ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม   ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ฎีกา 384/2525

จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา และเป็นฉบับเดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่  จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป้นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย  คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยนำสืบได้

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์นี้  เป็นกรณีหนึ่งที่ยอมให้มีการสืบพยานบุคคลได้  สำหรับเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ในการกู้ยืมเงินก็อาจจะมีหลายเหตุ  เช่น  ไม่ได้รับเงินกู้ไม่มีเจตนาผูกพันกันตามสัญญากู้   ได้รับเงินไม่เต็มจำนวนตามที่สัญญาที่นำมาฟ้อง เป็นต้น

 

ฎีกาที่ 13825/2553

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว  จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์  จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจะส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน  เท่ากับจำเลยได้ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์  เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม    ป.พ.พ. มาตรา 650  จำเลยจึงไม่ต้อง ห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคล  ว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม  ป.วิ.พ.มาตรา 94

ที่จำเลยให้การแนะนำสืบพยานบุคคลว่า  สัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น  ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง  หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่  และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศ   ก็ไม่ใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

การให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รับเงินที่กู้  จะต้องอ้างเหตุไว้ให้ชัดเจนด้วย  มิฉะนั้น  ก็ไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ( ฎีกา 246/2485)

 

ฎีกาที่ 274/2530

คำให้การจำเลยที่ปฏิเสธเพียงว่า บ. ไม่ได้กู้เงินโจทก์  หนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย  โดยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าเหตุใด  บ. จึงไม่ได้กู้เงินจดและหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์อย่างไร  จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง  จำเลยไม่มีสิทธิ์สืบพยานตามข้อต่อสู้

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

 

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

กรณีนี้เป็นเรื่องที่กอรกจำนวนเงินที่กู้ลงไว้เรียบร้อย  ต่อมามีการแก้ไขจำนวนเงินให้ผิดไปจากเดิม       ก็ถือว่าสัญญากู้ปลอม  แต่ผลของการปลอมมีผลเพียงทำให้ไม่สามารถเรียกร้องเงินส่วนที่เกินไปเท่านั้น  ส่วนจำนวนเงินที่กู้ถูกต้องยังคงบังคับได้ไม่ถือว่าสัญญากู้อันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เสียไป  เนื่องจากตอนแรกถูกต้อง  มีการปลอมทีหลัง ข้อเท็จจริงผิดกับกรณีไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้แล้วมาลงจำนวนเงินภายหลังไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามข้อตกลง จึงถือว่าเอกสารกู้เสียไปทั้งฉบับ ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิได้

ฎีกาที่1860/2523

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่า ความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท  ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้จาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้  แม้เอกสารกู้ได้ถูกแก้ละเป็นเอกสารปลอม  แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์  ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้

ฎีกาที่ 743/2506

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามหนังสือสัญญากู้ 9,500 บาท จำเลยให้การว่า กู้จริงเพียง 500 บาท จำเลยลงนามในสัญญากู้ที่มิได้กรอกจำนวนเงินมอบให้โจทก์ไว้  โจทก์กับพวกสมคบกันปลอมขึ้น  ลงจำนวนเงินผิดไปจากที่กู้กันจริง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถ้าจะให้จำเลยรับผิดก็เพียงในจำนวนเงิน 500 บาท  เท่าที่จำเลยเอาไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้เงินเท่าที่จำเลยรับไป 500 บาท  ทั้งโจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปตามจำนวนที่ฟ้อง คดีนี้จำเลยให้การยอมรับรับว่าได้กู้ไปจริงเพียง 500 บาท  ซึ่งโจทก์ฟ้องจำนวนกู้ถึง 9,500 บาท  แต่ไม่สืบสม  ไม่มีทางรับฟัง คงพิพากษาเป็นจริงเท่าที่จำเลยรับโดยคำพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

เหตุแห่งการปฏิเสธว่าสัญญากู้ปลอมนั้น  จะถือว่ามีเหตุผลชัดแจ้งตามหลักเรื่องคำให้การหรือไม่อันจะมีผลทำให้นำสืบได้หรือไม่คงจะต้องศึกษาจากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้

 ก.ปลอมเพราะเหตุผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินในช่องที่ว่างไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง

ฎีกาที่ 2692/2522

จำเลยกู้เงินไป 8,000 บาท  โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้  โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นในสัญญากู้ต่อมาโจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้และเขียนจำนวนเงินที่กู้เป็น 80,000 บาท  แล้วฟ้องเรียกเงินจากโจทก์ด้วยสัญญากู้ดังกล่าว  จึงเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสดงสิทธิจากเอกสารปลอมได้   ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย  ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 1532/2526

จำเลยกู้เงินโจทก์ 30,000 บาท โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  โดยไม่ได้กรอกข้อความเมื่อข้อความและจำนวนเงิน 40,000 บาท  ที่กรอกในหนังสือสัญญากู้ถูกเขียนขึ้นภายหลัง  ไม่ตรงต่อความเป็นจริง  และโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม  ย่อมเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสวงหาสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 4693/2528

จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท ได้เขียนสัญญากู้เงิน  โดยยังไม่ได้เขียนจำนวนเงินที่กู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้เขียนจำนวนเงินกู้ 15,000 บาท  ลงในสัญญากู้โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม  ดังนี้การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้ว่าได้มีการกู้เงินจำนวนเงินถึง 15,000 บาท  เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นและยินยอม  ด้วยสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่  แม้ขณะโจทก์เขียนจำนวน 15,000 บาท ในสัญญากู้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท  ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยอาศัยสัญญาคู่นั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2515)

ตามข้อเท็จจริงทั้ง 3 ฎีกานี้  เป็นเรื่องสัญญากู้ปลอมเพราะเหตุมีการกรอกจำนวนเงินที่กู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง  ผลของการวินิจฉัยจากเอกสารปลอมไปในรูปที่ว่าสัญญากู้นั้นปลอมเสียหมดทั้งฉบับ   โจทก์ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ใช้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แต่กรณีจะเป็นเช่นนั้นได้  จะต้องเป็นการกรอกจำนวนเงินลงในช่องว่างที่เว้นไว้  กล่าวคือสัญญากู้ไม่มีการระบุจำนวนเงินไว้  มีการมากรอกขึ้นภายหลัง  โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง   แต่ถ้ากรณีเป็นเรื่องกรอกจำนวนเงินลงไว้ถูกต้องในตอนแรกแล้วมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปในภายหลัง  ผลทางกฎหมายจะออกไปในอีกทางหนึ่งดังจะได้ศึกษาต่อไป

มีปัญหาน่าคิดต่อไปอีกว่า เมื่อกรณีตกลงกู้เงินกันจำนวนหนึ่ง  แต่ไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้ต่อมาผู้ให้กู้กรอบจำนวนเงินลงไปไม่ตรงกับที่ตกลงคู่กัน  ผู้กู้ก็รับแล้วว่ากู้จริงเท่าใด  จึงน่าจะบังคับกันตามจำนวนที่กู้จริงผู้เขียนก็มีความเห็นว่าเมื่อฟังว่าสัญญากู้ปลอมทั้งฉบับแล้วไม่อาจอ้างอิงแสวงหาสิทธิจากสัญญากู้อีกต่อไปการกู้รายนี้จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเมื่อไม่ผ่านขั้นการเสนอคดีโดยมีหลักฐานการกู้เป็นเป็นหนังสือแล้วจะก้าวล่วงไปพิจารณาถึงขั้นว่ามีการรับกันแล้วคงไม่ได้

       ฎีกาที่ 3063/2531

จำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นจำนวนเงิน 18,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยทั้งสองลงนามในช่องผู้กู้ก่อนต่อมาก่อนฟ้องคดีโจทก์ให้สามีโจทก์กรอกข้อความในสัญญากู้ว่าจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นเงิน 46,000 บาท ซึ่งผิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ  เท่ากับโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653  แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา  ทั้งจำเลยที่ 2 รับว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 18,000 บาท ก็ตาม โจทก์หาอาจฟ้องร้องบังคับคดีตามเอกสารปลอมดังกล่าวได้ไม่

