ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123

นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125    โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123  ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ  จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้วก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น   โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆที่พึงได้ตามกฎหมายโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน ๑๔๙,๘๙๓.๓๓ บาท ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงิน ๘,๐๓๐ บาทค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน ๑๐,๗๐๖.๖๗ บาท ค่าชดเชยเป็นเงิน ๔๘๑,๘๐๐ บาท และค่าเสียหายเป็นเงิน ๙๖๓,๖๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของเงินดังกล่าวทุกรายการนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยทุกระยะ ๗ วันด้วย

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส ระหว่างที่โจทก์เป็น ลูกจ้างของจำเลยโจทก์ได้ดำเนินการเป็นคู่แข่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง โดยได้จัดตั้งบริษัทคิวซีดี แมเนจเม้นท์ จำกัด

ซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจการในด้านการให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล การจัดฝึกอบรมการตรวจประเมินระบบคุณภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำเลย โดยบริษัทดังกล่าวโจทก์เป็นผู้เริ่มก่อการ ผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท อันเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกับจำเลย นอกจากนั้นโจทก์ยังได้นำบริษัท บ. จำกัด เข้าประมูลงานแข่งขันกับจำเลยการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกิจการของจำเลยที่เป็นนายจ้างและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นความผิดร้ายแรง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมากจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องสอบสวน     โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่จำเลยเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายเพราะโจทก์ทราบข้อมูลความลับทางการค้าของจำเลยและนำไปเป็นประโยชน์ต่อบริษัทของโจทก์ได้ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  และค่าเสียหายให้แก่โจทก์ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า  การที่โจทก์จดทะเบียนตั้งบริษัท บ. จำกัด และบริษัทดังกล่าวยื่นประมูลแข่งกับจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย แต่เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างและไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน ๔๘๑,๘๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓อันเป็นวันเลิกจ้างจนถึงวันชำระเสร็จ ค่าจ้างเป็นเงิน ๕๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓ไปจนถึงวันชำระเสร็จให้แก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก

        จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงตามสำนวนว่า ภายหลังจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว เมื่อวันที่ ๑๙พฤษภาคม ๒๕๔๓ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่า โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม๒๕๔๓ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้าง ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์อีกรวมทั้งเรียก ค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่าการที่โจทก์นำมูลกรณีที่ถูกจำเลยเลิกจ้างไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ขณะอยู่ระหว่างการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์นำมูลกรณีเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓ บัญญัติว่า  “ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน?”

แสดงว่าเมื่อเข้ากรณีตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้วกฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓ ถึงมาตรา ๑๒๕ โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา ๑๒๓เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา ๑๒๔ แล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา ๑๒๕ บทบัญญัติตามมาตรา ๑๒๓  ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก้ได้ แต่ก็จะใช้สิทธิพร้อมพันทั้งสองทางไม่ได้หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้วก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้อง ต่อพนักงานตรวจแรงงานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ขอให้บังคับบริษัท บ. จำกัด  จำเลยคดีนี้จ่ายค่า ชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แก่โจทก์จึงถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยคดีนี้ด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยคดีนี้ด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าต่อเมื่อวันที่ ๒๒พฤษภาคม ๒๕๔๓ ระหว่างพนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้อีกเพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์เช่นเดียวกับที่ได้ยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไว้ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ให้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา ๔๙แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้ยกฟ้องในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้าง ค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 55 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 123

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม   ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ฎีกา 384/2525

จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา และเป็นฉบับเดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่  จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป้นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย  คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยนำสืบได้

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์นี้  เป็นกรณีหนึ่งที่ยอมให้มีการสืบพยานบุคคลได้  สำหรับเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ในการกู้ยืมเงินก็อาจจะมีหลายเหตุ  เช่น  ไม่ได้รับเงินกู้ไม่มีเจตนาผูกพันกันตามสัญญากู้   ได้รับเงินไม่เต็มจำนวนตามที่สัญญาที่นำมาฟ้อง เป็นต้น

 

ฎีกาที่ 13825/2553

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว  จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์  จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจะส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน  เท่ากับจำเลยได้ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์  เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม    ป.พ.พ. มาตรา 650  จำเลยจึงไม่ต้อง ห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคล  ว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม  ป.วิ.พ.มาตรา 94

