การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

1.สอบถามให้ชัดเจนว่าถูกเรียกไปพบในสถานะใด    ในกรณีที่ถูกหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนตัวความควรรู้เบื้องต้นว่าท่านไปพบพนักงานสอบสวนในฐานะพยาน  หรือ  ผู้ถูกกล่าวหา    หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วเราตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาเรามีสิทธิทางกฎหมายที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้    หากไปในฐานะพยานเรามีหน้าที่ต้องให้การตามความเป็นจริงหากฝ่าฝืนอาจถูกแจ้งข้อกล่าวในเรื่องการให้การเท็จด้วยได้

2.การให้การต่อพนักงานสอบสวนพร้อมเหตุผล  และ  พยานหลักฐานที่มีอยู่ให้พนักงานทราบ   แม้ว่าเราจะตกเป็นผู้ต้องหาแต่เรามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้    แต่การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผลทำให้มีโอกาสที่จะถูกฟ้องคดีได้ง่ายยิ่งขึ้น      ดังนั้นเราต้องมีพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ เป็นต้น

3.สิทธิที่จะให้บุคคลที่ไว้วางใจหรือทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิข้อนี้ไว้      ทั้งนี้เพื่อให้ทนายความช่วยเหลือและรักษาประโยชน์ของผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิที่จะกันบุคคลตามกฎหมายออกไปได้   ลักษณะนี้ถือว่าการเข้าพบตำรวจท่านเปรียบเสมือนมีตัวช่วยคอยชี้แนะ  แนะนำ  ให้คำปรึกษาถึงผลดีผลเสียในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องในคดีได้

4.สอบถามเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว การพบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาและรับทราบข้อกล่าวหาจะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือและบางคดีอาจต้องมีการควบคุมตัวในขั้นตอนนี้จึงควรมีทนายความมาช่วยเหลือในเรื่องของการประกันตัวและการจัดเตรียมหลักทรัพย์ในการประกันตัวซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมากเพราะหากไม่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวนั้น จะทำให้การเตรียมพยานหลักฐานเพื่อชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนจะไม่สะดวกและเป็นไปได้ยาก แต่หากได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนเรื่องการใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วควรรับปรึกษาทนายความของท่านเพื่อหาช่องทางในการต่อสู้คดีและหากในวันนัดตามหมายเรียกเรายังไม่พร้อมควรแจ้งไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอเลื่อนกำหนดการไปก่อนจนกว่าทนายความของท่านจะได้จัดเตรียมแนวทางในการต่อสู้คดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 

ดังนั้นจากบทความข้างต้นที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ทนายความของท่านจึงมีบทบาทสำคัญตามกฎหมายที่จะช่วยเหลือท่านได้และเป็นที่ไว้วางใจในการจัดเตรียมแนวทางต่อสู้คดีครับ

 

 

กฎหมายหน้ารู้

คำให้การในชั้นศาลสำคัญอย่างไร

คำให้การในชั้นศาลสำคัญอย่างไร

    คำให้การในชั้นศาลในคดีแพ่งและคดีอาญามีความแตกต่างและจำเป็นต่อการพิจารณาคดีอย่างไร คดีแพ่งสามัญนั้นคำให้การต้องทำเป็นหนังสือเสมอเว้นแต่ในคดีมโนสาเร่จำเลยจะให้การด้วยวาจาก็ได้โดยคำให้การมีหลักการที่ควรรู้ 4 ประการคือ

1.ปฎิเสธคำกล่าวหาของโจทก์เสียทั้งหมดเรียกว่าคำให้การปฎิเสธ

2.ให้การรับว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องนั้นเป็นความจริงแต่โจทก์กล่าวไม่หมดแต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่นอีกและจำเลยขอเสนอข้อเท็จจริงนั้น ซึ่งเมื่อเอาข้อเท็จจริงมาเสนอใหม่นี้ประกอบกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เรียกว่าคำให้การกึ่งรับกึ่งสู้

3.คำให้การที่รับข้อเท็จจริงของโจทก์ตามฟ้องและหยิบยกข้อเท็จจริงใหม่พร้อมด้วยข้อต่อสู้ของจำเลยโดยมีลักษณะเป็นทั้งคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามกฎหมายด้วย

4.คำให้การในคดีแพ่งจะต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับหรือปฎิเสธอย่างชัดแจ้งพร้อมด้วยมูลเหตุแห่งการนั้นทั้งนี้เพื่อศาลและคู่ความสามารถกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าคู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์มากน้อยต่อกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

