ผู้จัดการมรดก?

ผู้จัดการมรดก?

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น กองทุน ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินที่มีผู้อื่นยืมไป หนี้ ภาระติดพันต่างๆ ทั้งการจำนองหรือค้ำประกัน เป็นต้น

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรจะต้องรู้ไว้คือ หลังจากที่ผู้ตาย หรือที่กฎหมายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ได้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ถึงแม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม แต่ก็อาจมีปัญหาในการแบ่งมรดก ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก” และถึงแม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

 

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดคดีแพ่ง

wooden gavel and books on wooden table,on brown background

ความผิดคดีแพ่ง
คดีแพ่ง คือคดีที่ฟ้องเพื่อเรียกเงินระหว่างกัน เช่น คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้น
การฟ้องร้องคดีแพ่ง ต้องมีการจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้อง ต้องมีการเสียค่าขึ้นศาล ค่าส่งหมายให้ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ทราบถึงการฟ้องร้องนั้น ค่าคำร้อง และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะมีการรวบรวมไว้ และเมื่อชนะคดีแล้ว ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้น แทนโจทก์ และเมื่อชนะคดีโจทก์ก็ต้องนำยึดทรัพย์สินของจำเลย (ถ้ามี) เพื่อนำออกขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิการมีทนายความในศาล

การดำเนินคดีอาญานั้นนอกจากจะมุ่งปราบปรามการกระทำความผิดแล้ว ยังต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความที่เกิดขึ้นอีกด้วย ในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เช่นเดียวกัน กฎหมายได้ให้การคุ้มครองสิทธิของจำเลยไว้ว่า “ จำเลยในคดีมีสิทธิในการมีทนายความได้ ” เพราะถือว่าทนายความนั้นเป็นผู้ที่จะคอยมาพิทักษ์สิทธิของจำเลยให้การต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น การยื่นคำให้การต่อสู้คดี การนำพยานมาหักล้างพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ซึ่งรวมถึงการซักค้านด้วย การขอให้ศาลปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างการพิจารณา รวมถึงช่วยเหลือจำเลยในการอุทธรณ์ ฎีกาต่อไป
ดังนั้นในคดีความที่เกิดขึ้น ทนายความเปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยหรือเป็นพี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลและให้คำแนะนำจนกว่าคดีความของลูกความเสร็จสิ้น ตรงตามความต้องการของลูกความครับ

กฎหมายหน้ารู้

สำคัญก่อนขึ้นศาล

สำคัญก่อนขึ้นศาล

ด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคม และครอบครัวในปัจจุบัน ปัญหาคดีความถือก็ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่มีคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทย
ปัญหาการเริ่มต้นคดีความที่ผิดพลาด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีความ บางท่านไปศาลตามกำหนดนัดหมายส่งผลให้ศาลตัดสินแพ้คดีได้ง่ายๆ บางท่านในคดีอาญาศาลอาจจะสั่งจำคุกจนกลับบ้านไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้นเรื่องนี้ทนายเห็นว่าการเตรียมตัวขึ้นศาลก่อนวันนัดหมายจึงมีความสำคัญมากกว่าวันพิจารณาคดีด้วยซ้ำไป ความสำคัญของการเตรียมคดีจึงอยู่ที่ว่า ท่านได้เข้าพบ ประชุม และหาช่องทางออก หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีความกับที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความที่ท่านไว้วางใจก่อนวันนัดหมายหรือไม่ เพราะที่ปรึกษาคือสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลเป็นที่ปรึกษา และวางแผนในการแก้ปัญหาให้ท่านได้เป็นอย่างดี
เมื่อท่านรู้แนวทางหรือช่องทางในการดำเนินคดี ก่อนล่วงหน้า ท่านก็จะรู้ว่าสิ่งที่ท่านจะต้องเตรียมตัวก่อนวันนัดหมายของศาลนั้นควรจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้คดีความของท่านเกิดความราบรื่น ไม่เสียหาย ตรงความต้องการของท่านได้
ท้ายนี้ ทนายขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน เพื่อจะก้าวผ่านพ้นวิกฤต เศรษฐกิจในช่วงนี้ครับ
ท่านใด สงสัย หรือต้องการสอบถามข้อกฎหมายใดๆ สามารถ ทักทายเข้ามาคุยกับทนายได้ทุกวัน
#ติดต่อ 02-1217414 , 091-0473382
หรือกดลิงค์ : https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

การแจ้งความเท็จ

 

การแจ้งความเท็จ

การกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จมักจะเกี่ยวเนื่องกับกรณีการไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้แจ้งอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไป

             มาตรา  137 บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ https://www.funpizza.net/

             มาตรา  172  บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา  173  บัญญัติว่าผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่าได้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน  6,000  บาท https://www.highlandstheatre.com/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต https://www.highlandstheatre.com/

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา https://www.funpizza.net/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

องค์ประกอบเดียว ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่าเป็นผู้ออกเช็คตาม ข้อที่ 1 ย่อมมีความผิดแม้จะมีเหตุเหล่านี้มาประกอบก็ตาม

  1. ผู้ออกเช็คจะไม่มีหนี้สินกับผู้ทรงโดยตรง

ฎีกาที่  1273 2/2557 3 เมื่อจำเลยที่  2  เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เงินในเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่  2  ว่าเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร   ดังนี้แม้จำเลยที่  2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่ง ซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง    เมื่อจำเลยที่ 2 ลงมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง  2  ฉบับ   จำเลยที่  2  ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย

2.  บัญชีเงินฝากปิด

ฎีกาที่  1017/2567  บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ใน มาตรา  487  และ  488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ โทรออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

ฎีกาที่  249/2527  จำเลยรับกระบือจากโจทก์  29  และออกเช็คให้โจทก์  2  ฉบับคณะออกเช็คบัญชีของจำเลยผิดแล้วดังนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่ากระบือที่โจทก์ขายขาดให้จำเลยไม่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระราคากระบือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

การรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า   ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับถ้าปรากฏว่าผู้นั้น

1) ไม่เคยรับโทษ จำคุกมาก่อน

2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ

3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปีแล้วมากระทำความผิดอีกด้วยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุประวัติ  ความประพฤติ  สติปัญญา  การศึกษาอบรม  สุขภาพ  สภาวะแห่งกิจนิสัย  อาชีพ   และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น  หรือสภาพความผิดหรือการรู้สึกความผิด และการพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น  หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว   ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่เรากำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด  แต่ต้องไม่เกิน5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาโดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อควบคุมความความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่ออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คมีไม่พอจ่าย

ฎีกาที่  3970/2528  โทรกลับจำเลยเข้าหุ้นกันค้าขายเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนซึ่งทราบยอดเงินในบัญชีดีและทอรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเท่ากับโจทย์สมคบการสลักหลังโอนเช็คให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินและนำเช็คมาฟ้องคดีโดยตอบไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และโจทก์ทราบความเป็นมาของเช็คพิพาทดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยย่อมไม่มีความผิด

ฎีกาที่  1523-1524/2525  จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์ทราบดีแล้วว่าขณะที่ออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้และจำเลยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ต้องออกเช็คการออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้