ที่จำเลยให้การแนะนำสืบพยานบุคคลว่า  สัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น  ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง  หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่  และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศ   ก็ไม่ใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

การให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รับเงินที่กู้  จะต้องอ้างเหตุไว้ให้ชัดเจนด้วย  มิฉะนั้น  ก็ไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ( ฎีกา 246/2485)

 

ฎีกาที่ 274/2530

คำให้การจำเลยที่ปฏิเสธเพียงว่า บ. ไม่ได้กู้เงินโจทก์  หนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย  โดยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าเหตุใด  บ. จึงไม่ได้กู้เงินจดและหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์อย่างไร  จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง  จำเลยไม่มีสิทธิ์สืบพยานตามข้อต่อสู้

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

 

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

กรณีนี้เป็นเรื่องที่กอรกจำนวนเงินที่กู้ลงไว้เรียบร้อย  ต่อมามีการแก้ไขจำนวนเงินให้ผิดไปจากเดิม       ก็ถือว่าสัญญากู้ปลอม  แต่ผลของการปลอมมีผลเพียงทำให้ไม่สามารถเรียกร้องเงินส่วนที่เกินไปเท่านั้น  ส่วนจำนวนเงินที่กู้ถูกต้องยังคงบังคับได้ไม่ถือว่าสัญญากู้อันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เสียไป  เนื่องจากตอนแรกถูกต้อง  มีการปลอมทีหลัง ข้อเท็จจริงผิดกับกรณีไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้แล้วมาลงจำนวนเงินภายหลังไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามข้อตกลง จึงถือว่าเอกสารกู้เสียไปทั้งฉบับ ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิได้

ฎีกาที่1860/2523

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่า ความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท  ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้จาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้  แม้เอกสารกู้ได้ถูกแก้ละเป็นเอกสารปลอม  แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์  ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้

ฎีกาที่ 743/2506

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามหนังสือสัญญากู้ 9,500 บาท จำเลยให้การว่า กู้จริงเพียง 500 บาท จำเลยลงนามในสัญญากู้ที่มิได้กรอกจำนวนเงินมอบให้โจทก์ไว้  โจทก์กับพวกสมคบกันปลอมขึ้น  ลงจำนวนเงินผิดไปจากที่กู้กันจริง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถ้าจะให้จำเลยรับผิดก็เพียงในจำนวนเงิน 500 บาท  เท่าที่จำเลยเอาไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้เงินเท่าที่จำเลยรับไป 500 บาท  ทั้งโจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปตามจำนวนที่ฟ้อง คดีนี้จำเลยให้การยอมรับรับว่าได้กู้ไปจริงเพียง 500 บาท  ซึ่งโจทก์ฟ้องจำนวนกู้ถึง 9,500 บาท  แต่ไม่สืบสม  ไม่มีทางรับฟัง คงพิพากษาเป็นจริงเท่าที่จำเลยรับโดยคำพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

เหตุแห่งการปฏิเสธว่าสัญญากู้ปลอมนั้น  จะถือว่ามีเหตุผลชัดแจ้งตามหลักเรื่องคำให้การหรือไม่อันจะมีผลทำให้นำสืบได้หรือไม่คงจะต้องศึกษาจากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้

 ก.ปลอมเพราะเหตุผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินในช่องที่ว่างไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง

ฎีกาที่ 2692/2522

จำเลยกู้เงินไป 8,000 บาท  โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้  โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นในสัญญากู้ต่อมาโจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้และเขียนจำนวนเงินที่กู้เป็น 80,000 บาท  แล้วฟ้องเรียกเงินจากโจทก์ด้วยสัญญากู้ดังกล่าว  จึงเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสดงสิทธิจากเอกสารปลอมได้   ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย  ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 1532/2526

จำเลยกู้เงินโจทก์ 30,000 บาท โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  โดยไม่ได้กรอกข้อความเมื่อข้อความและจำนวนเงิน 40,000 บาท  ที่กรอกในหนังสือสัญญากู้ถูกเขียนขึ้นภายหลัง  ไม่ตรงต่อความเป็นจริง  และโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม  ย่อมเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสวงหาสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 4693/2528

จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท ได้เขียนสัญญากู้เงิน  โดยยังไม่ได้เขียนจำนวนเงินที่กู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้เขียนจำนวนเงินกู้ 15,000 บาท  ลงในสัญญากู้โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม  ดังนี้การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้ว่าได้มีการกู้เงินจำนวนเงินถึง 15,000 บาท  เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นและยินยอม  ด้วยสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่  แม้ขณะโจทก์เขียนจำนวน 15,000 บาท ในสัญญากู้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท  ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยอาศัยสัญญาคู่นั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2515)

ตามข้อเท็จจริงทั้ง 3 ฎีกานี้  เป็นเรื่องสัญญากู้ปลอมเพราะเหตุมีการกรอกจำนวนเงินที่กู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง  ผลของการวินิจฉัยจากเอกสารปลอมไปในรูปที่ว่าสัญญากู้นั้นปลอมเสียหมดทั้งฉบับ   โจทก์ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ใช้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แต่กรณีจะเป็นเช่นนั้นได้  จะต้องเป็นการกรอกจำนวนเงินลงในช่องว่างที่เว้นไว้  กล่าวคือสัญญากู้ไม่มีการระบุจำนวนเงินไว้  มีการมากรอกขึ้นภายหลัง  โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง   แต่ถ้ากรณีเป็นเรื่องกรอกจำนวนเงินลงไว้ถูกต้องในตอนแรกแล้วมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปในภายหลัง  ผลทางกฎหมายจะออกไปในอีกทางหนึ่งดังจะได้ศึกษาต่อไป

มีปัญหาน่าคิดต่อไปอีกว่า เมื่อกรณีตกลงกู้เงินกันจำนวนหนึ่ง  แต่ไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้ต่อมาผู้ให้กู้กรอบจำนวนเงินลงไปไม่ตรงกับที่ตกลงคู่กัน  ผู้กู้ก็รับแล้วว่ากู้จริงเท่าใด  จึงน่าจะบังคับกันตามจำนวนที่กู้จริงผู้เขียนก็มีความเห็นว่าเมื่อฟังว่าสัญญากู้ปลอมทั้งฉบับแล้วไม่อาจอ้างอิงแสวงหาสิทธิจากสัญญากู้อีกต่อไปการกู้รายนี้จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเมื่อไม่ผ่านขั้นการเสนอคดีโดยมีหลักฐานการกู้เป็นเป็นหนังสือแล้วจะก้าวล่วงไปพิจารณาถึงขั้นว่ามีการรับกันแล้วคงไม่ได้

       ฎีกาที่ 3063/2531

จำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นจำนวนเงิน 18,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยทั้งสองลงนามในช่องผู้กู้ก่อนต่อมาก่อนฟ้องคดีโจทก์ให้สามีโจทก์กรอกข้อความในสัญญากู้ว่าจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นเงิน 46,000 บาท ซึ่งผิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ  เท่ากับโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653  แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา  ทั้งจำเลยที่ 2 รับว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 18,000 บาท ก็ตาม โจทก์หาอาจฟ้องร้องบังคับคดีตามเอกสารปลอมดังกล่าวได้ไม่

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

สัญญากู้ปลอม   กรณีต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม

             การต่อสู้และสัญญากู้ปลอมนั้น เป็นผลให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า สัญญากู้ที่นำมาฟ้องนั้นสมบูรณ์ถูกต้อง ไม่ปลอม แล้วจำเลยสืบแก้ ซึ่งสามารถสืบพยานบุคคลได้ ตามข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง แต่อย่างใดก็ตาม การที่จำเลยจะมีสิทธิสืบแก้ได้นั้น จำเลยจะต้องอ้างเหตุแห่งการปลอมนั้นไว้ด้วยว่า ปลอมเพราะเหตุใด ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
             ฎีกา 2243/2521
             โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมโดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น
กรณีตามฎีกาที่ 2243/2521 นี้ถือว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่า สัญญากู้ปลอมเกิดเป็นประเด็นที่พลาด โจทก์มีภาระการพิสูจน์ตามประเด็น แต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบแก้เพราะไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ก็ไม่มีข้ออ้างที่จะนำสืบหรือไม่มีเหตุผลที่อ้างนั่นเอง
            ฎีกาที่ 1372/2526
            โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท จำเลยให้การว่า กู้ไปเพียง 4,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ การที่จำเลยนำสืบ ตัวจำเลยและพยานบุคคลอีก 2 คน ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปเพียง 4,000 บาท โจทก์ได้ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้ โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ เป็นการนำสืบให้เห็นว่ามีการกรอกข้อความที่ผิดความจริง ว่าจำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท ลงในสัญญากู้ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง ซึ่งหากฟังได้สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร จำเลยมีสิทธินำไปสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสอง
            สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