คำให้การในคดีอาญามีข้อพิจารณาต่อไปนี้

  1. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 คือการปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดีโดยรายละเอียดข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจะนำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป

2.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 คือการรับสารภาพทุกข้อกล่าวหาโดยขอให้ศาลลงโทษสถานเบา

แต่ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาลูกความผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกฟ้องคดีจึงควรมีทนายความช่วยในการดูแลและหาช่องทางในการต่อสู้คดีให้แก่ลูกความถือว่าดีที่สุด

 

กฎหมายหน้ารู้

ความสำคัญของการจัดทำรายละเอียดข้อเท็จจริงในคดี

ความสำคัญของการจัดทำรายละเอียดข้อเท็จจริงในคดี

          ในการค้นหา ข้อเท็จจริง และรวบรวม พยานหลักฐาน จากเรื่องราวต่าง ๆ ในคดีนั้นก็เพื่อจะนำไปใช้ในการปรับเข้ากับ ข้อกฎหมาย โดยในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง นั้น ต้องสอบก่อน ตั้งรูปคดี และต้องให้ชัดเจนว่า โจทก์จะฟ้องเรียกร้องอะไร เช่น ฟ้องลูกหนี้เรียกเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่า เงินต้นค้างชำระเท่าไหร่ ดอกเบี้ยค้างเท่าไหร่ คิดอัตราอย่างไร เป็นต้น ในคดีแพ่งทั่วไป จะมีแหล่งหา ข้อเท็จจริง เบื้องต้น คือ จากตัวโจทก์ จากพยานบุคคล จากพยานเอกสาร จากพยานวัตถุ ฯลฯ หากมีเรื่องสถานที่ เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อเท็จจริง ก็ควรเดินทางไปดู ณ สถานที่จริงด้วย ข้อเท็จจริงที่หาได้จะนำมาประกอบเพื่อตั้งรูปฟ้องคดี ถ้าสอบ ข้อเท็จจริง ผิดพลาด หรือ ยังไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การวางหลัก ข้อกฎหมาย เพื่อปรับใช้กับ ข้อเท็จจริงนั้น คลาดเคลื่อนไม่ชัดเจน มีช่องโหว่ จนเสียเปรียบให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึงต้องถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รัดกุม และ เป็นประโยชน์สูงสุดในการ ตั้งรูปคดี เพื่อฟ้องต่อศาล ทนายความ ต้องทำการซักถาม ประวัติส่วนตัว ของ โจทก์ และ พยาน ให้ละเอียดมากที่สุด และ เรื่องราวเนื้อหาในคดี ก็ต้องสอบถามข้อเท็จจริง ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ แบบเชิงลึก ตามลำดับเหตุการณ์ หากขณะสอบข้อเท็จจริง โจทก์ หรือ พยาน ได้อ้างถึง เอกสาร หรือ วัตถุ ใดๆ ทนายความควรรีบขอดู ทันที เพื่อให้ เกิดความชัดเจน มิใช่การกล่าวอ้าง ลอย ๆ ในฐานะ ทนายความ ก็ควรรับฟัง เรื่องราวข้อเท็จจริง นั้นทั้งหมด แต่ควรควรพิจารณา แยกแยะ ถึงความสมเหตุผลด้วย และไม่ควรเชื่อทั้งหมด ตรวจดูด้วยว่า มีเรื่องราวที่ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เช่น  ขัดแย้งกับพยานเอกสาร

 

