อายุความฟ้องศาลคดีทรัพย์มรดก

📍กรณีที่เจ้ามรดกตายนั้นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาททันที แต่อย่างไรก็ตาม กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในกองมรดกยังไม่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทโดยเด็ดขาด
จนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทกันเสร็จสิ้น เพราะถ้าตราบใดที่ยังมีความเป็นมรดกอยู่ทายาทก็อาจเสียสิทธิได้
📍ถ้าเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกขึ้น
เงื่อนไขที่สำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกนั้น คือ
“อายุความฟ้องคดีมรดก” เพราะหากมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกภายในกำหนดอายุความแล้ว ก็ย่อมเสียสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกเนื่องจากขาดอายุความฟ้องคดี
____________________________________

กฎหมายหน้ารู้

แอบอ้างตนเป็นบุคคลอื่นถือว่ามีความผิด

แอบอ้างตนเป็นบุคคลอื่นถือว่ามีความผิด

📍ผู้ใดแอบอ้างตนเองว่าเป็นบุคคลอื่นด้วยการสร้างเพจ Facebook ,Instagram ,Twitter ,WhatsApp ,LINE
หรือ โซเชียลมีเดียอื่นใด ใช้ภาพและชื่อของบุคคลอื่น

โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนำภาพของบุคคลอื่นตัดต่อและดัดแปลง โดยที่เจ้าของภาพไม่ยินยอม
จนทำให้ผู้เป็นเจ้าของภาพนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ถือว่ากระทำความผิด

📌ความผิดตามมาตรา16 พระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2550
__________________________________

กฎหมายหน้ารู้

การสมรส 

การสมรส 💍

การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิง
มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
(ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔๘)

ขณะเกิดเหตุเด็กหญิงเมื่อมีอายุไม่ครบ๑๗ ปีบริบูรณ์
จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๔๘
(ฎีกา ๒๔๒๙/๒๕๔๑)
__________________________________

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดในมูลหนี้สำหรับทายาทผู้รับมรดก

กฎหมายได้กำหนดให้ทายาทว่า
      ทายาทไม่จำต้องรับผิดชอบในบรรดาหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินมรดกที่ตัวเองได้รับตกทอดให้แก่ตนเอง
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
      ( เรื่องของหนี้ที่เกิดจากเหตุละเมิด)
      บ.ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำไว้ก่อน บ.ถึงแก่ความตาย
หนี้ดังกล่าวในส่วนของ บ.จึงเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 2 – 5 จำเลยที่ 2 – 5
ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสอง
แต่จำเลยที่ 2 – 5 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดไว้แก่ตน
( ฎีกา 521 /2562 )

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานการกู้เงิน

ฎีกาที่ 4537/2553
ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า
          “ การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ”
         สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้
         เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม และปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ถูกต้อง แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงถือว่าเป็นหลักแห่งการกู้ยืมและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว

กฎหมายหน้ารู้

ความประพฤติที่เป็นความผิดคดีแรงงาน

#ความประพฤติที่เป็นความผิดคดีแรงงาน

⭕️กรณีที่ลูกจ้างประพฤติผิดต่อนายจ้างที่ไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องลงโทษทางวินัยตามความจำเป็นเหมาะสมเสียก่อน มิฉะนั้นถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

📍ฎีกา 3360/2526 ลูกจ้างทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรก นายจ้างเลิกจ้างทันทีทั้งที่มีระเบียบว่าต้องทำผิดซ้ำ ถึงจะให้ออกจากงานได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

📍หากลูกจ้างผิดวินัยกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างลงโทษเตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำอีก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ฎีกา 3934/2557 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทางานในตำแหน่งผู้จัดการประสานงานขาย แต่โจทก์ ไม่ยอมไปทำงาน ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายตามเดิม

📍ต่อมาจำเลยมีหนังสือเตือนแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และกระทำผิดซ้ำ คำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

⭕️ ถ้าความประพฤติของลูกจ้าง เป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรง ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมฎีกา 11096/2556 นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด การขาย เนื่องจากในระหว่างทำงาน ไปดำรงค์ตำแหน่งกรรมการบริษัท อ.ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง การกระทำของลูกจ้างเป็นปฏิปักษ์ต่อทางการค้าของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

📍ฎีกา 5978/2549 ลูกจ้างปล่อยเงินกู้นอกระบบ ในสถานที่ทำงานคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน ฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

กฎหมายหน้ารู้