สัญญากู้ปลอม

 

กรณีต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม

การต่อสู้และสัญญากู้ปลอมนั้น  เป็นผลให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า สัญญากู้ที่นำมาฟ้องนั้นสมบูรณ์ถูกต้อง ไม่ปลอม  แล้วจำเลยสืบแก้  ซึ่งสามารถสืบพยานบุคคลได้  ตามข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 94 วรรคสอง  แต่อย่างใดก็ตาม  การที่จำเลยจะมีสิทธิสืบแก้ได้นั้น  จำเลยจะต้องอ้างเหตุแห่งการปลอมนั้นไว้ด้วยว่า  ปลอมเพราะเหตุใด  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ฎีกา 2243/2521

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้   จำเลยให้การต่อสู้ว่า  สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมโดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร  ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177   จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น

กรณีตามฎีกาที่ 2243/2521 นี้ถือว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่า  สัญญากู้ปลอมเกิดเป็นประเด็นที่พลาด  โจทก์มีภาระการพิสูจน์ตามประเด็น  แต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบแก้เพราะไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้   ก็ไม่มีข้ออ้างที่จะนำสืบหรือไม่มีเหตุผลที่อ้างนั่นเอง

ฎีกาที่ 1372/2526

โจทก์ฟ้องว่า  จำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท จำเลยให้การว่า กู้ไปเพียง 4,000 บาท  โดยโจทก์ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  การที่จำเลยนำสืบ ตัวจำเลยและพยานบุคคลอีก 2 คน  ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปเพียง 4,000 บาท  โจทก์ได้ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้  โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  เป็นการนำสืบให้เห็นว่ามีการกรอกข้อความที่ผิดความจริง  ว่าจำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท  ลงในสัญญากู้ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง  ซึ่งหากฟังได้สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม  การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร  จำเลยมีสิทธินำไปสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสอง

สอบถามกฎหมายคดีเงินกู้   ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องคดีเงินกู้

เกี่ยวกับการฟ้องหรือการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับคดีเงินกู้นั้น  ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นนั้น

ดังนั้น  จึงต้องมีการบรรยายฟ้องที่ชัดเจน ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดกันเอง เช่น กรณีวันที่กู้เป็นระยะเวลาหลังจากหนี้ถึงกำหนดแล้ว เช่น ฟ้องว่ากู้วันที่ 5 พฤศจิกายน 2533 กำหนด 1 เดือน ครบกำหนดสัญญาวันที่ 5 ตุลาคม 2533  ซึ่งอ่านแล้วก็จะไม่เข้าใจ อาจจะเป็นกรณีผิดพลาดเรื่องการพิมพ์ หรือบรรยายฟ้องวันทำสัญญากับวันครบกำหนดตามสัญญาสลับวันกัน การบรรยายฟ้องจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ  ขอสรุปเป็นข้อสังเกตุดังนี้

1.การบรรยายฟ้องไม่จำเป็นต้องบรรยายเกี่ยวกับที่มาหรือมูลหนี้ที่กู้ยืมแม้ไม่บรรยายก็ไม่ถือว่าเป็นฟองเคลือบคลุม

 

ฎีกา 720/2518

ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ซึ่งโจทย์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้ว  แม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง  แต่ไม่ได้เปล่ารายละเอียดต่างๆของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วยก็ไม่เป็น

 

ฎีกา 2317/2530

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว  การที่โจทก์นำสืบว่า  เดิมสามีจำเลยกู้เงินสดไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม  จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้จดไว้แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธิ์นำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง

