ประเภทของนิติกรรม

ประเภทของนิติกรรม

นิติกรรมแบ่งออกเป็น  5 ประเภท คือ

  1. นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย

         นิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาและกระทำไปโดยบุคคลเพียงฝ่ายเดียว  การกระทำนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมได้  เช่น  การทำพินัยกรรม  การบอกเลิกสัญญา  การปลดหนี้  การตั้งมูลนิธิ  เป็นต้น mahjong slot

         นิติกรรมหลายฝ่าย เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาและการกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2  ฝ่ายขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะเกิดเป็นนิติกรรมได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาค้ำประกัน  สัญญาจำนอง  สัญญากู้ยืมเงิน การหมั้น การสมรส เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบและนิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ

นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ เป็นนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดแบบหรือวิธีการในการทำ

นิติกรรมนั้นเป็นพิเศษ  มิฉะนั้นจะไม่เกิดผลทางกฎหมายและตกเป็นโมฆะ  เช่น  สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  สัญญาจำนอง  การทำพินัยกรรม การสมรส เป็นต้น https://www.funpizza.net/

นิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ  เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาเท่านั้นและจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการทำนิติกรรมกัน  เช่น  สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ สัญญาจ้างแรงงาน  เป็นต้น

  1. นิติกรรมมีค่าตอบแทนและนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน

นิติกรรมมีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำขึ้นแล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน  ผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทนนั้นอาจเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน

อื่นใด หรือการชำระหนี้ก็ได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาเช่าซื้อ  สัญญาจ้างแรงงาน  สัญญาจ้างทำของ  สัญญาให้ที่มีค่าภาระผูกพัน  เป็นต้น https://www.highlandstheatre.com/

          นิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่ให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือนิติกรรมที่ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ได้ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป เป็นต้น                       

  1. นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลาและนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา

          นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา  เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลหรือสิ้นผลไปเมื่อเป็นไป ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนด เช่น  ตกลงจะขายรถยนต์ต่อเมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศ  ดังนั้น  เมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศเมื่อใด  ถือว่าเงื่อนไขที่ตกลงซื้อขายรถกันมีผลสำเร็จแล้ว  ผู้ขายต้องขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ตกลงไว้  เป็นต้น

          นิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลใช้บังคับทันทีที่ https://www.sushitokyo.net/

ตกลงทำนิติกรรมกัน  โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากำหนดไว้ในนิติกรรมนั้น  เช่น  คู่สัญญาตกลงซื้อรถยนต์กันโดยไม่มีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใดๆ ไว้  สัญญาซื้อขายนั้นมีผลผูกพันผู้ขายและผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขายรถกัน เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ และนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว

          นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิติกรรมที่ผู้ทำแสดงเจตนาประสงค์ให้เกิดผลระหว่างที่ผู้ทำนิติกรรมยังมีชีวิตอยู่  เช่น  สัญญาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ทำสัญญานั้นมีชีวิตอยู่  และมีผลใช้บังคับในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น

         นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทำมีชีวิตอยู่ แต่จะมีผลบังคับเมื่อผู้ทำตายไปแล้ว  เช่น  การทำพินัยกรรม  การทำสัญญาประกันชีวิต  เป็นต้น

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

                (1) ผู้เยาว์ (Minor)

                (2) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind)

                (3) คนไร้ความสามารถ (Incompetent)

                (4) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent)

                (5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย

                (6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน

        ผู้ทำนิติกรรมแทน

                ผู้อนุบาล (guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ

                ผู้พิทักษ์ (custodian) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ

       การควบคุมการทำนิติกรรม

            วัตถุประสงค์ของการทำนิติกรรม : หากกระทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวถือเป็น โมฆะ ได้แก่

                – นิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย

                – นิติกรรมที่พ้นวิสัย

                – นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

นิติกรรมและสัญญา

นิติกรรมและสัญญา

          นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น

          นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง การทำคำเสนอ การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น https://www.funpizza.net/

          นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น

          นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นให้มีสภาพเป็นบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เพื่อให้นิติบุคคลสามารถใช้สิทธิหน้าที่ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ จึงต้องแสดงออกถึงสิทธิและหน้าที่ผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล

       1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ได้แก่

           1. บริษัทจำกัด (ผู้ก่อการอย่างน้อย 3 คน)

           2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ผู้ก่อการอย่าง 3 คน)

           3. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

           4. สมาคม

           5. มูลนิธิด้แก่ นิติ

      2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง/ทบวง กรม จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต./อบจ./กทม/เทศบาล/พัทยา) องค์การของรัฐบาล องค์การมหาชน ฯลฯ

           ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคล บางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก

           ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น https://www.highlandstheatre.com/

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การบังคับคดีแพ่ง

การบังคับคดีแพ่ง

         คดีแพ่ง ก็คือ คดีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงินหรือให้กระทำ หรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งหากศาลตัดสินให้ฝ่ายใดชนะแล้วคู่ความฝ่ายที่แพ้ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือตามคำพิพากษาของศาลจึงต้องมีการบังคับให้ปฏิบัติตามซึ่งการที่จะบังคับดังกล่าวคู่ความที่ชนะคดีจะไปบังคับเองไม่ได้  แต่จะต้องกระทำ โดยขอให้เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดอำ นาจและหน้าที่ไว้ซึ่งก็คือ “เจ้าพนักงานบังคับคดี” โดยปัจจุบัน ก็คือ  เจ้าพนักงานที่สังกัดกรมบังคับคดี

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

         กำหนดข้อพิพาทในคดีแรงงานและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานนั้น  ไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.

เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับคดีแรงงานได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง    

และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

        ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ(มาตรา 39)ฎีกา 6458-6461/2544

แม้พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 39จะใช้คำว่า ”  ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท”

ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

ที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว   ก็ถือว่าศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

        ศาลทำการไกล่เกลี่ย(conciliate /mediate)คู่ความทั้งสองฝ่าย อาจไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย

หรือต่อหน้าแต่ละฝ่าย (มาตรา 38,43 ) ฎีกา  6630/2542  คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้

ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง  เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงาน

ได้ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยเป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือตามพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

——————————————————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

          ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว(มาตรา 40 วรรคสอง) ทางแก้จำเลยต้องปฏิบัติตามมาตรา 41ฎีกา 3022/2552 เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือ ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีต้องยกคำร้องที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวน จึงเป็นการถูกต้องแล้ว

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

       นัดสืบพยานไม่ใช่วันนัดพิจารณา ศาลจะสั่งตามมาตรา  40  วรรคหนึ่ง ไม่ได้     ฎีกา 8233-8236/2547

โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณาทุกนัดเมื่อคดีตกลงกันไม่ได้ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานจำเลย

การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก คงมีผลเพียงทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะขออนุญาตศาลแรงงานถามพยานจำเลย

เพื่อทำลายน้ำหนักพยานจำเลยเท่านั้น ไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

 ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้(มาตรา 40 วรรคหนึ่ง)   

กรณีหากโจทก์แถลงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายใน 7 วัน  

นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้(มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

หรือโจทก์อาจฟ้องคดีเรื่องนั้นใหม่ภายใต้อายุความ (ฎีกา 2049/2524)

———————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้