ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป
กรณีนี้เป็นเรื่องที่กอรกจำนวนเงินที่กู้ลงไว้เรียบร้อย ต่อมามีการแก้ไขจำนวนเงินให้ผิดไปจากเดิม ก็ถือว่าสัญญากู้ปลอม แต่ผลของการปลอมมีผลเพียงทำให้ไม่สามารถเรียกร้องเงินส่วนที่เกินไปเท่านั้น ส่วนจำนวนเงินที่กู้ถูกต้องยังคงบังคับได้ไม่ถือว่าสัญญากู้อันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เสียไป เนื่องจากตอนแรกถูกต้อง มีการปลอมทีหลัง ข้อเท็จจริงผิดกับกรณีไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้แล้วมาลงจำนวนเงินภายหลังไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามข้อตกลง จึงถือว่าเอกสารกู้เสียไปทั้งฉบับ ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิได้
ฎีกาที่1860/2523
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่า ความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้จาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้ แม้เอกสารกู้ได้ถูกแก้ละเป็นเอกสารปลอม แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้
ฎีกาที่ 743/2506
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามหนังสือสัญญากู้ 9,500 บาท จำเลยให้การว่า กู้จริงเพียง 500 บาท จำเลยลงนามในสัญญากู้ที่มิได้กรอกจำนวนเงินมอบให้โจทก์ไว้ โจทก์กับพวกสมคบกันปลอมขึ้น ลงจำนวนเงินผิดไปจากที่กู้กันจริง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถ้าจะให้จำเลยรับผิดก็เพียงในจำนวนเงิน 500 บาท เท่าที่จำเลยเอาไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้เงินเท่าที่จำเลยรับไป 500 บาท ทั้งโจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปตามจำนวนที่ฟ้อง คดีนี้จำเลยให้การยอมรับรับว่าได้กู้ไปจริงเพียง 500 บาท ซึ่งโจทก์ฟ้องจำนวนกู้ถึง 9,500 บาท แต่ไม่สืบสม ไม่มีทางรับฟัง คงพิพากษาเป็นจริงเท่าที่จำเลยรับโดยคำพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์
สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ์)