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

4 ข้อสำคัญ ทำให้สัญญาไร้ผล

4 ข้อสำคัญ ทำให้สัญญาไร้ผล

สัญญาที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลทำให้สัญญาที่เราได้ทำกันไว้ไม่สามารถนำใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า “สัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้น”
สัญญาที่ไม่สามารถใช้บังคับได้นั้น มีดังต่อไปนี้
📍ประการที่ 1 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
📍ประการที่ 2 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยที่สามารถนำมาใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
📍ประการที่ 3 สัญญานั้นทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
📍ประการที่ 4 กฎหมายได้กำหนดว่าการกระทำนั้นๆเป็นโมฆะ หรือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้

กฎหมายหน้ารู้

ลงนามสัญญา ตัวแทนองค์กร

ตัวแทนองค์กรหรือหน่วยงานนิติบุคคลใดบ้างที่สามารถเข้าเป็นผู้แทนในการทำสัญญาแทนนิติบุคคลนั้นได้

ลำดับที่ 1 บริษัทจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือกรรมการของบริษัท

ลำดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการ

ลำดับที่ 3 สมาคมหรือมูลนิธิ มีผู้แทนทำสัญญาได้คือคณะกรรมการสมาคมหรือมูลนิธินั้น

ลำดับที่ 4 วัด มีผู้มีอำนาจในการทำสัญญาแทนได้ก็คือเจ้าอาวาส

ลำดับที่ 5 กระทรวง มีผู้แทนทำสัญญาได้ก็คือปลัดกระทรวง

ลำดับที่ 6 กรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้

ลำดับที่ 7 จังหวัด มีผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้คือผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับที่ 8 ได้แก่พรรคการเมือง มีผู้แทนที่สามารถทำนิติกรรมได้คือหัวหน้าพรรคการเมือง

กฎหมายหน้ารู้

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

กรณีที่ผู้ว่าจ้างอาจคิดค่าเสียหายหรือเรียกร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดได้คือ

  1. มีการกำหนดความรับผิดไว้ในสัญญาว่าจ้าง
  2. เกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องมาจากความผิดของผู้รับจ้าง หรือชักช้าในการที่ทำ ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกให้ผู้รับจ้างรับผิดได้ เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องหรือความล่าช้านั้นเพราะสภาพสัมภาระที่ผู้ว่าจ้างหามาหรือเพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างเอง แต่ทั้งนี้หากผู้รับจ้างรู้ว่าสัมภาระนั้นไม่ดีหรือคำสั่งของผู้ว่าจ้างดังกล่าวจะกระทบทำให้เกิดความชำรุดบกพร่องหรือชักช้าในการที่ทำและไม่เตือนผู้ว่าจ้างผู้รับจ้างยังต้องรับผิด
  3. กรณีเมื่อได้เริ่มทำงานแล้วแต่งานบกพร่องหรือเป็นไปในลักษณะที่ฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างอาจบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขความบกพร่องหรือบอกให้ปฏิบัติตามสัญญาโดยกำหนดระยะเวลาตามสมควรได้ หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ว่าจ้างอาจนำออกให้คนนอกทำการแก้ไขซ่อมแซมหรือทำต่อไปในการนั้นได้ และผู้รับจ้างต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้นได้
  4. กรณีผู้รับจ้างมีหน้าที่ในการหาสัมภาระเอง แต่หากการจัดหาสัมภาระมาไม่ดีผู้รับจ้างต้องรับผิดในการนั้น

กรณีดังกล่าวผู้เขียนเห็นว่า  การตกลงว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งแรงงานที่ได้รับงานมาจากผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการที่จ้าง   ดังนั้นการเข้ารับงานของตนต้องพึงใช้ความระมัดระวังในการทำงานโดยคำนึงถึงแบบและความต้องการของผู้ว่าจ้างที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด  การทำงานเรื่องใดที่มีแบบและวัสดุ  หรือขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการที่ชัดเจนเป็นลายลักอักษร  ผู้รับจ้างต้องพึงปฏิบัติตามให้เรียบร้อยให้สมกับการไว้วางใจของผู้ว่าจ้าง   สำหรับผู้ว่าจ้างเองก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนค่างานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้รับจ้างด้วย   แต่กรณีเกิดข้อพิพาทต่อกันในเรื่องการจ้างที่เกิดขึ้น  ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยการทำงาน  เกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นส่วนใหญ่  หรือเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของคู่สัญญาด้วยกันเอง

