ความหมายของสัญญาจ้างทำของ

ความหมายของสัญญาจ้างทำของ https://www.funpizza.net/

            สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้

สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน https://www.highlandstheatre.com/

           กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกันสัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ    กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง https://www.sushitokyo.net/

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดี

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดี

ก่อนที่ท่านจะเข้าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ท่านควรตรวจสอบรายละเอียดของทรัพย์ที่ท่านสนใจก่อน โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดจากประกาศขายทอดตลาด ซึ่งระบุรายละเอียด ประเภทของทรัพย์ที่ตั้งวัน เวลา สถานที่ที่จะทำ การขายทอดตลาด เงื่อนไขในการเข้าสู้ราคา ข้อสัญญาคำ เตือนผู้ซื้อและแผนที่การไปที่ปรากฏ

ในประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์นั้นโดยละเอียดครบถ้วน  ผู้ประสงค์จะเข้าสู้ราคาต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็ค โดยสั่งจ่ายสำ นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ถึง 6 หรือสำ นักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เป็นจำ นวนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง กำ หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการขายทอดตลาดต่อไป เว้นแต่ ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทน หรือคู่สมรสที่ศาลมีคำ สั่งอนุญาต

ให้กันส่วนแล้ว และต้องทำ สัญญาหรือข้อตกลงผูกพันกับกรมบังคับคดีในการเสนอราคา มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าสู้ราคา

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

วิธีดำเนินการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย

วิธีดำเนินการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย

                 การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ให้นำหมวดที่ ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม     เมื่อได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ทำการยึดทรัพย์ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง ดำเนินการยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั่วไป

                ถ้าผู้นำยึดในคดีล้มละลายไม่จัดการนำยึดทรัพย์ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่กองบังคับคดีแพ่งได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบทั้งนี้ไม่กินความถึงทรัพย์ที่มีเจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกัน เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ติดการจำนอง เป็นต้น

               ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือ ของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ ในคดีล้มละลาย ในการยึดทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้หรือที่ลูกหนี้ได้ครอบครองอยู่ และมีอำนาจหักพังเข้าไปในสถานที่นั้น ๆ รวมทั้งเปิดตู้นิรภัย ตู้ หรือ ที่เก็บของอื่น ๆ ตามที่จำเป็น

               ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีสงสัยว่าจะมีทรัพย์สินของลูกหนี้ซุกซ่อนอยู่ในเรือนโรงเคหสถาน หรือสถานที่อื่นอันมิใช่เป็นของลูกหนี้ ให้รายงานต่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง เพื่อแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอหมายค้นจากศาลต่อไป

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

ในคดีอาญาซึ่งจำเลยไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเมื่อศาลส่งหมายบังคับคดีมายังกรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดแล้ว     ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว ดำเนินการตามหมายบังคับคดีนั้น และให้นำหมวด ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับคดีโดยอนุโลม     สำหรับกรณีเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เบิกจากงบประมาณของกรมบังคับคดี

ถ้าหมายบังคับคดีของศาลมิได้กำหนดผู้นำยึดก็ดี หรือกำหนดผู้นำยึดก็ดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชักช้า หากไม่สามารถทำการยึดด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

       เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหมายบังคับคดี หรือตามคำสั่งของศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายได้แต่ภายในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรือมีคำสั่ง หรือขอบอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์      กรณีถ้าจะต้องบังคับคดีนอกเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานพร้อมส่งหมายที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแทน

       เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีหรือคำสั่งของศาล หรือการมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการตามหมายบังคับคดี หรือ คำสั่ง หรือการมอบหมายนั้นภายในเวลาอันสมควร  

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

อายุความคดีเช่าซื้อ

อายุความคดีเช่าซื้อ

     1. อายุความสัญญาเช่าซื้อ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 https://www.sushitokyo.net/

     2. อายุความค่าขาดประโยชน์ ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง มีอายุความ 6 เดือน หลังสัญญาสิ้นสุดแล้ว มีอายุความ 10 ปี

     3. อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความ 2 ปี

     4. อายุความฟ้องเรียกค่าขายรถขาดทุน มีอายุความ 10 ปี

     5. อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์แทน มีอายุความ 10 ปี

     6. อายุความฟ้องเรียกรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืน ตามมาตรา 1336 ไม่มีอายุความ

ติดตามคืนได้ตลอด แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว หรือตกเป็นของผู้อื่นแล้ว

ตามการครอบครองปรปักษ์ ก็ฟ้องติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไม่ได้ (ต้องนำสืบถึงเจตนาที่เราต้องการ

เป็นเจ้าของอย่างเปิดเผยด้วย) https://www.funpizza.net/

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ Tel. 02-1217414, 091-0473382 https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

        ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของ และหากไฟแนนซ์รับรถยนต์คันเช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามสัญญา ผู้เช่าซื้อไม่จำต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าขาดราคานั้น   ถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลังหาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

Tel. 02-1217414, 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับผิดเอารถเช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อ

         มาตรา ๔๕๓ การซื้อขายทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๓)
        มาตรา ๗๔๗ การจำนำ คือ การที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
เมื่อการขายทรัพย์สินเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ และการจำนำคือการนำทรัพย์สินของตนเองให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ประทาน แต่ทั้งนี้เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นยังมิใช่กรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ ตามหลักผู้เช่าซื้อจึงไม่อาจนำรถยนต์คันเช่าซื้อไปจำนำหรือขายต่อให้แก่บุคคลภายนอกได้
       การที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อนั้น ไฟแนนซ์สามารถเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ 2 ราย คือ
1.) ผู้เช่าซื้อ ทางอาญา เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทางแพ่ง เป็นการผิดสัญญาและสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที https://www.funpizza.net/
2.) ผู้รับซื้อหรือรับจำนำ มีความผิดฐานรับของโจร
– รถอยู่ระหว่างผ่อน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ขายรถได้ไหม
ไม่ได้ เพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เว้นแต่เป็นการขายดาวน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2550 ป.พ.พ. มาตรา 572 เช่าซื้อคือสัญญาซึ่ง “เจ้าของ” เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งผู้มีอำนาจทำสัญญาจึงต้องเป็น “เจ้าของ” แต่โดยสภาพของสัญญาเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมจะโอนไปยังผู้เช่าซื้อในอนาคต หาได้โอนกรรมสิทธิ์ในทันทีขณะทำสัญญาไม่ “เจ้าของ” จึงหมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขณะทำสัญญาเช่าซื้อและหมายรวมถึงผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในอนาคตโดยชอบด้วย เมื่อ ค. ได้ซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาทมาจาก ห. โดย ห. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจโอนลอยทางทะเบียนให้ ค. ไว้แล้ว เพียงจะนำไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดย ค. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ด้วย เท่ากับว่าจะโอนเป็นชื่อของบริษัทโจทก์เมื่อใดก็ได้ ต่อมาโจทก์ได้ให้ ห. เช่าซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาท และ ห. นำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย ดังนั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็น “เจ้าของ” รถแทรกเตอร์คันพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อได้ สัญญาเช่าซื้อจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ห. ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยไม่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แต่กลับนำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดรถแทรกเตอร์คันพิพาทไว้จำต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

        กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด https://www.sushitokyo.net/

       ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้ เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้ https://www.funpizza.net/
https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

        ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ(มาตรา 39)ฎีกา 6458-6461/2544

แม้พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 39จะใช้คำว่า ”  ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท”

ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

ที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว   ก็ถือว่าศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้