กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา

กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา
           สำหรับในเรื่องนี้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาได้ ยกเว้นเพียงแต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ไม่สามารถทำนิติกรรมด้วยตัวเองได้ ได้แก่ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลสุดท้ายก็คือบุคคลที่ล้มละลาย โดยบุคคลดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาด้วยตัวเองได้

กฎหมายหน้ารู้

สัญญาเช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อ
             สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชําระเป็นงวดๆ จนครบตามข้อตกลง ข้อกำหนดสัญญาเช่าซื้อ
             สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชําระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะท่าสัญญา ไม่ต้องรอให้ชําระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชําระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าขอทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่า

กฎหมายหน้ารู้

การเช่าทรัพย์

การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระค่าเช่าเป็นการตอบแทน

หลักเกณฑ์การเช่า
          การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา การเช่าทรัพย์มีรายละเอียดและข้อกำหนดการเช่าทรัพย์เอาไว้ดังต่อไปนี้
          1) สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือ มีกําหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
          2) ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว
          3) ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และยอมให้ผู้ให้เช่าตรวจตราทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า
          4) ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง
———————————————————————————————————————-

กฎหมายหน้ารู้

ทำสัญญาให้ถูกต้องใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

    ท่านเคยไหมครับที่ได้ทำสัญญาไปแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะมีผลบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่อย่างไร
สำหรับในเรื่องกฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาเบื้องต้นเอาไว้ว่า การทำสัญญาจะมีผลเป็นสัญญาได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า 2 ฝ่ายเข้ามาทำการตกลงโดยมีข้อเสนอและข้อสนองที่ตรงกัน
จึงจะทำให้เกิดสัญญาขึ้นได้ ส่งผลให้ขอให้เกิดหนี้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ต่อกันด้วย และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์เรียกร้องให้ลูกหนี้ได้สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้เช่นเดียวกัน

     แต่ในเรื่องนี้สำคัญอยู่ที่ว่าหากสัญญาที่เราทำไว้ไม่ถูกต้องล่ะ จะส่งผลทำให้สัญญาที่เราทำไว้บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ ในเรื่องนี้กฎหมายเขาได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า หากมีสัญญาใดที่ทำไว้โดยมีรายละเอียดและข้อบังคับที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ก็ให้นำสัญญานั้นมาใช้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อข้อกฎหมายเท่านั้นได้
ด้วยเหตุนี้ ท่านใดที่ทำสัญญาต่างๆไว้คงจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบให้มากขึ้นนะครับ เพราะหากเกิดความผิดพลาดหรือเกิดข้อบกพร่องใดๆแล้วอาจจะส่งผลร้ายต่อทรัพย์สินของท่านเองได้

กฎหมายหน้ารู้

ลาป่วย ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง

📌ลาป่วย ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง

#นายจ้างมีสิทธิ์ตัดเงินเดือนได้หรือไม่?

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 32 ถ้าภายในการทำงาน 1 ปี หากลูกจ้างสุขภาพไม่ดี และมีอาการเจ็บป่วยจริง ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิ์
ลางานได้ตามความเป็นจริง โดยตลอดระยะเวลาที่ป่วย ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย

แต่ทั้งนี้ภายใน 1 ปี การลาป่วยต้องไม่เกินกว่า 30 วัน
กรณีหากการลาป่วยหรืออาการป่วยนาน ติดต่อเกินกว่า 30 วัน ในส่วนวันที่เกินจะไม่ได้รับค่าจ้าง

และหากลูกจ้างไม่สบาย และลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ขอดูใบรับรองแพทย์ได้ โดยต้องแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ
__________________________
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี‼️

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานการกู้เงิน

ฎีกาที่ 4537/2553
ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า “ การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ”
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม และปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ถูกต้อง แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงถือว่าเป็นหลักแห่งการกู้ยืมและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

หลักประกันที่ใช้ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวทุกชั้นศาล

กรณีใช้เงินสดหรือทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันมีอะไรการทรัพย์สินดังต่อไปนี้

  1. เงินสด
  2. หลักทรัพย์อื่นๆ เช่น

       2.1)  ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

       2.2) พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมสินทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ตัวเลขเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว  หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย(แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว

