โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

        ศาลทำการไกล่เกลี่ย(conciliate /mediate)คู่ความทั้งสองฝ่าย อาจไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย

หรือต่อหน้าแต่ละฝ่าย (มาตรา 38,43 ) ฎีกา  6630/2542  คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้

ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง  เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงาน

ได้ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยเป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือตามพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

——————————————————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

         ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระ 2 งวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       เว้นแต่ถ้าสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวก็ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อ ให้เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงเช่นนี้มีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้นหากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินเพียงงวดเดียวผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       การผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่ อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้

กฎหมายหน้ารู้

ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

            ก่อนขายรถยนต์หรือจักรยานยนต์คันเช่าซื้อ ไฟแนนซ์ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน ทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อสามารถซื้อรถยนต์คืนได้ในราคาที่ค้างชำระ

            หลังจากขายแล้ว ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบว่า ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ราคาเท่าไหร ยังเหลือหนี้อยู่อีกเท่าไหร หรือขายได้กำไรกี่บาท ภายใน 15 วัน นับจากวันขายทอดตลาด

            หากทางผู้ให้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าไม่แจ้งให้ทราบตามกฎหมาย ก็เรียกค่าเสียหาย ค่าขาดราคารถไม่ได้ ยกเว้นจะระบุไว้ในสัญญา

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

            การปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

           ประเภทที่ 1) การขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

          ประเภทที่ 2) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยก่อนปล่อยไปผู้ประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน การขอปล่อยชั่วคราว (การขอประกันตัว)

          ประเภทที่3 ) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันต้องลงลายมือในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล และมีการวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน

กฎหมายหน้ารู้

เหตุของการหย่า

เหตุของการหย่า

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การละทิ้งร้าง คือ การแยกกันอยู่ต่างหากโดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่ออีกฝ่าย
การละทิ้งร้างจะสิ้นสุดลงเมื่อกรณีที่ฝ่ายที่ละทิ้งร้างได้แสดงเจตจำนงว่าจะกลับมาอยู่กินกันใหม่

– สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำที่ขัดขวางต่อการที่ชายหรือหญิงจะดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างปกติสุขและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรืออนามัยของคู่สมรสอีกฝ่ายนั้นด้วย

– สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทัณฑ์บนตามอนุมาตรานี้ เป็นทัณฑ์บนเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติเท่านั้น ซึ่งเป็นบันทึกข้อความของฝ่ายที่ให้ทัณฑ์บนไว้พร้อมลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวก็สามารถบังคับได้ เมื่อได้มีการทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือแล้วนั้นห้ามมิให้มีการยกเลิกในภายหลัง

ขอรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น  /ฟรี 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๗๐ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(๓) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๙๐ หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

(๑)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

(๒) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

(๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน

(๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน

กฎหมายหน้ารู้

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส
มาตรา ๑๔๗๓ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(๔) ให้กู้ยืมเงิน
(๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๖) ประนีประนอมยอมความ
(๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายหน้ารู้

ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่งต่อศาล

            ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น การถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลในคดีแพ่งจะมีความสำคัญต่อเรื่องของยอดเงินและความรับผิดชอบหรือค่าเสียหายที่จะต้องรับผิดชอบต่อคู่ความอีกฝ่ายว่าฝ่ายที่ถูกฟ้องจะต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายโจทก์ในคดีแพ่งมากน้อยแค่ไหนเพียงใด
ส่วนกรณีหากท่านใดถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ก็มีผลว่าคดีดังกล่าวจะต้องรับโทษทางอาญา มากน้อยแค่ไหนเพียงใด เช่น โทษจำคุก โทษปรับ กักขัง
เพราะฉะนั้นหากท่านใดมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคดีความดังกล่าวข้างต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านเกิดความเสียเปรียบ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรูปคดี รวมทั้งเพื่อการเตรียมพร้อมหรือการเตรียมตัวก่อนขึ้นศาล ทนายแนะนำว่า ท่านที่มีปัญหาดังกล่าวสมควรติดต่อและเข้าพบทนายความเพื่อขอรับคำปรึกษา หรือขอรับคำแนะนำ เพื่อรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้
           ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าว ถือว่าเป็นขั้นตอนขั้นต้นในการแก้ไขปัญหาคดีความที่เกิดขึ้นต่อกันได้ หรือเรียกว่าเป็นบันไดขั้นที่ 1

กฎหมายหน้ารู้

ตั้งเรื่องฟ้องได้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

“ตั้งเรื่องฟ้องได้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”

       ก่อนการยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลในคดีแพ่ง ทนายความควรตระเตรียมรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน รอบคอบ ให้มากที่สุด ดังนี้

          – ต้องตรวจสอบ สถานะของคู่ความ (ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย)

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องตรวจสอบว่ามีความสามารถในการใช้สิทธิทางศาลหรือไม่ กล่าวคือ ต้องมีสภาพบุคคล และมีรายละเอียดทางประวัติ เช่น  ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ วันเดือนปีเกิด เชื้อชาติ สัญชาติ ครอบครัว อาชีพ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และ เป็นผู้เยาว์ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไม่ ฯลฯ กรณีนิติบุคคล  ก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ในเรื่องหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เพื่อดูอำนาจของกรรมการ หรือ ผู้จัดการ ว่ามีอำนาจจัดการแทนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น หรือไม่ เพราะจะมีผลเกี่ยวโยงไปถึงเรื่อง อำนาจฟ้อง และ เขตอำนาจศาล

         – ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในคดี โดยสอบจาก โจทก์(ลูกความ) และ พยานบุคคล พยานเอกสาร ที่โจทก์ อ้างถึง พิจารณาเรื่องราว ต่าง ๆ

ที่ทำให้เกิดการโต้แย้งสิทธิ์ และ โจทก์ มีความเดือดร้อนอย่างไร มีความเสียหายประการใดบ้าง

         – ตรวจสอบว่า มีประเด็นข้อพิพาทกี่ประเด็น  และ ประเด็นต่างๆ เหล่านั้น มีหลักกฎหมาย เรื่องใดสนับสนุน และ สามรถนำมา

ปรับใช้กับ ข้อเท็จจริง ในคดีได้

       – ตรวจสอบเรื่อง เขตอำนาจศาล ว่าคำฟ้องนั้นๆ ควรยื่นฟ้องต่อศาลใด เช่น ยื่นฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา , ยื่นฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิด

แต่ถ้าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ก็ให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้น ตั้งอยู่

       – ตรวจสอบ หลักกฎหมาย ว่า โจทก์ต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนฟ้องหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์ จึงจะมาฟ้องคดีได้ เช่น การฟ้องบังคับจำนอง มีกฎหมายกำหนดว่า ผู้รับจำนอง ต้องมีจดหมายบอกกล่าว

ไปยังลูกหนี้ ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวนั้น  ผู้รับจำนอง จึงจะมาฟ้องคดีได้

     – ตรวจสอบ อายุความ ในเรื่องที่จะฟ้องให้ชัดเจน เช่น การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ฐานละเมิด นั้นมีอายุความ 1 ปี

นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ

ก็สามารถใช้อายุความโดยทั่วไปได้ คือ 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องได้

     – การคำนวณ ทุนทรัพย์  การดำเนินคดีในศาลนั้น ฝ่ายโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องคดี  คดีที่มีทุนทรัพย์สูง

ค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดีก็จะสูงตามไปด้วย แต่หากคิดคำนวณ ตั้งทุนทรัพย์ ต่ำๆ เพื่อหวังลดค่าใช้จ่าย ก็อาจมีผลเสีย บางประการ เช่น

หากโจทก์ แพ้คดีในศาลชั้นต้น แล้วทุนทรัพย์ ต่ำเกินไป ก็อาจทำให้โจทก์เสียสิทธิ การขอ อุทธรณ์ ฎีกา    ดังนั้น ควรคิดคำนวณทุนทรัพย์ ให้ดีๆ

     – การแจ้งความประสงค์ ของโจทก์ว่า จะขอให้ศาลช่วย เรื่องใด อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็น บทสรุป โดยทำเป็น  “คำขอท้ายฟ้อง”

(ใช้แบบพิมพ์ของศาล) หากไม่มี คำขอท้ายฟ้อง ศาลก็จะไม่สามารถบังคับตัดสินคดีให้ได้ เพราะมีหลักกฎหมาย ห้ามมิให้ศาล พิพากษาเกินคำขอ

***หากทำได้ครบถ้วนตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การตั้งเรื่องฟ้อง ก็จะหนักแน่น รัดกุม ทำให้มีโอกาสได้รับชัยชนะ สูง***

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมเรื่องก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล

การเตรียมเรื่องก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล

            เมื่อลูกความมีความประสงค์ที่จะฟ้องคดีและให้ทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ลูกความและทนายความจะต้องจัดเตรียมเรื่องอย่างไรและมีความมุ่งหมายอย่างไรในคดีแพ่งมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

            1.ทนายความต้องประชุมกับลูกความเพื่อสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุอื่นๆที่จะทำให้ทนายความทราบและวินิจฉัยเบี้องต้นในข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินคดีว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด

            2.เมื่อทนายความทราบถึงข้อเท็จจริงและเหตุผลแล้วขั้นตอนต่อไป คือการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่กับตัวลูกความเองและพยานหลักฐานอื่นที่ทนายความจะต้องไปเสาะแสวงหาจากหน่วยงานราชการอื่นหรืองค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นและสถานที่อื่นบางคดีอาจต้องลงพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อถ่ายรูปและเก็บข้อมูลรวมถึงทำแผนที่เพื่อจัดเตรียมนำเสนอต่อศาลในลำดับถัดไป

            3.เมื่อพยานหลักฐานพร้อมแล้ว ทนายความจะต้องนัดหมายลูกความเพื่อรายงานให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานและความคืบหน้าในการดำเนินคดีพร้อมทั้งอธิบายถึงทางได้ทางเสียที่ลูกความจะได้รับในการดำเนินคดีทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระและการตกลงใจพร้อมกับลงลายมือชื่อในอกสารต่างๆที่ทนายความได้จัดทำมา

การเตรียมคดีในคดีอาญากล่าวคือ เมื่อลูกความตัดสินใจที่จะฟ้องร้องคดีอาญาต่อบุคคลอื่นเมื่อทนายความประชุมสอบข้อเท็จจริงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกคือ การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โดยลูกความต้องไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดหรือเป็นฝ่ายก่อให้เกิดการกระทำผิดนั้นขึ้นมาเอง ประการต่อมาคืออายุความฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 และประการต่อมาคือให้พิจารณาถึงเขตอำนาจศาลตามกฎหมายซึ่งในคดีอาญานั้นสถานที่เกิดเหตุถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่ศาลจะรับคดีเอาไว้พิจารณาหรือไม่ เมื่อเงื่อนไขตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว ทนายความจึงดำเนินการฟ้องคดีอาญาให้กับท่านได้ต่อไป

กฎหมายหน้ารู้