  1. กรณีกู้เงินกันหลายครั้ง หลายปี แล้วนำมาฟ้องในคราวเดียวกัน บรรยายปีที่กู้สลับกันไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้เอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง  ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสารดังนี้  ฟ้องไม่เคลือบคลุม (ฎีกาที่ 1324/2519) หรือกรณีโจทก์ฟ้องว่าจำเลยในฐานะที่เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้ทำหลักฐานยืมเงินจดไป 14 ครั้งรวมเป็นเงิน 61,500 บาท โดยจำเลยอ้างว่ายืมไปทดรองจ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้นำเงินยืมไปใช้ในกิจการของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยถือว่าฟ้องโจทก์ได้กล่าวแสดงรายละเอียดถึงวันเดือนปีและจำนวนเงินที่จำเลยยืมไปและมีสำเนาใบยืมท้ายฟ้องดังนี้ ฟ้องโจทย์ไม่เคลือบคลุม(ฎีกาที่ 10000/2511)
  2. กรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทย์เคลือบคลุมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 137 วรรค 2 นั้น  หากจะให้ศาลสูงวินิจฉัยในประเด็นนี้โจทย์จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งเป็นประเด็นว่าคำฟ้องของโจทย์ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุใดหากไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตามลำดับแต่เพิ่งจะมายกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาแล้วศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 (ฎีกาที่ 77/2511)
  3. กรณีเรื่องบัญชีเดินสะพัดแต่ตั้งรูปเรื่องฟ้องมาเป็นกู้ยืมหากคำบรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก้คดีได้

 

ฎีกาที่ 4872/2528

โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงินแต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทย์ที่ 2 ได้รับโควตา เป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล  โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์  เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่ 2  เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้าง เป็นเช็คบ้าง  ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดิน  ค่าปุ๋ยและของอื่นๆเพื่อให้จำเลยใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการ  เมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2  จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อยจากโรงงาน  จึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสอง  หักค่าอ้อยที่จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไป   ก็ยกยอดไปในปีต่อไปและโจทย์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควตาของโจทก์   โจทก์จ่ายค่าปุ๋ยให้จำเลย เมื่อโจทก์น้ำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี  แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้วไม่ได้คิดเงินกันโจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ  กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างจดที่ 2 กับจำเลย  จึงเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดจึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืมแต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัด  ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้  และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดิมสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

  1. สำหรับสารที่จะรับคำฟ้องคดีกู้ยืมนั้น  เดิมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 (2) คือสารที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเป็นหลัก ส่วนสารที่เป็นศาลยกเว้นคือสารที่มูลคดีเกิด  ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยการฟ้องคดีเป็นไปตามมาตรา 4 คือศาลภูมิลำนาวจำเลยและศาลมูลคดีไม่แยกเป็นศาลหลักศาลยกเว้นเหมือนแต่ก่อน

 

ฎีกา 3789/2528

จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดศรีสะเกษ  แต่โจทก์ยื่นคำฟ้องให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นสารที่มีมูลคดีเกิดศาลจังหวัดอุบลราชธานี  มีคำสั่งคำร้องนี้ว่า “รวม” และรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยเพื่อแก้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งเสร็จการพิจารณา  ถือว่าศาลจังหวัดอุบลราชธานี  ได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2) ศาลจังหวัดอุบลราชธานีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้             ( วินิจฉัยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก่อนแก้ไข)

สอบถามกฎหมาย   กับทนายคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

 

กฎหมายหน้ารู้

ข้อพิจารณาอื่นๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

ข้อพิจารณาอื่นๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

 ๑. เกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง

ฎีกาที่ ๔๖๙๘/๒๕๕๑

ค.กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐ ๐๐๐ บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นโดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท  และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกไว้ล่วงหน้าจำนวน ๓๐๐,๐๐๐๐ บาท ด้วย  เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้  ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕ เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

๒. เกี่ยวกับผู้มีอำนาจฟ้องคดีเงินกู้

           ฎีกาที่ ๑๐๗๕๗/๒๕๕๓

           สัญญากู้ยืมเงินเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของสมาคมกลุ่มออมทรัพย์  และโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ผู้ให้กู้ยืม) แสดงให้เห็นว่าเงินที่กู้ยืมกันกันไม่ใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเงินที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากไว้เพราะโจทก์มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือประธานที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ โจทก์จึงเข้าครอบครองดินนั้นมีหน้าที่ส่งคืนเงินจำนวนเดียวกันกับกับที่กลุ่มลธมทรัพย์รับฝากใช้ฝากให้ครบร้านวน เมื่อโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินที่รับฝากนี้แม้ไม่ใช่ของโจทก์ไป  โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยผู้กู้ยืมชำระเงินคืนใด้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ใดก่อนเพราะเป็นการฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของตนเองตามสัญญากู้ยืม   ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง แม้ ก. กู้ยืมเงินโจทก์นำมาใช้เพื่อกิจการของศูนย์สาธิตการตลาดของหมู่บ้านซึ่ง ก. เป็นประธานศูนย์มิใช่การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม ศูนย์สาธิตการตลาดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจรับผิดทางแพ่งต่อผู้ใดตามกฎหมายได้ ดังนี้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเป็นส่วนตัว โจทก์มีอำมีอำนาจฟ้อง

