การเตรียมเรื่องก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล
เมื่อลูกความมีความประสงค์ที่จะฟ้องคดีและให้ทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ลูกความและทนายความจะต้องจัดเตรียมเรื่องอย่างไรและมีความมุ่งหมายอย่างไรในคดีแพ่งมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
1.ทนายความต้องประชุมกับลูกความเพื่อสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุอื่นๆที่จะทำให้ทนายความทราบและวินิจฉัยเบี้องต้นในข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินคดีว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด
2.เมื่อทนายความทราบถึงข้อเท็จจริงและเหตุผลแล้วขั้นตอนต่อไป คือการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่กับตัวลูกความเองและพยานหลักฐานอื่นที่ทนายความจะต้องไปเสาะแสวงหาจากหน่วยงานราชการอื่นหรืองค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นและสถานที่อื่นบางคดีอาจต้องลงพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อถ่ายรูปและเก็บข้อมูลรวมถึงทำแผนที่เพื่อจัดเตรียมนำเสนอต่อศาลในลำดับถัดไป
3.เมื่อพยานหลักฐานพร้อมแล้ว ทนายความจะต้องนัดหมายลูกความเพื่อรายงานให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานและความคืบหน้าในการดำเนินคดีพร้อมทั้งอธิบายถึงทางได้ทางเสียที่ลูกความจะได้รับในการดำเนินคดีทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระและการตกลงใจพร้อมกับลงลายมือชื่อในอกสารต่างๆที่ทนายความได้จัดทำมา
การเตรียมคดีในคดีอาญากล่าวคือ เมื่อลูกความตัดสินใจที่จะฟ้องร้องคดีอาญาต่อบุคคลอื่นเมื่อทนายความประชุมสอบข้อเท็จจริงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกคือ การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โดยลูกความต้องไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดหรือเป็นฝ่ายก่อให้เกิดการกระทำผิดนั้นขึ้นมาเอง ประการต่อมาคืออายุความฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 และประการต่อมาคือให้พิจารณาถึงเขตอำนาจศาลตามกฎหมายซึ่งในคดีอาญานั้นสถานที่เกิดเหตุถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่ศาลจะรับคดีเอาไว้พิจารณาหรือไม่ เมื่อเงื่อนไขตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว ทนายความจึงดำเนินการฟ้องคดีอาญาให้กับท่านได้ต่อไป