หมวดหมู่: ไม่มีหมวดหมู่
สัญญากู้ปลอม กรณีต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม
กฎหมายหน้ารู้
การฟ้องคดีเงินกู้
เกี่ยวกับการฟ้องหรือการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับคดีเงินกู้นั้น ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นนั้น
ดังนั้น จึงต้องมีการบรรยายฟ้องที่ชัดเจน ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดกันเอง เช่น กรณีวันที่กู้เป็นระยะเวลาหลังจากหนี้ถึงกำหนดแล้ว เช่น ฟ้องว่ากู้วันที่ 5 พฤศจิกายน 2533 กำหนด 1 เดือน ครบกำหนดสัญญาวันที่ 5 ตุลาคม 2533 ซึ่งอ่านแล้วก็จะไม่เข้าใจ อาจจะเป็นกรณีผิดพลาดเรื่องการพิมพ์ หรือบรรยายฟ้องวันทำสัญญากับวันครบกำหนดตามสัญญาสลับวันกัน การบรรยายฟ้องจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ขอสรุปเป็นข้อสังเกตุดังนี้
1.การบรรยายฟ้องไม่จำเป็นต้องบรรยายเกี่ยวกับที่มาหรือมูลหนี้ที่กู้ยืมแม้ไม่บรรยายก็ไม่ถือว่าเป็นฟองเคลือบคลุม
ฎีกา 720/2518
ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ซึ่งโจทย์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้ว แม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ได้เปล่ารายละเอียดต่างๆของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วยก็ไม่เป็น
ฎีกา 2317/2530
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมสามีจำเลยกู้เงินสดไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้จดไว้แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธิ์นำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง
- กรณีกู้เงินกันหลายครั้ง หลายปี แล้วนำมาฟ้องในคราวเดียวกัน บรรยายปีที่กู้สลับกันไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้เอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสารดังนี้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม (ฎีกาที่ 1324/2519) หรือกรณีโจทก์ฟ้องว่าจำเลยในฐานะที่เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้ทำหลักฐานยืมเงินจดไป 14 ครั้งรวมเป็นเงิน 61,500 บาท โดยจำเลยอ้างว่ายืมไปทดรองจ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้นำเงินยืมไปใช้ในกิจการของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยถือว่าฟ้องโจทก์ได้กล่าวแสดงรายละเอียดถึงวันเดือนปีและจำนวนเงินที่จำเลยยืมไปและมีสำเนาใบยืมท้ายฟ้องดังนี้ ฟ้องโจทย์ไม่เคลือบคลุม(ฎีกาที่ 10000/2511)
- กรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทย์เคลือบคลุมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 137 วรรค 2 นั้น หากจะให้ศาลสูงวินิจฉัยในประเด็นนี้โจทย์จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งเป็นประเด็นว่าคำฟ้องของโจทย์ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุใดหากไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตามลำดับแต่เพิ่งจะมายกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาแล้วศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 (ฎีกาที่ 77/2511)
- กรณีเรื่องบัญชีเดินสะพัดแต่ตั้งรูปเรื่องฟ้องมาเป็นกู้ยืมหากคำบรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก้คดีได้
ฎีกาที่ 4872/2528
โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงินแต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทย์ที่ 2 ได้รับโควตา เป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้าง เป็นเช็คบ้าง ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดิน ค่าปุ๋ยและของอื่นๆเพื่อให้จำเลยใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการ เมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อยจากโรงงาน จึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสอง หักค่าอ้อยที่จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไป ก็ยกยอดไปในปีต่อไปและโจทย์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควตาของโจทก์ โจทก์จ่ายค่าปุ๋ยให้จำเลย เมื่อโจทก์น้ำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้วไม่ได้คิดเงินกันโจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างจดที่ 2 กับจำเลย จึงเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดจึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืมแต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดิมสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
- สำหรับสารที่จะรับคำฟ้องคดีกู้ยืมนั้น เดิมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 (2) คือสารที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเป็นหลัก ส่วนสารที่เป็นศาลยกเว้นคือสารที่มูลคดีเกิด ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยการฟ้องคดีเป็นไปตามมาตรา 4 คือศาลภูมิลำนาวจำเลยและศาลมูลคดีไม่แยกเป็นศาลหลักศาลยกเว้นเหมือนแต่ก่อน
