ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123

นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125    โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123  ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ  จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้วก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น   โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆที่พึงได้ตามกฎหมายโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน ๑๔๙,๘๙๓.๓๓ บาท ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงิน ๘,๐๓๐ บาทค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน ๑๐,๗๐๖.๖๗ บาท ค่าชดเชยเป็นเงิน ๔๘๑,๘๐๐ บาท และค่าเสียหายเป็นเงิน ๙๖๓,๖๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของเงินดังกล่าวทุกรายการนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยทุกระยะ ๗ วันด้วย

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส ระหว่างที่โจทก์เป็น ลูกจ้างของจำเลยโจทก์ได้ดำเนินการเป็นคู่แข่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง โดยได้จัดตั้งบริษัทคิวซีดี แมเนจเม้นท์ จำกัด

ซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจการในด้านการให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล การจัดฝึกอบรมการตรวจประเมินระบบคุณภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำเลย โดยบริษัทดังกล่าวโจทก์เป็นผู้เริ่มก่อการ ผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท อันเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกับจำเลย นอกจากนั้นโจทก์ยังได้นำบริษัท บ. จำกัด เข้าประมูลงานแข่งขันกับจำเลยการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกิจการของจำเลยที่เป็นนายจ้างและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นความผิดร้ายแรง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมากจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องสอบสวน     โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่จำเลยเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายเพราะโจทก์ทราบข้อมูลความลับทางการค้าของจำเลยและนำไปเป็นประโยชน์ต่อบริษัทของโจทก์ได้ จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  และค่าเสียหายให้แก่โจทก์ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า  การที่โจทก์จดทะเบียนตั้งบริษัท บ. จำกัด และบริษัทดังกล่าวยื่นประมูลแข่งกับจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย แต่เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างและไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน ๔๘๑,๘๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓อันเป็นวันเลิกจ้างจนถึงวันชำระเสร็จ ค่าจ้างเป็นเงิน ๕๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓ไปจนถึงวันชำระเสร็จให้แก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก

        จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงตามสำนวนว่า ภายหลังจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว เมื่อวันที่ ๑๙พฤษภาคม ๒๕๔๓ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่า โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม๒๕๔๓ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้าง ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์อีกรวมทั้งเรียก ค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่าการที่โจทก์นำมูลกรณีที่ถูกจำเลยเลิกจ้างไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ขณะอยู่ระหว่างการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์นำมูลกรณีเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓ บัญญัติว่า  “ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน?”

แสดงว่าเมื่อเข้ากรณีตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้วกฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๓ ถึงมาตรา ๑๒๕ โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา ๑๒๓เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา ๑๒๔ แล้วหากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา ๑๒๕ บทบัญญัติตามมาตรา ๑๒๓  ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก้ได้ แต่ก็จะใช้สิทธิพร้อมพันทั้งสองทางไม่ได้หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้วก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้อง ต่อพนักงานตรวจแรงงานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ขอให้บังคับบริษัท บ. จำกัด  จำเลยคดีนี้จ่ายค่า ชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แก่โจทก์จึงถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยคดีนี้ด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยคดีนี้ด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าต่อเมื่อวันที่ ๒๒พฤษภาคม ๒๕๔๓ ระหว่างพนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้อีกเพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์เช่นเดียวกับที่ได้ยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไว้ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ให้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา ๔๙แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้ยกฟ้องในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้าง ค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 55 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 123

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

         กำหนดข้อพิพาทในคดีแรงงานและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานนั้น  ไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.

เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับคดีแรงงานได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง    

และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

          ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว(มาตรา 40 วรรคสอง) ทางแก้จำเลยต้องปฏิบัติตามมาตรา 41ฎีกา 3022/2552 เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือ ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีต้องยกคำร้องที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวน จึงเป็นการถูกต้องแล้ว

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

       นัดสืบพยานไม่ใช่วันนัดพิจารณา ศาลจะสั่งตามมาตรา  40  วรรคหนึ่ง ไม่ได้     ฎีกา 8233-8236/2547

โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณาทุกนัดเมื่อคดีตกลงกันไม่ได้ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานจำเลย

การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก คงมีผลเพียงทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะขออนุญาตศาลแรงงานถามพยานจำเลย

เพื่อทำลายน้ำหนักพยานจำเลยเท่านั้น ไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

 ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้(มาตรา 40 วรรคหนึ่ง)   

กรณีหากโจทก์แถลงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายใน 7 วัน  

นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้(มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

หรือโจทก์อาจฟ้องคดีเรื่องนั้นใหม่ภายใต้อายุความ (ฎีกา 2049/2524)

———————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

        ฎีกา 3810/2542 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาล

ตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้   ส่วนการวางเงินโจทก์ต้องวางเงินเฉพาะส่วน

ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ (และต้องวางดอกเบี้ยตามคำสั่งนับถึงวันฟ้องด้วย มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง )

—————————————————————————————–

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง    โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น    เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

 

กฎหมายหน้ารู้

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

          ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสอบสวนและมีคำสั่ง หรือจะฟ้องโดยตรงต่อศาลแรงงานก็ได้

ไม่เป็นการบังคับว่าลูกจ้างต้อง ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้

แต่ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิทั้งสองทางพร้อมกันไม่ได้

——————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

             ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง   

โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

มีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น  เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้อง

ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

———————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้