กฎหมายหน้ารู้

ฟ้องคดีแล้วได้อะไร

ฟ้องคดีแล้วได้อะไร

ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยคิดว่า เรื่องหนี้สินนั้นเป็นเรื่องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้หรือสถาบันการเงินแต่แท้จริงแล้วเรื่องหนี้นั้นมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมด้วยการผิดนัดชำระหนี้หรือค้างชำระหนี้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะหนี้เสีย(เอ็นพีแอล)หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันไม่ได้หรือลูกหนี้ไม่ยอมติดต่อ ผ่านไประยะเวลาหนึ่งเจ้าหนี้จะฟ้องดำเนินคดีกับลูกหนี้เพื่อให้กรอบกฎหมายดูแลให้ลูกหนี้คืนเงินและถ้าคดีสิ้นสุดมีคำพิพากษาและยังไม่มีการชำระหนี้กันเจ้าหนี้มีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี้
         1.มอบหมายให้ทนายความสืบทรัพย์เพื่อทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เงินเดือน สลากออมทรัพย์ เงินเก็บในธนาคารหรือทรัพย์สินอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
         2.เมื่อทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการมอบหมายให้ทนายความดำเนินการสู่ขั้นตอนของการบังคับคดี ได้แก่ การอายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และอื่นๆ
         3.เมื่อเข้าสู่กระบวนการบังตับคดีแล้วหากมีการขายทรัพย์ได้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธินำเงินที่ได้จากการบังคับคดีมาหักกับจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับการบังคับคดี
ดังนั้น จากหัวข้อที่ว่า ฟ้องคดีแล้วได้อะไร จากบทความข้างต้นนั้นเห็นได้ว่า เจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนก็ได้หรือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินทำให้ไม่ได้รับชำระหนี้เลยก็อาจเป็นได้หรืออาจได้รับชำระหนี้บางส่วนแต่อย่างไรเสียเมื่อมีการฟ้องคดีและมีการตั้งเรื่องเพื่อบังคับคดีแล้วย่อมเป็นสิ่งดี ดีกว่าไม่ดำเนินการอะไรเลยจนคดีขาดอายุความแต่เมื่อได้ตั้งเรื่องในการบังคับคดีแล้ว เจ้าหนี้ก็มีสิทธิในการบังคับคดีเอากับลูกหนี้โดยกฎหมายให้กรอบเอาไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดและเมื่อใดที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินขึ้นมาเจ้าหนี้ก็สามารถบังคับหนี้ได้ตามระยะเวลานั้น
         เมื่อพิจารณาขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาและมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดำเนินการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิต่อไป

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

             1.สอบถามให้ชัดเจนว่าถูกเรียกไปพบในสถานะใดในกรณีที่ถูกหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนควรรู้เบื้องต้นว่าไปในฐานะพยานหรือผู้ถูกกล่าวหาหากมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วเราตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาเรามีสิทธิทางกฎหมายที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้หากไปในฐานะพยานเรามีหน้าที่ต้องให้การตามความเป็นจริงหากฝ่าฝืนอาจถูกแจ้งข้อกล่าวในเรื่องการให้การเท็จด้วย

            2.การให้การต่อพนักงานสอบสวนพร้อมเหตุผลและพยานหลักฐาน แม้ว่าเราจะตกเป็นผู้ต้องหาแต่เรามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้แต่การปฎิเสธโดยไม่มีเหตุผลทำให้มีโอกาสที่จะถูกฟ้องคดีได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นเราต้องมีพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ เป็นต้น

            3.สิทธิที่จะให้บุคคลที่ไว้วางใจหรือทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิข้อนี้ไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ทนายความช่วยเหลือและรักษาประโยชน์ของผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิที่จะกันบุคคลตามกฎหมายออกไปได้

            4.สอบถามเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว การพบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาและรับทราบข้อกล่าวหาจะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือและบางคดีอาจต้องมีการควบคุมตัวในขั้นตอนนี้จึงควรมีทนายความมาช่วยเหลือในเรื่องของการประกันตัวและการจัดเตรียมหลักทรัพย์ในการประกันตัวซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมากเพราะหากไม่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวนั้น จะทำให้การเตรียมพยานหลักฐานเพื่อชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนจะไม่สะดวกและเป็นไปได้ยาก แต่หากได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนเรื่องการใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วควรรับปรึกษาทนายความของท่านเพื่อหาช่องทางในการต่อสู้คดีและหากในวันนัดตามหมายเรียกเรายังไม่พร้อมควรแจ้งไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอเลื่อนกำหนดการไปก่อนจนกว่าทนายความของท่านจะได้จัดเตรียมแนวทางในการต่อสู้คดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว

            ดังนั้นจากบทความข้างต้นที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ทนายความของท่านจึงมีบทบาทสำคัญตามกฎหมายที่จะช่วยเหลือท่านได้และเป็นที่ไว้วางใจในการจัดเตรียมแนวทางต่อสู้คดีครับ

                       

 

