การจำนำ

การจำนำ

          จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชําระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น

          หลักเกณฑ์การจำนำที่ต้องปฏิบัติ

1) เมื่อผู้จำนำไม่ชําระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนำ

2) หากผู้จำนำยังไม่ชําระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินําทรัพย์สินนั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ

3) เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ

กฎหมายหน้ารู้

5 ข้อสำคัญผู้ให้เช่าอสังหาต้องรู้

 

 


กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ” ผู้ให้กู้ ” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ไม่ก็ได้

          ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสําคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบ บังคับคนจน กฎหมายจึงได้กําหนดค่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือ ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัท เงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)

         ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทังหมด (เป็นโมฆะ) คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา

กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา
           สำหรับในเรื่องนี้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาได้ ยกเว้นเพียงแต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ไม่สามารถทำนิติกรรมด้วยตัวเองได้ ได้แก่ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลสุดท้ายก็คือบุคคลที่ล้มละลาย โดยบุคคลดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาด้วยตัวเองได้

กฎหมายหน้ารู้