สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

เมื่อมีข้อกำหนดของสัญญาจ้างระบุไว้ถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในสัญญาจ้างต่อกันกันแล้ว  ปรกติก็จะให้บังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติไปตามสัญญา   แต่ในบางกรณีผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาการว่าจ้างได้ในกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่แรก มาตรา 593 เมื่อผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการหรือกระทำการอันเป็นการชักช้าฝ่าฝืนต่อข้อสัญญา ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้

กรณีที่สอง มาตรา 596 กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าไม่ทันกำหนดระยะเวลา หรือกรณีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานไว้ แต่ล่วงเลยระยะเวลาอันสมควร ผู้ว่าจ้างอาจลดสินจ้าง หรือสามารถบอกเลิกสัญญาได้ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลา

กรณีที่สาม มาตรา 605 ถ้าการนั้นยังทำไม่เสร็จ ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้เสียค่าสินใหม่ทดแทนแก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกจ้างนั้น

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

#ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน #สิทธิฟ้องคดี

กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น     จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด      ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว    ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้     เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว        แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้

สอบถามกฎหมาย หรือ ปรึกษาทนายความโดยตรงได้ทุกวัน

091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดคดีหมิ่นประมาท

ความรับผิดคดีหมิ่นประมาท

มิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

         มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อภาพของผู้ตาย และการกระทำนั้นน่าจะทําให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอายผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง

         ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำผู้กระทำไม่มีความผิด

 

กฎหมายหน้ารู้

คุยเรื่องจริงเป็นความผิดหมิ่นประมาทไหม

คุยเรื่องจริงเป็นความผิดหมิ่นประมาทไหม

    การใส่ความตามป.อ. นั้น หมายถึง การยืนยันข้อเท็จจริง หรือกล่าวยืนยันความจริง หรือความเท็จ  หรือเอาเรื่องไม่จริงไปแต่งความใส่ร้าย หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว

 สำหรับการหมิ่นประมาทนั้น แม้จะเป็นข้อความจริง แต่ยิ่งจริงยิ่งผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์ หรือการใส่ความนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัว จึงจะไม่มีโทษ……

กฎหมายหน้ารู้

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

 กลฉ้อฉล หมายถึง การหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อและเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ https://www.highlandstheatre.com/

       ก. กลฉ้อฉลถึงขนาด หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งใช้กลอุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยแสดงข้อความไม่ตรงต่อความเป็นจริง จนคู่กรณีฝ่ายที่ถูกหลอกลวงหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมนั้น  ซึ่งหากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้ว นิติกรรมนั้นก็คงมิได้ทำขึ้น ตัวอย่างเช่น นางแดง หลอกลวงนางดำว่าแหวนที่นางแดงนำมาขายนั้นป็นแหวนเพชรแท้ นางดำหลงเชื่อ จึงแสดงเจตนาซื้อแหวนดังกล่าวจากนางแดง ความจริงปรากฏว่า แหวนดังกล่าวเป็นแหวนเพชรเทียม หากนางดำรู้ ก็คงไม่ทำสัญญาซื้อเพชรจากนางแดงอย่างแน่นอน เช่นนี้การหลอกลวงของนางแดงทำให้นางดำหลงเชื่อ และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมไป นิติกรรมระหว่างนางแดงกับนางดำจึงตกเป็นโมฆียะแต่ถ้าข้อเท็จจริงข้างต้นเปลี่ยนไปว่า นางดำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเพชร ได้ตรวจสอบดูแล้วรู้ว่าเป็นเพชรเทียม แต่ก็ยังแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมซื้อแหวนเพชรดังกล่าวจากนางแดงแสดงว่ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาด นิติกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