กฎหมายหน้ารู้

ค่าจ้างทำคดี

ค่าจ้างทำคดี

ก่อนที่จะกล่าวถึงค่าจ้างในการทำคดีของทนายความสิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกคือทนายความมีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรบ้างดังต่อไปนี้
          1.ทนายความคือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความแก้ต่างคู่ความในคดีโดยเป็นทนายความเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการยุติธรรมโดยส่วนใหญ่มักเป็นทนายความอิสระซึ่งหากมีประชาชนหรือหน่วยงานหรือองค์กรหรือบริษัทใดๆไม่ได้รับความยุติธรรม ทนายความจึงมีหน้าที่ว่าความแก้ต่างในคดีนั้นตามกฎหมาย
          2.ทนายความมีหน้าที่คล้ายคลึงกับพนักงานอัยการ ความแตกต่างคือ พนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจากรัฐ ส่วนทนายความเป็นอาชีพอิสระที่ได้รับค่าจ้างว่าความจากลูกความไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมหรือนิติบุคคล
          3.ทนายความมีหน้าที่ให้คำแนะนำกับลูกความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโดยทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ค้นหาข้อมูลและออกนอกพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับคดีซึ่งบางครั้งการทำงานก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับพนักงานสอบสวนเช่นกัน
          4.ทนายความมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์และทวงสิทธิตามกฎหมายให้แก่ลูกความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาอีกทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการต่างๆแทนตัวความให้ได้รับประโยชน์สูงสุดรวมถึงความพึงพอใจของลูกความ

            ดังนั้นจากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การทำงานของทนายความมีความหลากหลายและต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์รวมตลอดถึงไหวพริบปฎิภาณในการแก้ปัญหาให้กับลูกความซึ่งงานทนายความจึงเป็นงานที่มีเกียรติและมีความจำเป็นที่จะต้องเรียกค่าวิชาชีพในราคาที่จะทำให้ทนายความสามารถอยู่ได้เพราะงานทั้งหมดทั้งมวลทนายความมีต้นทุนที่จะต้องใช้ในการช่วยเหลือลูกความและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้น   

           เมื่อพิจารณาขั้นตอนการทำงานและบทบาทหน้าที่ของทนายความแล้ว ค่าวิชาชีพทนายความจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ทนายความสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมตัวขึ้นศาล

การเตรียมตัวขึ้นศาล

     สำหรับผู้ที่มีคดีความเกี่ยวข้องกับการขึ้นโรงขึ้นศาลการเตรียมตัวขึ้นศาลถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าต้องจัดเตรียมอะไรบ้างนอกเหนือจากการแต่งตัวให้ดูสุภาพและปฎิบัติตัวอย่างไรเมื่ออยู่ในศาล

          สำหรับท่านที่อยู่ในสถานะโจทก์และต้องเบิกความต่อสู้คดีในศาลก่อนถึงกำหนดนัดขึ้นศาลควรติดต่อไปยังทนายความของท่านเพื่อประชุมหารือเรื่องที่ต้องเบิกความซึ่งทนายความจะจัดทำบันทึกถ้อยคำของพยานซึ่งเป็นโจทก์และซักซ้อมการเบิกความในกรณีที่ทนายความฝ่ายจำเลยจะซักค้านโดยทนายความของท่านจะชี้ให้ท่านเห็นถึงประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดกันเอาไว้แล้วในชั้นชี้สองสถานและประเด็นปลีกย่อยที่จำเป็นละเลยไม่ได้เมื่อได้ปฎิบัติตามแนวทางของทนายแล้ว ท่านจะรู้สึกมั่นใจและไม่ทำให้ท่านกังวลใจจึงถือว่าการเตรียมตัวก่อนขึ้นศาลจึงถือเป็นสิ่งที่ดีที่จะนำพาท่านไปสู่การชนะคดี ที่สำคัญคือต้องรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการสืบพยานก่อนซึ่งในคดีแพ่งนั้นพยานเอกสารมีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเบิกความของพยานบุคคล เช่นการฟ้องเรื่องผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย พยานเอกสารควรจะต้องใช้ต้นฉบับหากต้นฉบับสูญหายควรจะต้องมีสำเนาและต้องไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่ท่านจัดเก็บเอกสารไว้และเมื่อมีบักทึกประจำวันแล้ว ศาลจะอนุญาตให้รับฟังสำเนาพยานเอกสารนั้นได้

          สำหรับท่านที่มีคดีความอยู่ในฐานะพยานไม่ว่าท่านจะเป็นพยานนำหรือพยานหมายท่านต้องรู้ล่วงหน้าว่าท่านเป็นพยานของฝ่ายใดและเกี่ยวข้องกับคดีที่มีการฟ้องร้องกันอย่างไรและทนายความจะถามท่านในประเด็นใดซึ่งข้อเท็จจริงต่างๆบางครั้งอาจหลงลืมไปแล้วแต่เมื่อท่านจำเป็นต้องไปให้การจึงควรเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งเรื่องการลางานและเรื่องการเดินทางไปศาลรวมตลอดถึงการทบทวนความจำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆในคดีโดยซักซ้อมกับทนายความให้เกิดความเข้าใจและเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเป็นพยานในคดีนั้นๆ

