เดือน: พฤษภาคม 2024
กฎหมายอะไรบ้าง? ที่นักลงทุนอสังหาฯควรรู้
กฎหมายหน้ารู้
ผู้จัดการมรดก
กฎหมายหน้ารู้
หน้าที่ต้องส่งคืน ทรัพย์สินที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ
หน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ
กฎหมายได้กำหนดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ถ้ามิได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อ ของคู่สัญญาแสดง
ไว้ต่อกัน ว่าทรัพย์สินที่ให้เช่ามีสภาพเป็นอยู่อย่างไรนั้น
กฎหมายกำหนดเอาไว้ในเรื่องนี้ว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่านั้นไปโดยสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว และเมื่อสัญญาได้เลิกหรือระงับลง
ผู้เช่าก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเช่นนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิได้ซ่อมแชมไว้ดีในขณะที่ส่งมอบ (ป.พ.พ. มาตรา ๕๖๑)
เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว
การที่จำเลยที่ ๑ ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ ๑ เช่าไป
จำเลยที่ ๒ จะอ้างว่าระหว่างนั้น จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๖๑ (ฎีกา ๖๗๓๔/๒๕๕๓)
กฎหมายหน้ารู้
✍🏻✍🏻 #อายุความผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่า ✍🏻✍🏻
✍🏻✍🏻 #อายุความผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่า ✍🏻✍🏻
คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพันกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า (ป.พ.พ. มาตรา๕๖๓) สิทธิเรียกร้องคำาเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ ๕ ปี ตาม ป.พ.พ.หมาตรา ๑๙๓/๓๓(๓) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 463นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้าดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 463 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือน ตามมาตรา ๑๙๓/๑๒ (ฎีกา ๑๗๔๐/๒๕๕๘) ____________________________________
กฎหมายหน้ารู้
การยอมรับทรัพย์สินอื่นแทนเงินกู้
กฎหมายหน้ารู้
สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าซื้อ
#สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าซื้อ
ในกรณีผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆ กัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย
อนึ่ง ในกรณีทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นคราวที่สุดนั้น ท่านว่าเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้ว แต่ก่อนและกลับเข้าครองทรัพย์สินไต้ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่ง
(ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๔)
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อทุกวันที่ 24 ของเดือน
โจทก์ผิดนัดชำาระค่าเช่าซื้อโดยตลอด แต่เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อ จำาเลยที่ 2 รับไว้และนำส่วนหนึ่งไปหักเป็นดอกเบี้ยของการชำาระค่างวดส่าช้า แสดงว่าคุณสัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา๓ร๗ โดยบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือเตือน ให้โจทก์ชำาระคำเช่าซื้อที่ค้าง หลังจากนั้นจำเลยที่ ๒ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยให้ระยะเวลาชำระคำาเช่าซื้อที่ค้างภายใน ๗ วัน ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ที่ให้ระยะเวลาชำระหนี้แกโจทก์พอสมควรแล้ว
จึงเป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบโจทก์เป็นลูกหนี้ตามสัญญาเชาซื้อจะขอบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน โดยโจทก์ยินยอมหาได้ไม่ (ฎีกา ๑๗๒๘/๒๕๔๘)
กฎหมายหน้ารู้
สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อ
สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อ
ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้
ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของ โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง(ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๓)
จำเลยเป็นฝ่ายเริ่มต้นติดต่อกับโจทก์เพื่อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แสดงให้เห็นจุดประสงค์ของจำเลยที่ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้รับการติดต่อ ตกลงและนัดหมายรับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโดยมอบหมายให้ ส. ตัวแทนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ ส. จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยการส่งมอบทรัพย์คืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.เป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อให้ ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและไม่ปรากอว่าขณะเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องรับคิดต่อโจทก์อย่างไร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก็ตามฟ้อง (ฎีกา ๑๔๓๒๔/๒๔๙๘)