๓. กรณีไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงิน

          ฎีกาที่ ๑๕๑๓๐/๒๕๕๑

          โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน ๒,๑๑๐,๐๐๐๐ บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก ๖๐๐,๐๐๐ บาท มาชำระเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อนหาใช่เป็นเงินที่โจทกให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่

          การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๕๕ (๓) และหลังจากขาจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐๐ บาท และมีการทำบัญชีไว้แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว  ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๖๑ หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้

๔. เกี่ยวกับพยานผู้เชี่ยวชาญ

          ฎีกาที่ ๑๒๑๘๓/๒๕๔๗

          โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสาสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

๕. เกี่ยวกับการแปลงหนี้ใหม่

            ฎีกาที่ ๓๒๐๙/๒๕๕๐

            ป. กับโจทก์เป็นหุ้นส่วนในการยายที่ดินให้แก่จำเลย  จำเลยไม่มีเป็นชำระค่าที่ดินในสำส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น  แต่จำเลยตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้จะขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย  โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญาที่ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันจำเลย

            หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะชายที่ดิมกันกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนขอเมื่อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากูริมเป็นขึ้นที่อชำระหนี้คาที่ดิมที่ดินที่เกินที่เกิน  ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้   เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญายืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน  การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมีใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์

๖. กรณีเกี่ยวพันกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

            ฎีกาที่ ๕๓๒๖/๒๕๕๐

            เช็ดพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์แลกเปลี่ยนกับเช็ดที่จำเลยทั้งสาม ร่วมกันออกให้มาโจทก์เพื่อชำระหนี้ในกู้ยืม ๓,๐๐๐๐๐๐๐๐ บาท  ที่จำเลยที่ ๒  และที่ ๓ กู้ยืมไปจากโจทก์  และโจทก์ให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมไว้ ดังนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น…ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามก็ครั้น ผู้ออกเช็คมีควนผิด…” และ ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรทหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็ด บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”  หนี้เงินกู้ยืมและหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มีจำนวนกันกันกว่าห้าสิบบาท  เมื่อไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแม้จะฟังว่าจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่นี่นั้นก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยทั้งสาม จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔

         

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

เรื่องต้องรู้ก่อนฟ้องคดี

เรื่องต้องรู้ก่อนฟ้องคดี

# เป็นผู้เสียหายหรือไม่

โดยปกติศาลจะไม่รับฟ้องคดีจากใคร   หากผู้ที่นำคดีมาฟ้องไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นผู้เสียหายในคดีนั้นๆ

#ต้องอยู่ในอายุความฟ้องคดีได้

สำหรับการฟ้องคดีต่อศาล ตามกฎหมายแล้วจะมีกฎหมายกำหนดในเรื่องของระยะเวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้  ซึ่งหากการนำคดีมาฟ้องโดยล่วงเลยระยะเวลาอายุความในการฟ้องคดีแล้ว  อาจจะส่งผลทำให้ท่านแพ้คดีนั้นๆได้

#ฟ้องคดีแล้วคุณจะได้อะไร

เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องคิดและวิเคราะห์หรือทบทวนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าท่านมีวัตถุประสงค์ในการฟ้องคดีอย่างไร  ต้องการให้ได้รับโทษในทางคดี   หรือต้องการให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ   และหากจะใช้สิทธิ์ในการฟ้องคดี  ท่านสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายได้มากน้อยแค่ไหน  อย่างไร  ท่านควรจะคิดตรึกตรองถึงความคุ้มค่าในการดำเนินคดีนั้นๆอีกด้วย

