อัตราดอกเบี้ยในคดีเงินกู้

อัตราดอกเบี้ยในคดีเงินกู้

               เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เรียกเก็บตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ได้บัญญัติว่า     ” ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี  ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี “

                  นอกจากนี้ในกรณีที่ดอกเบี้ยมิได้กำหนดอัตราไว้โดยธรรมนิติกรรมหรือบทบัญญัติอันใดอันหนึ่งชัดแจ้ง ประมวลกฎหมายแพ่งและปริมาตรา 79 บัญญัติให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี 

                 จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่ให้เกินร้อยละ 15 ต่อปี   หรือ 1.25 ต่อเดือน หรือช่างละบาทต่อเดือน และมีบทบัญญัติในกรณีไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทบัญญัติชัดแจ้ง  ให้ใช้อัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

                 ข้อสังเกตประการแรก     นอกจากบทบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว  ในทางอาญายังมีกฎหมาย    กล่าวคือ   พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475  ถูกจัดให้ถือเป็นความผิดทางอาญาระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี   และปรับไม่เกิน 1,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  ซึ่งเหตุผลและเจตนารมณ์ของการร่างกฎหมายฉบับนี้จะเห็นได้จากคำแถลงการณ์คณะกรรมการราษฎรเกี่ยวกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475  หวังจะบำรุงการกู้ยืมให้เป็นไปในทางการที่ควร   และในตัวบทบัญญัติกฎหมายก็กล่าวไว้ด้วยว่า  การกู้ยืมเงินโดยอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควรนั้น   ย่อมเป็นทางเสื่อมประโยชน์ของบ้านเมือง  สมควรจะป้องกันราษฎรมิให้ต้องเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

                 ประการที่สอง    เมื่อการกู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  เป็นการฝ่าฝืนทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ก็มีผลตกเป็นโมฆะ   ซึ่งการตกลงเป็นโมฆะนี้    แนววินิจฉัยของศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะเฉพาะข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น     ส่วนต้นเงินไม่โมฆะ  หนี้ตามสัญญากู้ยังคงสมบูรณ์อยู่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยเฉพาะบทบัญญัติส่วนท้ายของมาตรา 654 ก็บัญญัติไว้ว่า  ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี

                 ประการที่สาม   ปัญหาต่อมาคือ  เมื่อถือว่ากรณีผู้กู้โดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา    ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ  ต้นเงินยังสมบูรณ์  ผู้ให้กู้จะยังคงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่  หากคิดได้  จะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด  และมีแนวคำพิพากษาวินิจฉัยว่าคิดดอกเบี้ยกันได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

                 แนวคำพิพากษาฎีกาในเรื่องของดอกเบี้ย

                คำพิพากษาฎีกาที่ 1100/2523  ถ้าเงินค่าเซ้งตึกที่ต้องคืนกัน 80,000 บาท  คู่กรณีตกลงกันทำเป็นสัญญากู้โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ครึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นระยะเวลา 15 เดือน  เงิน 30,000 บาท  รวมเป็นสัญญากู้ 110,000 บาท  เงิน 30,000 บาทนี้เป็นมูลค่าทั้งหมด  เจ้าหนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินคืนโดยรวมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี 

                   คำพิพากษาฎีกาที่ 4056/2528  จำเลยกู้เงินโจทก์  สัญญากู้เงินมีข้อความระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 18 ต่อปี   จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้  ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ  ย่อมมีผลให้โจทก์หมดสิทธิ์ที่จะเลือกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดี  สัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้  ฉะนั้นหลังจากที่โจทย์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อทำการชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว  จำเลยยังคงเพิกเฉยไม่ได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโจทก์  ในกรณีเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่าสิ่งนั้นแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลยได้

                  คำพิพากษาฎีกาที่ 4010/2530  โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในทางร้อยละ 20 ต่อปี  เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475  ขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ  โจทย์หมดสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญา   แต่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

                 ข้อสังเกต

                ฎีกาทั้ง 3 ที่ยกมานี้ศาลได้วินิจฉัยว่า  การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ  แต่ก็ยังเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี  เพียงแต่ฎีกาที่ 4056/2528, 4010/2510  อ้างอิงว่าเป็นการได้ดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัด   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ซึ่งก็เรียกได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหมือนกับมาตรา 7

             สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้  ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงินโดยรับสิ่งของแทนเงินหรือรับสิ่งของชำระหนี้เงินกู้

การกู้ยืมเงินโดยรับสิ่งของแทนเงินหรือรับสิ่งของชำระหนี้เงินกู้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วางบทบัญญัติไว้ว่า

มาตรา ๖๕๖ ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้  ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ

ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนในที่ก็ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่กับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบ

ความตกลงกันอย่างใดๆ ขัดกับข้อความดั่งกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ

ฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎีกาที่ ๓๗๙/๒๕๒๔

จำเลยกู้เงินโจทก์  แล้วมอบนาพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย  ในสัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา  จำเลยยอมยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แทนเงินกู้  แต่มิได้ระบุว่าที่พิพาทมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบหรือไม่  ข้อสัญญาดังกล่าวนี้  จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วรรคสอง  และตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม

ฎีกาที่ ๒๖๗/๒๕๒๔

ผู้ตายกู้ยืมเงินผู้ร้องไปโดยทำสัญญากับผู้ร้องว่า  ถ้าชำระหนี้ไม่ได้จะโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องเป็นการชำระหนี้แทน  เป็นการตกลงกันให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม  โดยมิได้คำนึงถึงราคาทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ  ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับให้มีการโอนที่ดินมรดกเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ร้องโดยเจาะจง คงมีแต่สิทธิขอให้บังคับชำระหนี้อันเป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยทั่วไป

ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้น  ถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย  ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรมหรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์  ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก  คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ถึงเมือมีมีจัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารมฟ้องร้องบังคับช้าระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนใด้เสียซึ่งเป็นพื้นที่สิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ฎีกาที่ ๒๕๕๙/๒๕๒๒

การที่ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันในสัญญากู้ยืมเงินว่า  ผู้ให้กู้ยินยอมรับเอาสิ่งหรือทรัพย์สินอย่างอื่นชำระแทนจำนวนเงิน  โดยไม่คำนึงถึงราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินหรือสิ่งของในเวลา สถานที่ที่ส่งมอบนั้น  ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา ๖๕๒๖ วรรคสอง  จึงตกเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา

ฎีกาที่ ๓๕๑/๒๕๒๒

กู้เงินมีข้อสัญญาว่า  ถ้าไม่ใช้เงินคืนตามกำหนดยอมโอนที่ดินตามโฉนดชำระหนี้ให้โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดิน ฝ่าฝืน มาตรา ๖๕๖ วรรค ๒,๓  บังคับให้โอนที่ดินชำระหนี้ไม่ได้

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

กฎหมายหน้ารู้

การคิดดอกเบี้ย

การคิดดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยนั้นเป็นผลตอบแทนประเภทหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงิน     แต่ไม่ได้หมายความว่าสัญญากู้ยืมเงินกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป  สัญญากู้ยืมเงินก็ยังคงหลักการของเอกเทศสัญญาในเรื่องยืมอยู่  กล่าวคือ  เป็นเรื่องการเอื้อเฟื้อกันและเป็นเรื่องทางอัธยาศัยไมตรีต่อกัน     ดังนั้นจึงมีความเห็นตามกฎหมาย   ว่าการกู้ยืมเงินกันนั้นจะไม่มีดอกเบี้ย  เว้นแต่ จะได้มีการตกลงกันเอาไว้พลาดแต่ตกลงกู้ยืมเงินกันโดยไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ย  พูดให้ยืมก็เรียกดอกเบี้ยไม่ได้ ก็บัญญัติขึ้นต้นว่า  ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน

ดังนั้น จะต้องตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ก่อน  แต่การตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการตกลงกันโดยชัดแจ้ง  อาจจะเป็นการตกลงกันโดยปริยายก็ได้  ดอกเบี้ยนั้นอาจจะไม่ใช่เงินตราก็ได้ อาจเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น การให้ทำนาต่างดอกเบี้ย  การคิดเอาผลผลิตเป็นดอกเบี้ยเป็นต้น