          สำหรับท่านที่มีคดีความและตกอยู่ในฐานะจำเลย ก่อนอื่นต้องมีการประชุมซักซ้อมการเบิกความกับทนายความและรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการสืบพยานก่อนหรืออีกแนวทางหนึ่งในคดีแพ่งคือการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนกำหนดนัดสืบพยานมีความจำเป็นที่ท่านต้องมีทนายความผู้มีประสบการณ์มาคอยช่วยเหลือเพราะคดีแพ่งมักจะมีข้อพิพาทในเรื่องของทรัพย์สินเงินทองเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติในคดีจึงจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันว่าทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยซึ่งต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันทำให้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดแพ้หรือชนะคดี ทั้งนี้เพื่อก่อสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาเป็นมิตรต่อกันได้ดีกว่าการต่อสู้เพื่อเอาการแพ้ชนะคดีจนถึงที่สุด

กฎหมายหน้ารู้

อายุความในการฟ้องคดี

อายุความในการฟ้องคดี

               ระยะเวลาในการฟ้องคดีหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีในชั้นศาลซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้อายุความตามกฎหมายแต่ละเรื่อง  ในคดีแพ่งกฎหมายกำหนดอายุความในการฟ้องคดีเอาไว้แตกต่างกันเช่น ผิดสัญญาเช่าซื้ออายุความเรียกค่าเสียหายในการครอบครองและใช้รถในระหว่างผิดสัญญามีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาตามระยะเวลาที่สัญญากำหนดไว้ให้ชำระค่างวด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 164 หรืออายุความในสัญญาจ้างทำของกรณีที่ผู้รับจ้างฟ้องผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างมีอายุความ 2 ปีเป็นต้น แต่ในคดีแพ่งไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดระยะเวลามากน้อยต่างกันเพียงใด เรื่องนี้ไม่ถือเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงสามารถฟ้องคดีได้แม้คดีขาดอายุความแล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นกล่าวอ้าง ศาลพิจารณาพย่านหลักฐานแล้วจึงพิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามฟ้องไปโดยปริยาย

              ในคดีอาญานั้น ในเรื่องอายุความถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน จึงไม่อาจมีใครที่จะสามารถนำคดีที่ขาดอายุความแล้วมาฟ้องเพื่อเอาผิดบุคคลอื่นได้ ซึ่งอายุความในคดีอาญามีทั้งคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวและความผิดอาญาแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดฐานยักยอกรวมถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดที่กฎหมายอนุญาตให้ยอมความได้แต่มีอายุความสั้นเพียง 3 เดือนดังนั้นผู้เสียหายจะต้องเร่งฟ้องคดีให้ทันภายใน 3 เดือนนับแต่วันมีการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดโดยอาจใช้วิธีแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือหากไม่อาจรอชั้นตอนของการสอบสวนที่เนิ่นช้าได้ก็อาจต้องใช้บริการทนายความเพื่อฟ้องคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนภายในอายุความต่อไป

             ส่วนความผิดอาญาแผ่นดินเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วมีผู้กล่าวโทษหรือมีผู้ร้องทุกข์กรณีนี้ การเข้าพบพนักงานสอบสวนควรจะต้องมีทนายความในการช่วยเหลือในการดำเนินการในชั้นสอบปากคำรวมถึงขั้นตอนอื่นๆในการสอบสวนและการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลเมื่อพิจารณาขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาและมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดำเนินการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิต่อไป

กฎหมายหน้ารู้

ยึดทรัพย์ลูกหนี้

ยึดทรัพย์ลูกหนี้

การยึด ป.วิ.พ. 296 (3)

คำจำกัดความ “การยึด” หมายถึง ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ครบกำหนดระยะเวลาคำบังคับจำเลย(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ไม่ยอมชำระหนี้) โจทก์ขอให้บังคับคดี และศาลออกหมายบังคับคดี   หากปรากฎว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษา มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ดำเนินการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกมาขายทอดตลาด 