ฎีกา 3789/2528
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดศรีสะเกษ แต่โจทก์ยื่นคำฟ้องให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสารที่มีมูลคดีเกิดศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีคำสั่งคำร้องนี้ว่า “รวม” และรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยเพื่อแก้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งเสร็จการพิจารณา ถือว่าศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2) ศาลจังหวัดอุบลราชธานีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ( วินิจฉัยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก่อนแก้ไข)
สอบถามกฎหมาย กับทนายคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
ข้อพิจารณาอื่นๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
ข้อพิจารณาอื่นๆ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
๑. เกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
ฎีกาที่ ๔๖๙๘/๒๕๕๑
ค.กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐ ๐๐๐ บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นโดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกไว้ล่วงหน้าจำนวน ๓๐๐,๐๐๐๐ บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕ เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
๒. เกี่ยวกับผู้มีอำนาจฟ้องคดีเงินกู้
ฎีกาที่ ๑๐๗๕๗/๒๕๕๓
สัญญากู้ยืมเงินเป็นแบบฟอร์มหนังสือสัญญากู้ยืมเงินของสมาคมกลุ่มออมทรัพย์ และโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ผู้ให้กู้ยืม) แสดงให้เห็นว่าเงินที่กู้ยืมกันกันไม่ใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาเงินที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากไว้เพราะโจทก์มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการหรือประธานที่ปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ โจทก์จึงเข้าครอบครองดินนั้นมีหน้าที่ส่งคืนเงินจำนวนเดียวกันกับกับที่กลุ่มลธมทรัพย์รับฝากใช้ฝากให้ครบร้านวน เมื่อโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินที่รับฝากนี้แม้ไม่ใช่ของโจทก์ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยผู้กู้ยืมชำระเงินคืนใด้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ใดก่อนเพราะเป็นการฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของตนเองตามสัญญากู้ยืม ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง แม้ ก. กู้ยืมเงินโจทก์นำมาใช้เพื่อกิจการของศูนย์สาธิตการตลาดของหมู่บ้านซึ่ง ก. เป็นประธานศูนย์มิใช่การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม ศูนย์สาธิตการตลาดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจรับผิดทางแพ่งต่อผู้ใดตามกฎหมายได้ ดังนี้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเป็นส่วนตัว โจทก์มีอำมีอำนาจฟ้อง
๓. กรณีไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงิน
ฎีกาที่ ๑๕๑๓๐/๒๕๕๑
โจทก์และจำเลยเข้าเป็นหุ้นส่วนกันซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาเพื่อขายเอากำไรแบ่งกัน โดยนำเงินที่ลงหุ้นกันจำนวน ๒,๑๑๐,๐๐๐๐ บาท และเงินส่วนตัวโจทก์อีก ๖๐๐,๐๐๐ บาท มาชำระเพิ่มเติม เช่นนี้ เงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญไปก่อนหาใช่เป็นเงินที่โจทกให้จำเลยกู้ยืมอันจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การเข้าหุ้นซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และจำเลยมาเพื่อขายนั้น เป็นการเข้าหุ้นกันเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว เมื่อขายที่ดินทั้งสองแปลงได้แล้ว การเป็นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๕๕ (๓) และหลังจากขาจำเลยได้แบ่งกำไรจากการขายที่ดินให้แก่โจทก์จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐๐ บาท และมีการทำบัญชีไว้แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้มีการคิดบัญชีกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีทรัพย์สินในระหว่างหุ้นส่วนหรือหนี้สินใดที่จะต้องจัดการกันอีก ถือได้ว่ามีการตกลงกันให้การจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๖๑ หาใช่ต้องจัดให้มีการชำระบัญชีเสมอไปไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกำไรและเงินทดรองจ่ายแทนห้างหุ้นส่วนสามัญจากจำเลยได้
๔. เกี่ยวกับพยานผู้เชี่ยวชาญ
ฎีกาที่ ๑๒๑๘๓/๒๕๔๗
