การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส
มาตรา ๑๔๗๓ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้ มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(๔) ให้กู้ยืมเงิน
(๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๖) ประนีประนอมยอมความ
(๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายหน้ารู้

การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์สิน
ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาการถึงแก่กรรม
ของคู่สมรสย่อมทำให้เกิดการสมรสสิ้นสุดลงตามป.พ.พ.มาตรา 1501 (ฎีกา12569/2547)
การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตายการหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน(ป.พ.พ.)มาตรา 1501
___________________________________

กฎหมายหน้ารู้

หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา

หนี้ที่สามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวการอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
3.หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภรรยาทำด้วยกัน
4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (ป.พ.พ.มาตรา 1490)
ตัวอย่าง
สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวหนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490(4) (ฎีกา 7631/2552)

กฎหมายหน้ารู้

การสมรส 

การสมรส 💍

การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิง
มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
(ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔๘)

ขณะเกิดเหตุเด็กหญิงเมื่อมีอายุไม่ครบ๑๗ ปีบริบูรณ์
จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๔๘
(ฎีกา ๒๔๒๙/๒๕๔๑)
__________________________________

กฎหมายหน้ารู้