สัญญากู้ปลอม

 

กรณีต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม

การต่อสู้และสัญญากู้ปลอมนั้น  เป็นผลให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า สัญญากู้ที่นำมาฟ้องนั้นสมบูรณ์ถูกต้อง ไม่ปลอม  แล้วจำเลยสืบแก้  ซึ่งสามารถสืบพยานบุคคลได้  ตามข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 94 วรรคสอง  แต่อย่างใดก็ตาม  การที่จำเลยจะมีสิทธิสืบแก้ได้นั้น  จำเลยจะต้องอ้างเหตุแห่งการปลอมนั้นไว้ด้วยว่า  ปลอมเพราะเหตุใด  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ฎีกา 2243/2521

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้   จำเลยให้การต่อสู้ว่า  สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมโดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร  ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177   จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น

กรณีตามฎีกาที่ 2243/2521 นี้ถือว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่า  สัญญากู้ปลอมเกิดเป็นประเด็นที่พลาด  โจทก์มีภาระการพิสูจน์ตามประเด็น  แต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบแก้เพราะไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้   ก็ไม่มีข้ออ้างที่จะนำสืบหรือไม่มีเหตุผลที่อ้างนั่นเอง

ฎีกาที่ 1372/2526

โจทก์ฟ้องว่า  จำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท จำเลยให้การว่า กู้ไปเพียง 4,000 บาท  โดยโจทก์ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  การที่จำเลยนำสืบ ตัวจำเลยและพยานบุคคลอีก 2 คน  ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปเพียง 4,000 บาท  โจทก์ได้ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้  โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  เป็นการนำสืบให้เห็นว่ามีการกรอกข้อความที่ผิดความจริง  ว่าจำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท  ลงในสัญญากู้ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง  ซึ่งหากฟังได้สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม  การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร  จำเลยมีสิทธินำไปสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสอง

สอบถามกฎหมายคดีเงินกู้   ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

การคิดดอกเบี้ยทบต้น

การคิดดอกเบี้ยทบต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา65 ได้กำหนดบทบัญญัติไว้ว่า ” ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ถ้าว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปี 1 คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเท่ากับต้นเงินแล้ว  ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ รายการตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ  ”

ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดีในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี  หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายบัญญัติเป็นหลักเบื้องต้นไว้เลยว่าห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะต้องตามกรณีข้อยกเว้น  กล่าวคือ  กรณีที่มีการตกลงไว้เป็นหนังสือให้นำเอาดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปี 1 มาทบเท่ากับต้นเงินได้และในกรณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตลอดจนการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกัน    มาตรา 65 วรรคสองซึ่งการห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้นนี้ในเรื่องหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรค 2  ข้อบัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันว่า   ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้