                 คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาฎีกาที่มี 159/2513   โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี  ดังนี้โจทย์จะมีสิทธิ์ทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม  เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนาและเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิ์ติดตามเอาคืน ด.เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย  ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี  ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อน  โจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง

 คำพิพากษาฎีกาที่ 3775/2546    สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้  โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน  เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 9866/2574    การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไปกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานหลักฐานมาแสดง  (กฎหมายเดิมก่อนแก้ไข ) เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้  จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย  ดังนั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีก็จะลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี   จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร  คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น

บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น  โจทย์ไม่ได้นำเศษแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น  และเป็นเอกสารที่มีอยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว  การที่จะนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาฎีกาที่ 5442/2551  ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งรวม 50,000 บาท  ต่อมาจึงได้ทำหลักฐานการกู้ยืมเงินนอกให้โจทก์ไว้      หลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย    การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีทุกเดือน จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94  ฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์    โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่ทำสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2549 โจทย์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท  โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในตราร้อยละ 5 ต่อเดือน  แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับระบุว่า  โจทก์มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย  ดังนั้นเมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง  ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้     โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยในการร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งไทยพาณิชย์มาตรา 7     จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้  ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

กรณีที่ถือว่าไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม

กรณีที่ถือว่าไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม

ศาลฎีกาได้วางแนวคำพิพากษาตัดสินคดีเอาไว้ว่า กรณีดังกล่าวเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

ตัวอย่าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2522     ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป  แต่การกู้เงินนั้นจังเลยไม่ได้ทำหลักฐานในการกู้เงินเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้  จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้น     เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้   หรือยืม  และข้อความในเช็คก็ไม่มีเขาว่าเป็นการกู้ยืม     สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืม   เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือโรงแรมชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง  หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาฎีกาที่ 3010/2525  ฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญาขายฝากตามฟ้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นทำตามสัญญากู้เงิน  จึงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามเจตนาเดิมได้นั้น  โจทก์ไม่ได้ยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นบรรยายเป็นประเด็นไว้ในฟ้อง  และศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยมา  จึงไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น  ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่  โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 ไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2553/2525   เช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไม่เป็นหลักฐานว่าจำเลยกู้เงินตามฟ้องของโจทก์  เอกสารฉบับหนึ่งมีใจความว่าเรียนคุณจิรพงษ์ที่นับถือ .ผมต้องขอโทษอีกครั้งที่ทำให้คุณและคุณศิริต้องยุ่งยากเกี่ยวกับเงินที่ค้างอยู่ทางผม  เวลานี้ผมกำลังขัดสนจริงๆกำหนดเวลาที่ผมจะจัดการเรื่องของคุณและคุณศิริคงไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกนี้  และอีกฉบับหนึ่งถึงทนายโจทก์มีใจฟังว่า  เพื่อนขอให้ชำระหนี้นั้นซักแล้วแต่เพราะป่วยเป็นอัมพาตจึงต้องขอความกรุณาครับผ่อนชำระหนี้หลังจากที่ได้หายป่วยแล้ว      ดังนี้  ข้อความตามเอกสารทั้งสองฉบับในการขอบัตรผ่อนการชำระหนี้แต่จะเป็นหนี้เกี่ยวกับอะไรจำนวนเท่าใดไม่ปรากฏ    ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ตามฟ้อง   จึงไม่ใช่หนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

คำพิพากษาฎีกาที่ 3809/2526   ตอนบนของเอกสารมีชื่อและนามสกุลของจำเลย  ถัดไปเป็นรายการลงวันเดือนปีและข้อความว่าเอาเงินกับจำนวนเงินต่างๆกัน รวม 12 รายการ  อีก 5 รายการมีข้อความว่า ข้าวสาร และลงจำนวนไว้ว่า 1 กระสอบบ้าง  1 ถังบ้าง   3 ถังบ้าง ได้ทุกรายการมีชื่อจำเลยลงกำกับไว้เอกสารดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

