“ความสำคัญของการจัดทำรายละเอียดข้อเท็จจริงในคดี”
ในการค้นหา ข้อเท็จจริง และรวบรวม พยานหลักฐาน จากเรื่องราวต่าง ๆ ในคดีนั้นก็เพื่อจะนำไปใช้ในการปรับเข้ากับ ข้อกฎหมาย โดยในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง นั้น ต้องสอบก่อน ตั้งรูปคดี และต้องให้ชัดเจนว่า โจทก์จะฟ้องเรียกร้องอะไร เช่น ฟ้องลูกหนี้เรียกเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่า เงินต้นค้างชำระเท่าไหร่ ดอกเบี้ยค้างเท่าไหร่ คิดอัตราอย่างไร เป็นต้น ในคดีแพ่งทั่วไป จะมีแหล่งหา ข้อเท็จจริง เบื้องต้น คือ จากตัวโจทก์ จากพยานบุคคล จากพยานเอกสาร จากพยานวัตถุ ฯลฯ หากมีเรื่องสถานที่ เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อเท็จจริง ก็ควรเดินทางไปดู ณ สถานที่จริงด้วย ข้อเท็จจริงที่หาได้จะนำมาประกอบเพื่อตั้งรูปฟ้องคดี ถ้าสอบ ข้อเท็จจริง ผิดพลาด หรือ ยังไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การวางหลัก ข้อกฎหมาย เพื่อปรับใช้กับ ข้อเท็จจริงนั้น คลาดเคลื่อนไม่ชัดเจน มีช่องโหว่ จนเสียเปรียบให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึงต้องถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รัดกุม และ เป็นประโยชน์สูงสุดในการ ตั้งรูปคดี เพื่อฟ้องต่อศาล ทนายความ ต้องทำการซักถาม ประวัติส่วนตัว ของ โจทก์ และ พยาน ให้ละเอียดมากที่สุด และ เรื่องราวเนื้อหาในคดี ก็ต้องสอบถามข้อเท็จจริง ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ แบบเชิงลึก ตามลำดับเหตุการณ์ หากขณะสอบข้อเท็จจริง โจทก์ หรือ พยาน ได้อ้างถึง เอกสาร หรือ วัตถุ ใดๆ ทนายความควรรีบขอดู ทันที เพื่อให้ เกิดความชัดเจน มิใช่การกล่าวอ้าง ลอย ๆ ในฐานะ ทนายความ ก็ควรรับฟัง เรื่องราวข้อเท็จจริง นั้นทั้งหมด แต่ควรควรพิจารณา แยกแยะ ถึงความสมเหตุผลด้วย และไม่ควรเชื่อทั้งหมด ตรวจดูด้วยว่า มีเรื่องราวที่ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เช่น ขัดแย้งกับพยานเอกสาร