากมีนัดหมายครั้งต่อไปจะต้องเตรียมตัวอะไร  ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง  ผลที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร   นี่คือสิ่งที่ท่านไม่รู้     !!!   นี่คือเหตุผลการมีทนายความเข้าร่วมพิจารณาคดีครับ 

กฎหมายหน้ารู้

เตรียมพร้อมก่อนขึ้นศาล

เตรียมความพร้อมก่อนขึ้นศาล

         การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นศาล  ไม่ว่าจะเป็นตัวความเองหรือทนายความเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน  หากเตรียมตัวดี     มีความเข้าใจในระบบการพิจารณาของศาล    มีความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น     มีทักษะสำหรับการเจรจาคดีความได้ดี    คดีความที่มีอยู่ก็จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจได้    แต่ในบางกรณีตัวความขาดทักษะประสบการณ์    ขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น  หรือไม่เข้าใจในระบบกระบวนการพิจารณาความต่างๆ  สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบให้ตัวความเกิดความเสียหายต่อคดีที่พิจารณาในชั้นพิจารณาของศาลได้  เช่น  กระทบต่อยอดเงินและความรับผิดชอบตามข้อกล่าวหาที่มี   ในบางคดีอาจส่งผลให้ตัวความแพ้คดีได้โดยที่ไม่สมควรที่จะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น

 

ทัศนะของทนายความในเรื่องนี้เห็นว่า   การสอบข้อเท็จจริงจากตัวความในคดี  เพื่อรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด   รวมถึงการสืบค้นข้อกฎหมายและแนวคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง   เพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดทำแนวทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาคดีความให้กับตัวความนั้นมีความสำคัญมาก      ทนายความที่ได้รับมอบหมายในงานคดีที่เกิดขึ้นสมควรจัดเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้   และสมควรแจ้งให้ตัวความทราบล่วงหน้าก่อนวันขึ้นศาลก่อนเสมอ     เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นพิจารณาคดีต่อศาลในวันนัดหมายได้แล้วครับ

กฎหมายหน้ารู้