ข้อพิจารณาอื่นๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
๑. เกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
ฎีกาที่ ๔๖๙๘/๒๕๕๑
ค.กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐ ๐๐๐ บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นโดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกไว้ล่วงหน้าจำนวน ๓๐๐,๐๐๐๐ บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕ เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
๒. เกี่ยวกับผู้มีอำนาจฟ้องคดีเงินกู้
ฎีกาที่ ๑๐๗๕๗/๒๕๕๓
สัญญากู้ยืมเงินเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของสมาคมกลุ่มออมทรัพย์ และโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ผู้ให้กู้ยืม) แสดงให้เห็นว่าเงินที่กู้ยืมกันกันไม่ใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเงินที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากไว้เพราะโจทก์มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือประธานที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ โจทก์จึงเข้าครอบครองดินนั้นมีหน้าที่ส่งคืนเงินจำนวนเดียวกันกับกับที่กลุ่มลธมทรัพย์รับฝากใช้ฝากให้ครบร้านวน เมื่อโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินที่รับฝากนี้แม้ไม่ใช่ของโจทก์ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยผู้กู้ยืมชำระเงินคืนใด้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ใดก่อนเพราะเป็นการฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของตนเองตามสัญญากู้ยืม ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง แม้ ก. กู้ยืมเงินโจทก์นำมาใช้เพื่อกิจการของศูนย์สาธิตการตลาดของหมู่บ้านซึ่ง ก. เป็นประธานศูนย์มิใช่การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม ศูนย์สาธิตการตลาดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจรับผิดทางแพ่งต่อผู้ใดตามกฎหมายได้ ดังนี้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเป็นส่วนตัว โจทก์มีอำมีอำนาจฟ้อง
๓. กรณีไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงิน
ฎีกาที่ ๑๕๑๓๐/๒๕๕๑
โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน ๒,๑๑๐,๐๐๐๐ บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก ๖๐๐,๐๐๐ บาท มาชำระเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อนหาใช่เป็นเงินที่โจทกให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๕๕ (๓) และหลังจากขาจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐๐ บาท และมีการทำบัญชีไว้แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๖๑ หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้
๔. เกี่ยวกับพยานผู้เชี่ยวชาญ
ฎีกาที่ ๑๒๑๘๓/๒๕๔๗
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสาสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
๕. เกี่ยวกับการแปลงหนี้ใหม่
ฎีกาที่ ๓๒๐๙/๒๕๕๐
ป. กับโจทก์เป็นหุ้นส่วนในการยายที่ดินให้แก่จำเลย จำเลยไม่มีเป็นชำระค่าที่ดินในสำส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้จะขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญาที่ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันจำเลย
หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะชายที่ดิมกันกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนขอเมื่อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากูริมเป็นขึ้นที่อชำระหนี้คาที่ดิมที่ดินที่เกินที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญายืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมีใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์
๖. กรณีเกี่ยวพันกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ฎีกาที่ ๕๓๒๖/๒๕๕๐
เช็ดพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์แลกเปลี่ยนกับเช็ดที่จำเลยทั้งสาม ร่วมกันออกให้มาโจทก์เพื่อชำระหนี้ในกู้ยืม ๓,๐๐๐๐๐๐๐๐ บาท ที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กู้ยืมไปจากโจทก์ และโจทก์ให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมไว้ ดังนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น…ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามก็ครั้น ผู้ออกเช็คมีควนผิด…” และ ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรทหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็ด บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” หนี้เงินกู้ยืมและหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มีจำนวนกันกันกว่าห้าสิบบาท เมื่อไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแม้จะฟังว่าจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่นี่นั้นก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยทั้งสาม จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔
สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)