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสาสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
๕. เกี่ยวกับการแปลงหนี้ใหม่
ฎีกาที่ ๓๒๐๙/๒๕๕๐
ป. กับโจทก์เป็นหุ้นส่วนในการยายที่ดินให้แก่จำเลย จำเลยไม่มีเป็นชำระค่าที่ดินในสำส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้จะขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญาที่ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันจำเลย
หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะชายที่ดิมกันกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนขอเมื่อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากูริมเป็นขึ้นที่อชำระหนี้คาที่ดิมที่ดินที่เกินที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญายืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมีใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์
๖. กรณีเกี่ยวพันกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ฎีกาที่ ๕๓๒๖/๒๕๕๐
เช็ดพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์แลกเปลี่ยนกับเช็ดที่จำเลยทั้งสาม ร่วมกันออกให้มาโจทก์เพื่อชำระหนี้ในกู้ยืม ๓,๐๐๐๐๐๐๐๐ บาท ที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กู้ยืมไปจากโจทก์ และโจทก์ให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมไว้ ดังนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น…ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามก็ครั้น ผู้ออกเช็คมีควนผิด…” และ ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรทหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็ด บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” หนี้เงินกู้ยืมและหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มีจำนวนกันกันกว่าห้าสิบบาท เมื่อไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแม้จะฟังว่าจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่นี่นั้นก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยทั้งสาม จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา ๔
สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
เรื่องต้องรู้ก่อนฟ้องคดี
เรื่องต้องรู้ก่อนฟ้องคดี
# เป็นผู้เสียหายหรือไม่
โดยปกติศาลจะไม่รับฟ้องคดีจากใคร หากผู้ที่นำคดีมาฟ้องไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นผู้เสียหายในคดีนั้นๆ
#ต้องอยู่ในอายุความฟ้องคดีได้
สำหรับการฟ้องคดีต่อศาล ตามกฎหมายแล้วจะมีกฎหมายกำหนดในเรื่องของระยะเวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ซึ่งหากการนำคดีมาฟ้องโดยล่วงเลยระยะเวลาอายุความในการฟ้องคดีแล้ว อาจจะส่งผลทำให้ท่านแพ้คดีนั้นๆได้
#ฟ้องคดีแล้วคุณจะได้อะไร
เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องคิดและวิเคราะห์หรือทบทวนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าท่านมีวัตถุประสงค์ในการฟ้องคดีอย่างไร ต้องการให้ได้รับโทษในทางคดี หรือต้องการให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ และหากจะใช้สิทธิ์ในการฟ้องคดี ท่านสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ท่านควรจะคิดตรึกตรองถึงความคุ้มค่าในการดำเนินคดีนั้นๆอีกด้วย
#ปรึกษาทนายความที่ท่านไว้วางใจ
สำหรับในการฟ้องคดีต่อศาลนั้นเป็นเรื่องใหม่สำหรับท่าน หรือเป็นเรื่องใหม่ๆสำหรับใครบางคนที่ไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลมาก่อน ดังนั้นในเรื่องของรายละเอียด ในเรื่องของเวลา ในเรื่องของความคุ้มค่า รวมทั้งสิทธิในการนำคดีมาฟ้องนั้นท่านไม่มีประสบการณ์ ทนายความจึงมีความจำเป็นที่ท่านควรเข้าพบและหารือเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อคุณจะได้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลของท่านได้
กฎหมายหน้ารู้
ปลดหนี้เสร็จสิ้น คือสิ่งที่ฉันต้องการ
ปลดหนี้เสร็จสิ้น คือสิ่งที่ฉันต้องการ
การปลดหนี้ได้เป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน เมื่อไหร่เรายิ่งเริ่มมีความพยายามมากขึ้นแล้ว แต่ทำไมยิ่งพบแต่เรื่องยุ่งเหยิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจะทำอย่างไรดี
ในทัศนะของทนายความ ผมเข้าใจว่าปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีหนี้นอกระบบมากกว่าในระบบด้วยซ้ำไป ก็เพราะทุนในระบบปล่อยสินเชื่อน้อย ยิ่งเครดิตใครเคยเสียไปแล้วก็ต้องหันมาพึ่งเงินนอกระบบกัน และเมื่อเข้าสู่ระบบนี้แล้วเมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดหนี้มากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวไปเรื่อยๆจนแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ไม่ได้