#ปรึกษาทนายความที่ท่านไว้วางใจ

สำหรับในการฟ้องคดีต่อศาลนั้นเป็นเรื่องใหม่สำหรับท่าน  หรือเป็นเรื่องใหม่ๆสำหรับใครบางคนที่ไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลมาก่อน   ดังนั้นในเรื่องของรายละเอียด  ในเรื่องของเวลา  ในเรื่องของความคุ้มค่า  รวมทั้งสิทธิในการนำคดีมาฟ้องนั้นท่านไม่มีประสบการณ์  ทนายความจึงมีความจำเป็นที่ท่านควรเข้าพบและหารือเบื้องต้น  ทั้งนี้เพื่อคุณจะได้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลของท่านได้

กฎหมายหน้ารู้

ปลดหนี้เสร็จสิ้น คือสิ่งที่ฉันต้องการ

ปลดหนี้เสร็จสิ้น คือสิ่งที่ฉันต้องการ

การปลดหนี้ได้เป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน เมื่อไหร่เรายิ่งเริ่มมีความพยายามมากขึ้นแล้ว แต่ทำไมยิ่งพบแต่เรื่องยุ่งเหยิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจะทำอย่างไรดี
ในทัศนะของทนายความ ผมเข้าใจว่าปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีหนี้นอกระบบมากกว่าในระบบด้วยซ้ำไป ก็เพราะทุนในระบบปล่อยสินเชื่อน้อย ยิ่งเครดิตใครเคยเสียไปแล้วก็ต้องหันมาพึ่งเงินนอกระบบกัน และเมื่อเข้าสู่ระบบนี้แล้วเมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดหนี้มากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวไปเรื่อยๆจนแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ไม่ได้
ดังนั้น จุดเริ่มต้นที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้นก็คือ ท่านต้องเอาเวลาของตัวเองที่มีอยู่ไปมุ่งมั่นไปกับการทำงานและใช้เวลากับการหารายได้เสริมของตัวเองให้มากขึ้น โดยท่านควรทำงานให้เต็มความรู้และความสามารถของตัวเองก่อน ส่วนสำหรับภาระหนี้สินที่ค้างอยู่กับเจ้าหนี้ทั้งในและนอกระบบนั้น หากท่านยังไม่พร้อมทนายก็แนะนำให้ท่านบอกเจ้าหนี้ไปตรงๆได้เลยว่า ในช่วงนี้เรายังไม่พร้อม และหากพร้อมเมื่อไหร่ก็จะรีบหามาคืนให้ มีมากก็จะให้มาก หากมีน้อยก็จะให้น้อยจนเรียบร้อย
ข้อสำคัญที่แนะนำ
อย่าไปเสียเวลานั่งคิดเรื่องการวิ่งหายืมเงินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆเพื่อนำมาคืนให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ท่านได้เริ่มต้นในการทำแบบนี้แล้ว จะทำให้ภาระหนี้ก้อนเล็กๆของท่านที่มีอยู่จะเติบโตขึ้นกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ต่อมากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามตัว เนื่องจากทุกครั้งที่มีการยืมเงินแหล่งใหม่ ส่วนใหญ่ก็มาจากเงินนอกระบบ มีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แล้วจะเป็นสาเหตุทำให้ท่านมีหนี้สินที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลทำให้การแก้ไขปัญหาของท่านเกิดขึ้นได้ยากกว่าเดิม และที่สำคัญท่านจะใช้เวลาหมดไปกับการใช้เวลาสำหรับการวิ่งหายืมเงินจากแหล่งเงินกู้เงินยืมต่างๆในแต่ละวันเพื่อจะให้ได้เงินมาส่งคืนให้แก่เจ้าหนี้รายต่างๆของท่าน และที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ ท่านจะไม่มีเวลาในแต่ละวันที่จะหันมาใช้ความรู้ ใช้ความสามารถในเรื่องของการคิดเรื่องการทำงาน หรือไม่มีเวลาในการการคิดหาวิธีในการหารายได้เสริมของท่านและครอบครัวของท่านเลย ท้ายสุดแล้ว ท่านก็จะตกอยู่ในวังวนในเรื่องของหนี้ ชีวิตอาจจะตกอยู่ในความล้มเหลวเป็นเวลานาน แล้วจะเหลือไว้แต่เพียงหนี้สินที่จะเป็นมรดกไว้ให้แก่ลูกหลานของท่านต่อไป

ปรึกษา คลินิกแก้หนี้ โดยทนายความ สยามอินเตอร์ลอว์ /ติดต่อสื่อสาร 091-047-3382 , 02-1217414

กฎหมายหน้ารู้