อายุความในการฟ้องคดี
ระยะเวลาในการฟ้องคดีหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีในชั้นศาลซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้อายุความตามกฎหมายแต่ละเรื่อง ในคดีแพ่งกฎหมายกำหนดอายุความในการฟ้องคดีเอาไว้แตกต่างกันเช่น ผิดสัญญาเช่าซื้ออายุความเรียกค่าเสียหายในการครอบครองและใช้รถในระหว่างผิดสัญญามีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาตามระยะเวลาที่สัญญากำหนดไว้ให้ชำระค่างวด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 164 หรืออายุความในสัญญาจ้างทำของกรณีที่ผู้รับจ้างฟ้องผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างมีอายุความ 2 ปีเป็นต้น แต่ในคดีแพ่งไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดระยะเวลามากน้อยต่างกันเพียงใด เรื่องนี้ไม่ถือเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงสามารถฟ้องคดีได้แม้คดีขาดอายุความแล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นกล่าวอ้าง ศาลพิจารณาพย่านหลักฐานแล้วจึงพิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามฟ้องไปโดยปริยาย
ในคดีอาญานั้น ในเรื่องอายุความถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน จึงไม่อาจมีใครที่จะสามารถนำคดีที่ขาดอายุความแล้วมาฟ้องเพื่อเอาผิดบุคคลอื่นได้ ซึ่งอายุความในคดีอาญามีทั้งคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวและความผิดอาญาแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดฐานยักยอกรวมถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดที่กฎหมายอนุญาตให้ยอมความได้แต่มีอายุความสั้นเพียง 3 เดือนดังนั้นผู้เสียหายจะต้องเร่งฟ้องคดีให้ทันภายใน 3 เดือนนับแต่วันมีการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดโดยอาจใช้วิธีแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือหากไม่อาจรอชั้นตอนของการสอบสวนที่เนิ่นช้าได้ก็อาจต้องใช้บริการทนายความเพื่อฟ้องคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนภายในอายุความต่อไป
ส่วนความผิดอาญาแผ่นดินเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วมีผู้กล่าวโทษหรือมีผู้ร้องทุกข์กรณีนี้ การเข้าพบพนักงานสอบสวนควรจะต้องมีทนายความในการช่วยเหลือในการดำเนินการในชั้นสอบปากคำรวมถึงขั้นตอนอื่นๆในการสอบสวนและการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลเมื่อพิจารณาขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาและมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดำเนินการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิต่อไป