ดังนั้น จุดเริ่มต้นที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้นก็คือ ท่านต้องเอาเวลาของตัวเองที่มีอยู่ไปมุ่งมั่นไปกับการทำงานและใช้เวลากับการหารายได้เสริมของตัวเองให้มากขึ้น โดยท่านควรทำงานให้เต็มความรู้และความสามารถของตัวเองก่อน ส่วนสำหรับภาระหนี้สินที่ค้างอยู่กับเจ้าหนี้ทั้งในและนอกระบบนั้น หากท่านยังไม่พร้อมทนายก็แนะนำให้ท่านบอกเจ้าหนี้ไปตรงๆได้เลยว่า ในช่วงนี้เรายังไม่พร้อม และหากพร้อมเมื่อไหร่ก็จะรีบหามาคืนให้ มีมากก็จะให้มาก หากมีน้อยก็จะให้น้อยจนเรียบร้อย
ข้อสำคัญที่แนะนำ
อย่าไปเสียเวลานั่งคิดเรื่องการวิ่งหายืมเงินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆเพื่อนำมาคืนให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ท่านได้เริ่มต้นในการทำแบบนี้แล้ว จะทำให้ภาระหนี้ก้อนเล็กๆของท่านที่มีอยู่จะเติบโตขึ้นกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ต่อมากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามตัว เนื่องจากทุกครั้งที่มีการยืมเงินแหล่งใหม่ ส่วนใหญ่ก็มาจากเงินนอกระบบ มีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แล้วจะเป็นสาเหตุทำให้ท่านมีหนี้สินที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลทำให้การแก้ไขปัญหาของท่านเกิดขึ้นได้ยากกว่าเดิม และที่สำคัญท่านจะใช้เวลาหมดไปกับการใช้เวลาสำหรับการวิ่งหายืมเงินจากแหล่งเงินกู้เงินยืมต่างๆในแต่ละวันเพื่อจะให้ได้เงินมาส่งคืนให้แก่เจ้าหนี้รายต่างๆของท่าน และที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ ท่านจะไม่มีเวลาในแต่ละวันที่จะหันมาใช้ความรู้ ใช้ความสามารถในเรื่องของการคิดเรื่องการทำงาน หรือไม่มีเวลาในการการคิดหาวิธีในการหารายได้เสริมของท่านและครอบครัวของท่านเลย ท้ายสุดแล้ว ท่านก็จะตกอยู่ในวังวนในเรื่องของหนี้ ชีวิตอาจจะตกอยู่ในความล้มเหลวเป็นเวลานาน แล้วจะเหลือไว้แต่เพียงหนี้สินที่จะเป็นมรดกไว้ให้แก่ลูกหลานของท่านต่อไป
ปรึกษา คลินิกแก้หนี้ โดยทนายความ สยามอินเตอร์ลอว์ /ติดต่อสื่อสาร 091-047-3382 , 02-1217414
กฎหมายหน้ารู้
อัตราดอกเบี้ยในคดีเงินกู้
อัตราดอกเบี้ยในคดีเงินกู้
เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เรียกเก็บตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ได้บัญญัติว่า ” ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี “
นอกจากนี้ในกรณีที่ดอกเบี้ยมิได้กำหนดอัตราไว้โดยธรรมนิติกรรมหรือบทบัญญัติอันใดอันหนึ่งชัดแจ้ง ประมวลกฎหมายแพ่งและปริมาตรา 79 บัญญัติให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี
จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่ให้เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือ 1.25 ต่อเดือน หรือช่างละบาทต่อเดือน และมีบทบัญญัติในกรณีไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทบัญญัติชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
ข้อสังเกตประการแรก นอกจากบทบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ในทางอาญายังมีกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ถูกจัดให้ถือเป็นความผิดทางอาญาระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเหตุผลและเจตนารมณ์ของการร่างกฎหมายฉบับนี้จะเห็นได้จากคำแถลงการณ์คณะกรรมการราษฎรเกี่ยวกับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 หวังจะบำรุงการกู้ยืมให้เป็นไปในทางการที่ควร และในตัวบทบัญญัติกฎหมายก็กล่าวไว้ด้วยว่า การกู้ยืมเงินโดยอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควรนั้น ย่อมเป็นทางเสื่อมประโยชน์ของบ้านเมือง สมควรจะป้องกันราษฎรมิให้ต้องเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
ประการที่สอง เมื่อการกู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ก็มีผลตกเป็นโมฆะ ซึ่งการตกลงเป็นโมฆะนี้ แนววินิจฉัยของศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะเฉพาะข้อตกลงเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ส่วนต้นเงินไม่โมฆะ หนี้ตามสัญญากู้ยังคงสมบูรณ์อยู่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยเฉพาะบทบัญญัติส่วนท้ายของมาตรา 654 ก็บัญญัติไว้ว่า ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี
ประการที่สาม ปัญหาต่อมาคือ เมื่อถือว่ากรณีผู้กู้โดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ต้นเงินยังสมบูรณ์ ผู้ให้กู้จะยังคงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่ หากคิดได้ จะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด และมีแนวคำพิพากษาวินิจฉัยว่าคิดดอกเบี้ยกันได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แนวคำพิพากษาฎีกาในเรื่องของดอกเบี้ย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1100/2523 ถ้าเงินค่าเซ้งตึกที่ต้องคืนกัน 80,000 บาท คู่กรณีตกลงกันทำเป็นสัญญากู้โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 ครึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นระยะเวลา 15 เดือน เงิน 30,000 บาท รวมเป็นสัญญากู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาทนี้เป็นมูลค่าทั้งหมด เจ้าหนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินคืนโดยรวมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาฎีกาที่ 4056/2528 จำเลยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้เงินมีข้อความระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 18 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ย่อมมีผลให้โจทก์หมดสิทธิ์ที่จะเลือกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดี สัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้นหลังจากที่โจทย์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อทำการชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว จำเลยยังคงเพิกเฉยไม่ได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่าสิ่งนั้นแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4010/2530 โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในทางร้อยละ 20 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทย์หมดสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
ข้อสังเกต
ฎีกาทั้ง 3 ที่ยกมานี้ศาลได้วินิจฉัยว่า การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ แต่ก็ยังเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพียงแต่ฎีกาที่ 4056/2528, 4010/2510 อ้างอิงว่าเป็นการได้ดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ซึ่งก็เรียกได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหมือนกับมาตรา 7
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
การกู้ยืมเงินโดยรับสิ่งของแทนเงินหรือรับสิ่งของชำระหนี้เงินกู้
การกู้ยืมเงินโดยรับสิ่งของแทนเงินหรือรับสิ่งของชำระหนี้เงินกู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วางบทบัญญัติไว้ว่า
มาตรา ๖๕๖ ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้ ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ
ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนในที่ก็ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่กับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบ
ความตกลงกันอย่างใดๆ ขัดกับข้อความดั่งกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
ฎีกาที่ ๓๗๙/๒๕๒๔
จำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วมอบนาพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ในสัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา จำเลยยอมยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แทนเงินกู้ แต่มิได้ระบุว่าที่พิพาทมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วรรคสอง และตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม
ฎีกาที่ ๒๖๗/๒๕๒๔
ผู้ตายกู้ยืมเงินผู้ร้องไปโดยทำสัญญากับผู้ร้องว่า ถ้าชำระหนี้ไม่ได้จะโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องเป็นการชำระหนี้แทน เป็นการตกลงกันให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม โดยมิได้คำนึงถึงราคาทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๖ วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับให้มีการโอนที่ดินมรดกเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ร้องโดยเจาะจง คงมีแต่สิทธิขอให้บังคับชำระหนี้อันเป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยทั่วไป
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรมหรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์ ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ถึงเมือมีมีจัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารมฟ้องร้องบังคับช้าระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนใด้เสียซึ่งเป็นพื้นที่สิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ฎีกาที่ ๒๕๕๙/๒๕๒๒
การที่ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันในสัญญากู้ยืมเงินว่า ผู้ให้กู้ยินยอมรับเอาสิ่งหรือทรัพย์สินอย่างอื่นชำระแทนจำนวนเงิน โดยไม่คำนึงถึงราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินหรือสิ่งของในเวลา สถานที่ที่ส่งมอบนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา ๖๕๒๖ วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา
ฎีกาที่ ๓๕๑/๒๕๒๒