  1.   เงินฝากธนาคาร
  2.   หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
  3. หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
  4. บางศาลเคยพิจารณาอนุญาตให้ใช้สิ่งต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์ เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์  ที่ดินมีเอกสาร บท. 5 , สค 1 , นศ 2 หรือ สปก  , บ้านพักอาศัย , ทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382  สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี  หมายความถึง  บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล  กล่าวคือ  ยังอยู่ในชั้นของตำรวจ (พนักงานสอบสวน) และพนักงานอัยการ   ส่วนจำเลย  หมายถึง  บุคคลซึ่งถูกฟ้องศาลแล้ว  โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิดและศาลรับฟ้องอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาลแล้ว

ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย   อันได้แก่  บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีภรรยา  ญาติพี่น้อง  ผู้ปกครอง  ผู้บังคับบัญชา  นายจ้าง  ทนายความ  บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส  บุคคลที่เจ้าพนักงาน  พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่เจ้าพนักงานหรือการเห็นสมควรซึ่งต้องมีความสำคัญเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

1. บุคคลธรรมดา ต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมายที่จะทำนิติกรรมสัญญาได้  ดังนั้น บุคคลวิกลจริต  บุคคลไร้ความสามารถ  และบุคคลเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้

 

2. นิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวได้  ยกตัวอย่างเช่น  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด  บริษัทมหาชนจำกัด  แต่ต้องเป็นในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการผู้แทน  ตัวแทน  หุ้นส่วน  พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น  หากไม่เกี่ยวข้องดังกล่าว  นิติบุคคลนั้นก็ต้องมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ  ต้องจดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ในการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาได้  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทประกันและต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนายทะเบียนประกอบด้วย

 

3. บุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกในกรณีอื่น เช่น  ศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล  หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล  หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุจงใจขัดขืนคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 300  เป็นต้น  บุคคลเช่นว่านั้นมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือขอประกันตัวได้

 

4. ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด   ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ 2545  และผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอันได้แก่  บิดา มารดา สามี ภรรยา ปู่ ย่า ตา ยาย  ป้า น้า อา นายจ้าง  ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ  หรือบุคคลที่บิดามารดายินยอมให้เป็นผู้ปกครองดำเนินการแทน  มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นเข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือในชั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ได้

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์      https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว

ตัวอย่างที่ 1 สิทธิของผู้ถูกควบคุมขังโดยผิดกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัว

คำพิพากษาฎีกาที่ 4827/2550 ได้วางแนวเอาไว้ว่า   สิทธิ์ของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 90 นั้น  มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกควบคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น   ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว  พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว  โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้  กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้ว  ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้  หากการจับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง   ด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายในเรื่องนั้นๆต่อไป  ทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่า   เจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น  ก็ไม่ใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90 เช่นกัน  พูดแล้วไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเป็นคดีนี้

 

ตัวอย่างที่ 2  กรณีนิติบุคคลตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย  จะค้างหรือปล่อยชั่วคราวผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ปราณนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้และไม่ถือว่าเป็นการจัดที่จะได้รับรางวัลนำจับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 3117/2533   ได้ระบุรายละเอียดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า   โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อพ.ร.บศุลกากร  คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ขอเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม  ดังนี้  กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคลนั้น   ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี   ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้  แต่จะขังหรือปล่อยตัวชั่วคราว  ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ตอนนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้  ขอให้ใช้วิธีการกรอกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี

การที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้ว  แจ้งข้อกล่าวหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด  จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย  ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพศ 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า  “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง  อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง  และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น   เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่   ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย”

        ด้วยเหตุที่คดีอาญา เป็นคดีความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น  ทั้งต่อประชาชนด้วยกันและต่อรัฐ  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  รัฐในฐานะผู้ปกครองจำต้องเข้าไปเกี่ยวกล้องกับบุคคลในทางชีวิตร่างกายและเสรีภาพของบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกายและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย

       แต่ด้วยเหตุที่รัฐเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  และฉันต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน   ดังนั้นการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรจึงต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของประชาชน

       ในการดำเนินคดีอาญานั้น  การควบคุมตัวระหว่างดำเนินคดี  จึงเป็นเรื่องของข้อยกเว้น  กล่าวคือ  โดยหลักจะต้องไม่ควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในอำนาจรัฐ  เว้นแต่  จะมีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้  และในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้ในระหว่างคดีนี้  อาจมีการพิจารณาอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวได้  ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอปล่อยตัวชั่วคราวไว้ในมาตรา 106  ถึงมาตรา 119 ทวิ  ในปัจจุบันได้มีบัญญัติในมาตรา 107 บัญญัติรับรองสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในการขอปล่อยตัวชั่วคราว   เมื่อได้รับคำร้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้เปิดตัวชั่วคราว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์  https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้