ดังนั้น หากเกิดข้อพิพาทในเรื่องการจ้างต่อกันแล้ว  ก็คงต้องนำเรื่องพิพาทดังกล่าวมาพิจารณากันว่า  ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อกัน  เหตุการณ์ที่เกิดฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบในเรื่องของค่าเสียห่ย   ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้หากคู่สัญญาได้ทำสัญญาไว้เป็นลายลักอักษรก็จะใช้สัญญาเป็นตัวกำหนดในเรื่องของค่าเสียหายต่อกันได้  แต่ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้  บางท่านก็นำเรื่องดังกล่าวมาใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลโดยให้ทนายความฟ้องดำเนินคดีกันตามกฎหมาย  เพื่อให้ศาลได้มีการพิจารณาและตัดสินคดีหรือตัดสินข้อพิพาทต่อกันให้ข้อพิพาทที่มีต่อกันเป็นอันยุติไปได้

สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

เมื่อมีข้อกำหนดของสัญญาจ้างระบุไว้ถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในสัญญาจ้างต่อกันกันแล้ว  ปรกติก็จะให้บังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติไปตามสัญญา   แต่ในบางกรณีผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาการว่าจ้างได้ในกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่แรก มาตรา 593 เมื่อผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการหรือกระทำการอันเป็นการชักช้าฝ่าฝืนต่อข้อสัญญา ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้

กรณีที่สอง มาตรา 596 กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าไม่ทันกำหนดระยะเวลา หรือกรณีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานไว้ แต่ล่วงเลยระยะเวลาอันสมควร ผู้ว่าจ้างอาจลดสินจ้าง หรือสามารถบอกเลิกสัญญาได้ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลา

กรณีที่สาม มาตรา 605 ถ้าการนั้นยังทำไม่เสร็จ ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้เสียค่าสินใหม่ทดแทนแก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกจ้างนั้น

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

#ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน #สิทธิฟ้องคดี

กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น     จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด      ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว    ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้     เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว        แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้

สอบถามกฎหมาย หรือ ปรึกษาทนายความโดยตรงได้ทุกวัน

091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

 กลฉ้อฉล หมายถึง การหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อและเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

       ก. กลฉ้อฉลถึงขนาด หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งใช้กลอุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยแสดงข้อความไม่ตรงต่อความเป็นจริง จนคู่กรณีฝ่ายที่ถูกหลอกลวงหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมนั้น  ซึ่งหากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้ว นิติกรรมนั้นก็คงมิได้ทำขึ้น ตัวอย่างเช่น นางแดง หลอกลวงนางดำว่าแหวนที่นางแดงนำมาขายนั้นป็นแหวนเพชรแท้ นางดำหลงเชื่อ จึงแสดงเจตนาซื้อแหวนดังกล่าวจากนางแดง ความจริงปรากฏว่า แหวนดังกล่าวเป็นแหวนเพชรเทียม หากนางดำรู้ ก็คงไม่ทำสัญญาซื้อเพชรจากนางแดงอย่างแน่นอน เช่นนี้การหลอกลวงของนางแดงทำให้นางดำหลงเชื่อ และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมไป นิติกรรมระหว่างนางแดงกับนางดำจึงตกเป็นโมฆียะแต่ถ้าข้อเท็จจริงข้างต้นเปลี่ยนไปว่า นางดำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเพชร ได้ตรวจสอบดูแล้วรู้ว่าเป็นเพชรเทียม แต่ก็ยังแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมซื้อแหวนเพชรดังกล่าวจากนางแดงแสดงว่ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาด นิติกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

      ข. กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ  หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายแรกมีเจตนาที่จะทำนิติกรรมนั้นอยู่แล้ว และคู่กรณีฝ่ายหลังใช้กลอุบายเพื่อเอาเปรียบคู่กรณีฝ่ายแรก คู่กรณีฝ่ายแรกที่ถูกเอาเปรียบ จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีฝ่ายหลังที่เอาเปรียบได้ แต่จะบอกล้างไม่ได้ นิติกรรมนั้นยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ตัวอย่างเช่น นายสมจริงต้องการขายสุนัขพันธุ์ดีให้นายสมหมาย ซึ่งตามปกติราคาในท้องตลาดสุนัขพันธุ์ดีในลักษณะเช่นนี้มีราคาเพียง 20,000 บาท  แต่นายสมจริงได้หลอกลวงนายสมหมายว่า สุนัขพันธุ์ดีตัวนี้ได้เคยนำออกแข่งและชนะเลิศการแข่งขันหลายครั้ง นายสมจริงจึงเรียกร้องราคาเพิ่มขึ้นอีก 5,000 บาท เช่นนี้ถือว่านายสมจริงใช้กลฉ้อฉลเพื่อเอาเปรียบนายสมหมายให้ซื้อสุนัขพันธุ์ดีแพงไป 5,000 บาท นายสมหมายจึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำนวน 5,000 บาท คืนจากนายสมจริงได้