คำพิพากษาฎีกาที่ 2757/2528   เช็คที่จำเลยโรงแรมมือชื่อผู้สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ก็ดี หรือเช็คที่ตรวจออกให้แก่จำเลยและจำเลยนำไปรับเงินแล้วก็ดี  ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ความในเอกสารมีว่าคุณอาจิน (โจทก์) ที่นับถือ ผม( จำเลย)  ให้สุภาพรมาหา ผมกำลังวิ่งหาซื้อของจะขึ้นไปหน่วยงานที่ผมเรียนไว้เมื่อเช้าว่าจะเอาคืนก่อน 400,000 บาท  ขอให้คุณอาจินจ่ายธนาคารเอเชียทรัสต์ ผมจะให้คุณสุรพลไปทำแคชเชียร์เช็คจากธนาคาร  เช่นนี้  ไม่มีข้อความตอนใดพอที่จะแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันและจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์  จะใช้เงินคืนให้โจทก์  เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม

 

สอบถามคดีเงินกู้กับทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

กรณีถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

กรณีถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย  มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2499   คำรับสภาพหนี้ในใบบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ  ซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653  หรือสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 65/2507  หนังสือ ไอ โอ ยู  เป็นหลักฐานการยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้  เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว  ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 644/2509  บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า  จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง  และจำเลยได้ลงชื่อไว้ใช้บันทึกนั้นด้วย  แม้จะเป็นเรื่องพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม ก็ใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 215/2510  จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในใบบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า  ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน  จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นบันทึกถูกต้อง  ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนหย่า    ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653  โจทก์นำหลักฐานนั้นมาฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากกู้ยืมได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 483/2510 จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่าไม่ต้องการรบกวนตรวจอีก  เขายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละหายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งเพราะไม่ระบุจำนวนเงินจำนวนนั้นไม่ได้   ต่อมาตรวจส่งครับไปให้จำเลย  จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟแล้วและต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม  โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 682, 863 /2520   การที่นิติกรรมสัญญาขายฝากทางขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงิน  นิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาหลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น   วิธีการอ่านและที่พักบนออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก  ส่วนนิติกรรมอันหลังคือ สัญญากู้เงินที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกนำไปตามมาตรา 118 วรรค 2  ในกรณีเช่นนี้  แม้นิติกรรมสัญญากู้เงินจะไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาขายฝากก็ตาม     แต่ก็ถือได้ว่าเอกสารการขายฝากเป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร     มีผลบังคับได้

 

สอบถามปัญหาข้อพิพาทการกู้เงิน กับทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์) สำนักงานกฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์ ถนนบางนา- ตราด (สมุทรปราการ)

กฎหมายหน้ารู้

การลงลายมือชื่อกรณีทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การลงลายมือชื่อกรณีทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีที่มีการให้ผู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  หากมีการดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ  กรณีก็ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อมีหลักฐานการกู้ยืมแล้วตามกฎหมาย

            คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556  การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง  ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์  และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป    การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินของโจทก์ตามพรบว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  พ.ศ 2544 มาตรา 78 และมาตรา 9  ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์  ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่า จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายระยะเวลาในการชำระหนี้โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดงจึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง   โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำอธิบาย หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป  แต่จะปรากฏเป็นหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีรายชื่อผู้ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้  บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ  รายงานการประชุม  รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น

ฎีกาที่ 36/2555  เอกสาร จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับว่าโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว  เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536  จำเลยได้กู้ยืมเงินจากสจำนวน 2 ล้านบาท  จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย  แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ตาม  การที่คู่สัญญาได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม  โจทก์จึงใช้เอกสารหมาย จ.2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือขอให้จำเลยรับผิดได้

ฎีกาที่ 4537/2553 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไปนั้น    ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องให้มาบังคับคดีหาได้ไม่  สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก  อยู่ที่ว่า  มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว  ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้      ดังนั้น เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม  ได้ปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้  แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ให้ถูกต้องแต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 รวมรายชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน  จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว

ปรึกษากฎหมายคดีเงินกู้  ทนายคดีเงินกู้  091 047 3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ  ) สำนักงานกฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์ ถนนบางนา – ตราด จังหวัดสมุทรปราการ