กู้เงินมีข้อสัญญาว่า ถ้าไม่ใช้เงินคืนตามกำหนดยอมโอนที่ดินตามโฉนดชำระหนี้ให้โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดิน ฝ่าฝืน มาตรา ๖๕๖ วรรค ๒,๓ บังคับให้โอนที่ดินชำระหนี้ไม่ได้
สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
การคิดดอกเบี้ย
การคิดดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยนั้นเป็นผลตอบแทนประเภทหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงิน แต่ไม่ได้หมายความว่าสัญญากู้ยืมเงินกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป สัญญากู้ยืมเงินก็ยังคงหลักการของเอกเทศสัญญาในเรื่องยืมอยู่ กล่าวคือ เป็นเรื่องการเอื้อเฟื้อกันและเป็นเรื่องทางอัธยาศัยไมตรีต่อกัน ดังนั้นจึงมีความเห็นตามกฎหมาย ว่าการกู้ยืมเงินกันนั้นจะไม่มีดอกเบี้ย เว้นแต่ จะได้มีการตกลงกันเอาไว้พลาดแต่ตกลงกู้ยืมเงินกันโดยไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ย พูดให้ยืมก็เรียกดอกเบี้ยไม่ได้ ก็บัญญัติขึ้นต้นว่า ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน
ดังนั้น จะต้องตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ก่อน แต่การตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการตกลงกันโดยชัดแจ้ง อาจจะเป็นการตกลงกันโดยปริยายก็ได้ ดอกเบี้ยนั้นอาจจะไม่ใช่เงินตราก็ได้ อาจเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น การให้ทำนาต่างดอกเบี้ย การคิดเอาผลผลิตเป็นดอกเบี้ยเป็นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่มี 159/2513 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้โจทย์จะมีสิทธิ์ทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนาและเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิ์ติดตามเอาคืน ด.เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อน โจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 3775/2546 สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 9866/2574 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไปกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานหลักฐานมาแสดง (กฎหมายเดิมก่อนแก้ไข ) เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีก็จะลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทย์ไม่ได้นำเศษแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่มีอยู่ในความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่จะนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5442/2551 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งรวม 50,000 บาท ต่อมาจึงได้ทำหลักฐานการกู้ยืมเงินนอกให้โจทก์ไว้ หลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ย การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีทุกเดือน จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่ทำสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2549 โจทย์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยในการร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งไทยพาณิชย์มาตรา 7 จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายผ่านทนายความคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
กรณีที่ถือว่าไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
กรณีที่ถือว่าไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
ศาลฎีกาได้วางแนวคำพิพากษาตัดสินคดีเอาไว้ว่า กรณีดังกล่าวเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
ตัวอย่าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2522 ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้เงินนั้นจังเลยไม่ได้ทำหลักฐานในการกู้เงินเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้น เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้ หรือยืม และข้อความในเช็คก็ไม่มีเขาว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืม เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือโรงแรมชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาฎีกาที่ 3010/2525 ฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญาขายฝากตามฟ้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นทำตามสัญญากู้เงิน จึงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามเจตนาเดิมได้นั้น โจทก์ไม่ได้ยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นบรรยายเป็นประเด็นไว้ในฟ้อง และศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยมา จึงไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2553/2525 เช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไม่เป็นหลักฐานว่าจำเลยกู้เงินตามฟ้องของโจทก์ เอกสารฉบับหนึ่งมีใจความว่าเรียนคุณจิรพงษ์ที่นับถือ .