      ค. กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องแจ้งความจริง ได้

จงใจนิ่งเฉย จนทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งสำคัญผิด และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้น  ตัวอย่างเช่น นายประหม่า เป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมีหนี้สินล้นพ้นตัว  ได้มาขอกู้เงินจากนายประหยัดเป็นจำนวนมากโดยปกปิดซึ่งความจริงของการเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว นายประหยัดรู้ว่านายประหม่าเป็นคนใช้ฟุ่มเฟือยจริงแต่เข้าใจว่าเป็นคนมีฐานะดี จึงให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวไป เช่นนี้ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ซึ่งมีผลให้สัญญากู้นั้นตกเป็นโมฆียะ

ผลของการแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลมีดังนี้

     ก. กรณีกลฉ้อฉลถึงขนาด นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆียะ แต่ถ้ากลฉ้อฉลถึงขนาดกระทำโดยบุคคลภายนอก นิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิใช่ฝ่ายที่ถูกกลฉ้อฉลได้รู้หรือควรรู้ว่ามีกลฉ้อฉลเช่นนั้น         

     ข. กรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ นิติกรรมยังคงมีผลสมบูรณ์ เพียงแต่ให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่คู่กรณีฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบเท่านั้น

 

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

กฎหมายหน้ารู้

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

         วัตถุประสงค์ของนิติกรรม หมายถึง  ประโยชน์สุดท้ายที่คู่กรณีของนิติกรรมประสงค์จะได้จากนิติกรรมนั้น หรือหมายถึงจุดมุ่งหมายหรือประโยชน์ที่มุ่งหวังจากการทำนิติกรรมนั้น กล่าวคือเป้าหมายในการทำนิติกรรมของคู่กรณี  ดังนั้น นิติกรรมทุกชนิดจะต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเสมอ  หากไม่มีวัตถุประสงค์ย่อมไม่เป็นนิติกรรม

         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ของนิติกรรมว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้นเป็นโมฆะ” บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้แก่

        1.วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เช่น การว่าจ้างให้ฆ่าคน การให้กู้ยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การซื้อขายยาเสพติดที่กฎหมายห้ามโดยเด็ดขาด เช่น  ยาม้า  เฮโรอีน  กัญชา

       2.วัตถุประสงค์ที่เป็นการพ้นวิสัย คือ นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่มีทางเป็นไปได้ และไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติได้ เช่น สัญญาจ้างให้แปรตะกั่วให้เป็นทองคำ สัญญาเช่าเรือโดยไม่รู้ว่าเรือนั้น อัปปางไปแล้ว สัญญาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพ  เป็นต้น

      3.วัตถุประสงค์ที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คือ นิติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมโดยพิจารณาจากความรู้สึกของคนทั่วไป เช่น สัญญาฮั้วการประมูลหลอกลวงราชการ  สัญญาจ้างให้หญิงหย่าจากสามีเพื่อมาสมรสกับผู้ว่าจ้าง สัญญาจ้างหญิงให้มารับจ้างเป็นโสเภณี เป็นต้น

แบบของนิติกรรม

       แบบของนิติกรรม  หมายถึง  พิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้และบังคับให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตามเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม หากไม่ปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ   โดยทั่วไปนิติกรรมไม่ต้องทำตามแบบก็มีผลใช้บังคับได้เพียงแต่แสดงเจตนาเท่านั้น  แต่มีนิติกรรมบางอย่างที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบ  เพราะเป็นนิติกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อรัฐหรือประชาชนโดยส่วนรวมได้ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบนี้  ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับได้  มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  152 ว่า  “ การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  การนั้นเป็นโมฆะ”

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้