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคดีกู้ยืมเงิน

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคดีกู้ยืมเงิน

ลักษณะทั่วไปของสัญญากู้ยืมเงิน

 ลักษณะที่ 1 เป็นนสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กล่าวคือ เป็นการโอนไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในวันที่ให้ยืม และผู้ยืมคืนเงินโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเงินส่วนที่ยืมไป  แต่เอาเงินจากที่ใดมาคืนก็ได้  ขอให้มีจำนวนเท่ากับที่ยืมก็ใช้ได้  ซึ่งต่างกับการยืมใช้คงรูปที่ต้องคืนทรัพย์ที่ยืมนั้น

 แบบที่ 2 สัญญาบริบูรณ์เมื่อการส่งมอบเงินที่ให้ยืม   ซึ่งตามมาตรา 650 วรรค 2 บัญญัติเกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญาว่า  ย่อมบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินหรือเงินที่ยืม   จะเห็นได้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าต้องมีการส่งมอบ  หากไม่ส่งมอบสัญญาก็จะไม่บริบูรณ์เท่านั้น  ซึ่งไม่หมายถึงการเป็นโมฆะ โมฆียะ หรือเสียเปล่า เหตุประการอื่นแต่อย่างใด  ซึ่งเรื่องความไม่บริบูรณ์ของสัญญานี้มักจะเป็นเหตุหนึ่งที่ถูกลูกหนี้ยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามสัญญากู้

 

ตัวอย่างความสมบูรณ์ของสัญญากู้   กรณีมีหนี้สินระหว่างกันแล้วคิดหักบัญชีกันอีกฝ่ายเป็นหนี้อีกฝ่ายหนึ่งจึงทำสัญญากู้ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว  ถือได้ว่าสัญญากู้บริบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 ฎีกาที่ 1557/2524  จำเลยตกลงว่าจะใช้เงินที่โจทก์เสียไปคืนให้แก่โจทก์  หากบุตรโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศตามที่จำเลยชักนำ  โดยจำเลยยอมทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน  เมื่อบริษัทจัดหางานไม่สามารถส่งบุตรโจทก์ไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยก็ต้องรับผิดชอบใช้หนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงทำสัญญากู้ไว้  จะอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันหาได้ไม่  เพราะการกู้ยืมเงินนั้นผู้กู้ไม่จำต้องรับเงินไปจากผู้ให้กู้เสมอไป  ผู้กู้อาจตกลงยอมรับเอาหนี้สินอย่างอื่นมาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่นเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินอื่นเติมเงินที่กู้  การส่งมอบเช็คการปฏิบัติต่อการเกี่ยวกับการเบิกเงินคืนบัญชีหรือมอบเงินให้ไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร  แต่กลับเอาไปใช้ส่วนตัวจนหมดจึงทำสัญญากู้ให้ไว้  ดังนั้น  ก็ถือว่ามีการมอบเงินที่กู้  สัญญากู้บริบูรณ์แล้ว

กรณีที่การกู้เป็นผลมาจากมูลหนี้อย่างอื่นและแปลงเป็นหนี้กู้ยืม  มูลหนี้นั้นก็ต้องสมบูรณ์และเป็นการแปลงหนี้ใหม่อย่างแท้จริง  หากเป็นเพียงการทำสัญญาคู่กันไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาอย่างอื่น  ก็ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากนี้เดินมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน  สัญญากู้ก็ไม่บริบูรณ์

 

ตัวอย่าง   กรณีทำสัญญากู้แทนของหมั้น  ยังไม่ได้มีการให้ของหมั้นกัน  สัญญากู้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในวันข้างหน้าเท่านั้น  จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะของหมั้นไม่ได้

——————————————————————————————————————————————————————

สำนักงานกฎหมาย สยามอินเตอร์ลอว์

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน   

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน   

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก  ได้วางบทบัญญัติไว้ว่าการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่

จากบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว  สามารถตั้งข้อสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1)   การกู้ยืมที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น  จะต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป   ดังนั้น การกู้ยืมกันเพียง 2,000 บาทพอดีหรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด

2)  หลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี  ฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้  เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติผลให้เป็นโมฆะ  ไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น

                คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

  คำพิพากษาฎีกาที่ 8175/2551   หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 นั้น  อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้  และไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน  แค่คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม   ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว   ดังนั้น  เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง  จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 28/2505  จำเลยยืมเงินโจทก์  โจทก์ให้เงินไปก่อนแต่ยังไม่ได้ทำสัญญากู้  ภายหลังจำเลยจึงทำหนังสือรับรองใช้หนี้ให้     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  จริงอยู่ในกรณีนี้ในเวลาที่อ้างว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันนั้น  คู่กรณีหาได้ทำหนังสือในการกู้ยืมเป็นหนังสือกันไว้ไม่  ย่อมจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ไม่  แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีหลักฐานในการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญเกิดขึ้นแล้ว  ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีนั้นได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 5644/2546    โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน  แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม  โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล

หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับเป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่หนี้กู้ยืม  จึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

ในกรณีที่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว  แต่ต่อมาได้สูญหายไป  กรณีนี้ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับการสูญหายได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 696/2522    จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์  โดยจำเลยยินยอมอนุญาตให้ ณ. บุตรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้กู้แทนจำเลย  ดังนั้น  หาผูกพันจำเลยไม่  และกรณีเช่นนี้หาใช่กรณีที่จำเลยเชิดให้ ณ.เป็นตัวแทนกู้เงินโจทก์ไม่

 

คุยคดีเงินกู้  #ทนายคดีเงินกู้  091-0473382 ,02-1217414  คุณสุริยา สนธิวงศ์ ( ทนายความ )

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน  #ทนายเชี่ยวชาญคดีเงินกู้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก  วางบทบัญญัติไว้ว่าการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่

จากบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว  สามารถตั้งข้อสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1) การกู้ยืมที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น  จะต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป   ดังนั้น การกู้ยืมกันเพียง 2,000 บาท พอดีหรือต่ำกว่า จึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด

2)  หลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี  ฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้  เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติผลให้เป็นโมฆะ  ไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎีกาที่ 8175/2551   หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 นั้น  อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้  และไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน  แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า  จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นไปหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม   ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ   ดังนั้น  เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง  จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น

 

ฎีกาที่ 28/2505  จำเลยยืมเงินโจทก์  โจทก์ให้เงินไปก่อนแต่ยังไม่ได้ทำสัญญากู้  ภายหลังจำเลยจึงทำหนังสือรับรองใช้หนี้ให้  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  จริงอยู่ในกรณีนี้ในเวลาที่อ้างว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันนั้น  คู่กรณีหาได้ทำหนังสือในการกู้ยืมเป็นหนังสือกันไว้ไม่  จำเจ้าฟ้องร้องไห้บังคับคดีได้ไม่  แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีหลักฐานในการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญเกิดขึ้นแล้ว  ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

 

ฎีกาที่ 5644/2546    โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน  แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม   โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล

หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับเป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่หนี้กู้ยืม   จึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

ในกรณีที่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว  แต่ต่อมาได้สูญหายไป  กรณีนี้ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับการสูญหายได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

 

ฎีกาที่ 696/2522    จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์  โดยจำเลยยินยอมอนุญาตให้บุตรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้กู้แทนจำเลย  ดังนั้น  หาผูกพันจำเลยไม่และกรณีเช่นนี้หาใช่กรณีที่จำเลยเป็นตัวแทนกู้เงินโจทก์ไม่

 

สอบถามกฎหมาย หรือขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความโดยตรง

ติดต่อ คุณสุริยา สนธิวงศ์ (ทนายขาว) 091-047-3382 , 02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน

คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน

คำถาม : คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน ระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใด

คำตอบ : มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

    คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2560  แม้โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง  ส่วนฝ่ายจำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทก็ได้รับประโยชน์  จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373  ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองเช่นกัน  แต่มาตรา 1367 เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไป  เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน  ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครอง จึงต้องบังคับตามมาตรา 1373  ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์

กฎหมายหน้ารู้