การยึดทรัพย์สิน  หมายความว่า  การนำทรัพย์สินมาเก็บรักษาไว้หรือฝากไว้ ณ สถานที่ใดหรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร หรือมอบให้จำเลยเป็นผู้รักษานั้นโดยได้รับความยินยอมของโจทก์

-ทรัพย์ที่ยึด ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่อย่างไรก็ดี เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถดำเนินการยึดเองได้ โดยที่โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่ได้นำยึดก็ได้ ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 5493/2563 

ทรัพย์ที่สามารถยึดได้ อาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ แม้กระทั้งสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิในเครื่องหมายทางการค้า ลิขสิทธิ์  เป็นต้น และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนนาจยึดทรัพย์สินของคู่สมรส ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเอามาบังคับชำระหนี้ได้ (ป.วิ.อ.มาตรา 297) เว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติว่าทรัพย์นั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี 

 

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (not liable to execution) ป.วิ.อ.มาตรา 301 ได้แก่

(1)เครื่องนุ่มห่มหลับนอน เครื่องใช้ครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว รวมกันไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท 

(2) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพ,วิชาชีพ รวมกันไม่มาณไม่เกิน 100,000 บาท

(3) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้่ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะ

(4) ทรัพย์สินที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น สมุดบัญชี จดหมายต่างๆ

(8) ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ตามคำพิพากษาฎีกา 1340/2546

 

            ห้ามมิให้ยึดเกินกว่าที่จะพอชำระหนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องยึดทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ ถ้าทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพแบ่งยึดได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแบ่งยึดได้บางส่วนเท่าที่พอจะชำระหนี้ได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจจะคัดค้านคำสั่งหรือการดำเนินของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งต้องยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือมีการดำเนินการดังกล่าว 

 

 ผลของการยึดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ที่ยึดจากลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายทอดตลาดและนำเงินได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีผลทางกฎหมาย 

ตัวอย่างผลเกี่ยวกับดอกผลหรือเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นดอกผลธรรมดาที่ไม่ใช่เงิน แตเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเช่นเดียวกับทรัพย์ที่ถูกยึด ตัวอย่างยึดสุกรของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในครอก ย่อมครอบถึงลูกสุกรด้วย  เครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นเครื่องซ่อมแซมรถยนต์เป็นอุปกรณ์ของรถ

กรณียึดอสังหาริมทรัพย์ ย่อมมีผลเป็นการยึดครอบไปถึง ดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้มีสิทธิเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นดอกผลที่ผู้อื่นมีสิทธิเก็บเกี่ยวในอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ครอบไปถึงดอกผลธรรมดานั้นด้วย หากจะให้มีผลเป็นการยึดดอกผลธรรมดาในอสังหาริมทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้นทราบขณะทำการยึดว่าได้ยึดดอกผลแล้ว จึงจะมีผลในการยึดนั้นครอบไปถึงดอกผลธรรมดา ตัวอย่างการยึดห้องแถวย่อมครอบไปถึงค่าเช่าด้วย คำพิพากษาฎีกา 187/2490

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องคดี

การฟ้องคดี

การตัดสินใจฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลใดนั้น  เป็นเรื่องที่สมควรได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในการฟ้องคดี  ทำไมทนายความถึงได้กล่าวไว้ในลักษณะแบบนี้    เนื่องจากการเป็นความกันจะทำให้คู่ความสองฝ่ายสิ้นเปลืองเงินและเสียเวลาในการต่อสู้คดี     บางเรื่องมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเราสามารถใช้มาตรการขั้นต้นและเจรจาไกล่เกลี่ยได้ก่อน   การเข้าพบและพูดคุยกันก็ถือเป็นวิธีการขั้นต้นที่สามารถใช้เป็นวิธีการในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทได้โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล

ในบางกรณีที่คู่ความได้ใช้ความพยายามขั้นต้นแล้วหลายครั้งเพื่อจะให้ปัญหาข้อพิพาทระงับเสร็จสิ้นไป  แต่หากการกระทำดังกล่าวไม่ได้ทำให้ข้อพิพาทที่มีอยู่คลี่คลายลงไปได้      ในกรณีดังกล่าวหากเป็นกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นมาก  หากไม่ฟ้องคดีต่อศาลแล้วจะเกิดความเสียหายมาก   กรณีนี้ทนายมีความเห็นสมควรให้ใช้มาตรการในการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมจากข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้

ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

กฎหมายหน้ารู้