      ข. กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ  หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายแรกมีเจตนาที่จะทำนิติกรรมนั้นอยู่แล้ว และคู่กรณีฝ่ายหลังใช้กลอุบายเพื่อเอาเปรียบคู่กรณีฝ่ายแรก คู่กรณีฝ่ายแรกที่ถูกเอาเปรียบ จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีฝ่ายหลังที่เอาเปรียบได้ แต่จะบอกล้างไม่ได้ นิติกรรมนั้นยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ตัวอย่างเช่น นายสมจริงต้องการขายสุนัขพันธุ์ดีให้นายสมหมาย ซึ่งตามปกติราคาในท้องตลาดสุนัขพันธุ์ดีในลักษณะเช่นนี้มีราคาเพียง 20,000 บาท  แต่นายสมจริงได้หลอกลวงนายสมหมายว่า สุนัขพันธุ์ดีตัวนี้ได้เคยนำออกแข่งและชนะเลิศการแข่งขันหลายครั้ง นายสมจริงจึงเรียกร้องราคาเพิ่มขึ้นอีก 5,000 บาท เช่นนี้ถือว่านายสมจริงใช้กลฉ้อฉลเพื่อเอาเปรียบนายสมหมายให้ซื้อสุนัขพันธุ์ดีแพงไป 5,000 บาท นายสมหมายจึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำนวน 5,000 บาท คืนจากนายสมจริงได้ https://www.funpizza.net/

      ค. กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องแจ้งความจริง ได้

จงใจนิ่งเฉย จนทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งสำคัญผิด และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้น  ตัวอย่างเช่น นายประหม่า เป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมีหนี้สินล้นพ้นตัว  ได้มาขอกู้เงินจากนายประหยัดเป็นจำนวนมากโดยปกปิดซึ่งความจริงของการเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว นายประหยัดรู้ว่านายประหม่าเป็นคนใช้ฟุ่มเฟือยจริงแต่เข้าใจว่าเป็นคนมีฐานะดี จึงให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวไป เช่นนี้ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ซึ่งมีผลให้สัญญากู้นั้นตกเป็นโมฆียะ

ผลของการแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลมีดังนี้

     ก. กรณีกลฉ้อฉลถึงขนาด นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆียะ แต่ถ้ากลฉ้อฉลถึงขนาดกระทำโดยบุคคลภายนอก นิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิใช่ฝ่ายที่ถูกกลฉ้อฉลได้รู้หรือควรรู้ว่ามีกลฉ้อฉลเช่นนั้น         

     ข. กรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ นิติกรรมยังคงมีผลสมบูรณ์ เพียงแต่ให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่คู่กรณีฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบเท่านั้น

 

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

กฎหมายหน้ารู้

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

         วัตถุประสงค์ของนิติกรรม หมายถึง  ประโยชน์สุดท้ายที่คู่กรณีของนิติกรรมประสงค์จะได้จากนิติกรรมนั้น หรือหมายถึงจุดมุ่งหมายหรือประโยชน์ที่มุ่งหวังจากการทำนิติกรรมนั้น กล่าวคือเป้าหมายในการทำนิติกรรมของคู่กรณี  ดังนั้น นิติกรรมทุกชนิดจะต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเสมอ  หากไม่มีวัตถุประสงค์ย่อมไม่เป็นนิติกรรม https://www.highlandstheatre.com/

         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ของนิติกรรมว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้นเป็นโมฆะ” บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้แก่

        1.วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เช่น การว่าจ้างให้ฆ่าคน การให้กู้ยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การซื้อขายยาเสพติดที่กฎหมายห้ามโดยเด็ดขาด เช่น  ยาม้า  เฮโรอีน  กัญชา

       2.วัตถุประสงค์ที่เป็นการพ้นวิสัย คือ นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่มีทางเป็นไปได้ และไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติได้ เช่น สัญญาจ้างให้แปรตะกั่วให้เป็นทองคำ สัญญาเช่าเรือโดยไม่รู้ว่าเรือนั้น อัปปางไปแล้ว สัญญาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพ  เป็นต้น

      3.วัตถุประสงค์ที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คือ นิติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมโดยพิจารณาจากความรู้สึกของคนทั่วไป เช่น สัญญาฮั้วการประมูลหลอกลวงราชการ  สัญญาจ้างให้หญิงหย่าจากสามีเพื่อมาสมรสกับผู้ว่าจ้าง สัญญาจ้างหญิงให้มารับจ้างเป็นโสเภณี เป็นต้น

แบบของนิติกรรม

       แบบของนิติกรรม  หมายถึง  พิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้และบังคับให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตามเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม หากไม่ปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ   โดยทั่วไปนิติกรรมไม่ต้องทำตามแบบก็มีผลใช้บังคับได้เพียงแต่แสดงเจตนาเท่านั้น  แต่มีนิติกรรมบางอย่างที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบ  เพราะเป็นนิติกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อรัฐหรือประชาชนโดยส่วนรวมได้ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบนี้  ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับได้  มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  152 ว่า  “ การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  การนั้นเป็นโมฆะ”

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้