ประเภทของนิติกรรม

ประเภทของนิติกรรม

นิติกรรมแบ่งออกเป็น  5 ประเภท คือ

  1. นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย

         นิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาและกระทำไปโดยบุคคลเพียงฝ่ายเดียว  การกระทำนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมได้  เช่น  การทำพินัยกรรม  การบอกเลิกสัญญา  การปลดหนี้  การตั้งมูลนิธิ  เป็นต้น mahjong slot

         นิติกรรมหลายฝ่าย เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาและการกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2  ฝ่ายขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะเกิดเป็นนิติกรรมได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาค้ำประกัน  สัญญาจำนอง  สัญญากู้ยืมเงิน การหมั้น การสมรส เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบและนิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ

นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ เป็นนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดแบบหรือวิธีการในการทำ

นิติกรรมนั้นเป็นพิเศษ  มิฉะนั้นจะไม่เกิดผลทางกฎหมายและตกเป็นโมฆะ  เช่น  สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  สัญญาจำนอง  การทำพินัยกรรม การสมรส เป็นต้น 

นิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ  เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาเท่านั้นและจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการทำนิติกรรมกัน  เช่น  สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ สัญญาจ้างแรงงาน  เป็นต้น

  1. นิติกรรมมีค่าตอบแทนและนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน

นิติกรรมมีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำขึ้นแล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน  ผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทนนั้นอาจเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน

อื่นใด หรือการชำระหนี้ก็ได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาเช่าซื้อ  สัญญาจ้างแรงงาน  สัญญาจ้างทำของ  สัญญาให้ที่มีค่าภาระผูกพัน  เป็นต้น

          นิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่ให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือนิติกรรมที่ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ได้ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป เป็นต้น                       

  1. นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลาและนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา

          นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา  เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลหรือสิ้นผลไปเมื่อเป็นไป ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนด เช่น  ตกลงจะขายรถยนต์ต่อเมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศ  ดังนั้น  เมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศเมื่อใด  ถือว่าเงื่อนไขที่ตกลงซื้อขายรถกันมีผลสำเร็จแล้ว  ผู้ขายต้องขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ตกลงไว้  เป็นต้น

          นิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลใช้บังคับทันทีที่ slot thailand

ตกลงทำนิติกรรมกัน  โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากำหนดไว้ในนิติกรรมนั้น  เช่น  คู่สัญญาตกลงซื้อรถยนต์กันโดยไม่มีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใดๆ ไว้  สัญญาซื้อขายนั้นมีผลผูกพันผู้ขายและผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขายรถกัน เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ และนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว

          นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิติกรรมที่ผู้ทำแสดงเจตนาประสงค์ให้เกิดผลระหว่างที่ผู้ทำนิติกรรมยังมีชีวิตอยู่  เช่น  สัญญาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ทำสัญญานั้นมีชีวิตอยู่  และมีผลใช้บังคับในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น

         นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทำมีชีวิตอยู่ แต่จะมีผลบังคับเมื่อผู้ทำตายไปแล้ว  เช่น  การทำพินัยกรรม  การทำสัญญาประกันชีวิต  เป็นต้น

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

                (1) ผู้เยาว์ (Minor)

                (2) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind)

                (3) คนไร้ความสามารถ (Incompetent)

                (4) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent)

                (5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย

                (6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน

        ผู้ทำนิติกรรมแทน

                ผู้อนุบาล (guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ

                ผู้พิทักษ์ (custodian) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ

       การควบคุมการทำนิติกรรม

            วัตถุประสงค์ของการทำนิติกรรม : หากกระทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวถือเป็น โมฆะ ได้แก่

                – นิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย

                – นิติกรรมที่พ้นวิสัย

                – นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

นิติกรรมและสัญญา

นิติกรรมและสัญญา

          นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น

          นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง การทำคำเสนอ การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น

          นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น

          นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นให้มีสภาพเป็นบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เพื่อให้นิติบุคคลสามารถใช้สิทธิหน้าที่ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ จึงต้องแสดงออกถึงสิทธิและหน้าที่ผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล

       1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ได้แก่

           1. บริษัทจำกัด (ผู้ก่อการอย่างน้อย 3 คน)

           2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ผู้ก่อการอย่าง 3 คน)

           3. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

           4. สมาคม

           5. มูลนิธิด้แก่ นิติ

      2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง/ทบวง กรม จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต./อบจ./กทม/เทศบาล/พัทยา) องค์การของรัฐบาล องค์การมหาชน ฯลฯ

           ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคล บางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก

           ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้