ผมต้องขอโทษอีกครั้งที่ทำให้คุณและคุณศิริต้องยุ่งยากเกี่ยวกับเงินที่ค้างอยู่ทางผม เวลานี้ผมกำลังขัดสนจริงๆกำหนดเวลาที่ผมจะจัดการเรื่องของคุณและคุณศิริคงไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกนี้ และอีกฉบับหนึ่งถึงทนายโจทก์มีใจฟังว่า เพื่อนขอให้ชำระหนี้นั้นซักแล้วแต่เพราะป่วยเป็นอัมพาตจึงต้องขอความกรุณาครับผ่อนชำระหนี้หลังจากที่ได้หายป่วยแล้ว ดังนี้ ข้อความตามเอกสารทั้งสองฉบับในการขอบัตรผ่อนการชำระหนี้แต่จะเป็นหนี้เกี่ยวกับอะไรจำนวนเท่าใดไม่ปรากฏ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ใช่หนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
คำพิพากษาฎีกาที่ 3809/2526 ตอนบนของเอกสารมีชื่อและนามสกุลของจำเลย ถัดไปเป็นรายการลงวันเดือนปีและข้อความว่าเอาเงินกับจำนวนเงินต่างๆกัน รวม 12 รายการ อีก 5 รายการมีข้อความว่า ข้าวสาร และลงจำนวนไว้ว่า 1 กระสอบบ้าง 1 ถังบ้าง 3 ถังบ้าง ได้ทุกรายการมีชื่อจำเลยลงกำกับไว้เอกสารดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653
คำพิพากษาฎีกาที่ 2757/2528 เช็คที่จำเลยโรงแรมมือชื่อผู้สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ก็ดี หรือเช็คที่ตรวจออกให้แก่จำเลยและจำเลยนำไปรับเงินแล้วก็ดี ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653
ความในเอกสารมีว่าคุณอาจิน (โจทก์) ที่นับถือ ผม( จำเลย) ให้สุภาพรมาหา ผมกำลังวิ่งหาซื้อของจะขึ้นไปหน่วยงานที่ผมเรียนไว้เมื่อเช้าว่าจะเอาคืนก่อน 400,000 บาท ขอให้คุณอาจินจ่ายธนาคารเอเชียทรัสต์ ผมจะให้คุณสุรพลไปทำแคชเชียร์เช็คจากธนาคาร เช่นนี้ ไม่มีข้อความตอนใดพอที่จะแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันและจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ จะใช้เงินคืนให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
สอบถามคดีเงินกู้กับทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)
กฎหมายหน้ารู้
กรณีถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
กรณีถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2499 คำรับสภาพหนี้ในใบบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ ซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 หรือสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 65/2507 หนังสือ ไอ โอ ยู เป็นหลักฐานการยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้ เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 644/2509 บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง และจำเลยได้ลงชื่อไว้ใช้บันทึกนั้นด้วย แม้จะเป็นเรื่องพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม ก็ใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 215/2510 จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในใบบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นบันทึกถูกต้อง ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนหย่า ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 โจทก์นำหลักฐานนั้นมาฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากกู้ยืมได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 483/2510 จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่าไม่ต้องการรบกวนตรวจอีก เขายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละหายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งเพราะไม่ระบุจำนวนเงินจำนวนนั้นไม่ได้ ต่อมาตรวจส่งครับไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟแล้วและต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 682, 863 /2520 การที่นิติกรรมสัญญาขายฝากทางขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงิน นิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาหลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น วิธีการอ่านและที่พักบนออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือ สัญญากู้เงินที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกนำไปตามมาตรา 118 วรรค 2 ในกรณีเช่นนี้ แม้นิติกรรมสัญญากู้เงินจะไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาขายฝากก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเอกสารการขายฝากเป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีผลบังคับได้
สอบถามปัญหาข้อพิพาทการกู้เงิน กับทนายความผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์) สำนักงานกฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์ ถนนบางนา- ตราด (สมุทรปราการ)