การคิดดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยนั้นเป็นผลตอบแทนประเภทหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่าสัญญากู้ยืมเงินกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป สัญญากู้ยืมเงินก็ยังคงหลักการของเอกเทศสัญญาในเรื่องยืมอยู่ กล่าวคือ เป็นเรื่องการเอื้อเฟื้อกันและเป็นเรื่องทางอัธยาศัยไมตรีต่อกัน ดังนั้นจึงมีความเห็นตามกฎหมาย ว่าการกู้ยืมเงินกันนั้นจะไม่มีดอกเบี้ย เว้นแต่ จะได้มีการตกลงกันเอาไว้พลาดแต่ตกลงกู้ยืมเงินกันโดยไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ย พูดให้ยืมก็เรียกดอกเบี้ยไม่ได้ ก็บัญญัติขึ้นต้นว่า ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน
ดังนั้น จะต้องตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ก่อน แต่การตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการตกลงกันโดยชัดแจ้ง อาจจะเป็นการตกลงกันโดยปริยายก็ได้ ดอกเบี้ยนั้นอาจจะไม่ใช่เงินตราก็ได้ อาจเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น การให้ทำนาต่างดอกเบี้ย การคิดเอาผลผลิตเป็นดอกเบี้ยเป็นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่มี 159/2513 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้โจทย์จะมีสิทธิ์ทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนาและเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิ์ติดตามเอาคืน ด.เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อน โจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3775/2546 สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 9866/2574 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไปกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานหลักฐานมาแสดง (กฎหมายเดิมก่อนแก้ไข ) เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีก็จะลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทย์ไม่ได้นำเศษแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่มีอยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่จะนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5442/2551 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งรวม 50,000 บาท ต่อมาจึงได้ทำหลักฐานการกู้ยืมเงินนอกให้โจทก์ไว้ หลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีทุกเดือน จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่ทำสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2549 โจทย์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยในการร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งไทยพาณิชย์มาตรา 7 จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)