อายุความคดีเช่าซื้อ

อายุความคดีเช่าซื้อ

     1. อายุความสัญญาเช่าซื้อ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 https://www.sushitokyo.net/

     2. อายุความค่าขาดประโยชน์ ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง มีอายุความ 6 เดือน หลังสัญญาสิ้นสุดแล้ว มีอายุความ 10 ปี

     3. อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความ 2 ปี

     4. อายุความฟ้องเรียกค่าขายรถขาดทุน มีอายุความ 10 ปี

     5. อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์แทน มีอายุความ 10 ปี

     6. อายุความฟ้องเรียกรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืน ตามมาตรา 1336 ไม่มีอายุความ

ติดตามคืนได้ตลอด แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว หรือตกเป็นของผู้อื่นแล้ว

ตามการครอบครองปรปักษ์ ก็ฟ้องติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไม่ได้ (ต้องนำสืบถึงเจตนาที่เราต้องการ

เป็นเจ้าของอย่างเปิดเผยด้วย) https://www.funpizza.net/

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ Tel. 02-1217414, 091-0473382 https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

        ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของ และหากไฟแนนซ์รับรถยนต์คันเช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามสัญญา ผู้เช่าซื้อไม่จำต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าขาดราคานั้น   ถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลังหาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

Tel. 02-1217414, 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับผิดเอารถเช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อ

         มาตรา ๔๕๓ การซื้อขายทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๓)
        มาตรา ๗๔๗ การจำนำ คือ การที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
เมื่อการขายทรัพย์สินเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ และการจำนำคือการนำทรัพย์สินของตนเองให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ประทาน แต่ทั้งนี้เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นยังมิใช่กรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ ตามหลักผู้เช่าซื้อจึงไม่อาจนำรถยนต์คันเช่าซื้อไปจำนำหรือขายต่อให้แก่บุคคลภายนอกได้
       การที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อนั้น ไฟแนนซ์สามารถเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ 2 ราย คือ
1.) ผู้เช่าซื้อ ทางอาญา เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทางแพ่ง เป็นการผิดสัญญาและสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที https://www.funpizza.net/
2.) ผู้รับซื้อหรือรับจำนำ มีความผิดฐานรับของโจร
– รถอยู่ระหว่างผ่อน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ขายรถได้ไหม
ไม่ได้ เพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เว้นแต่เป็นการขายดาวน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2550 ป.พ.พ. มาตรา 572 เช่าซื้อคือสัญญาซึ่ง “เจ้าของ” เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งผู้มีอำนาจทำสัญญาจึงต้องเป็น “เจ้าของ” แต่โดยสภาพของสัญญาเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมจะโอนไปยังผู้เช่าซื้อในอนาคต หาได้โอนกรรมสิทธิ์ในทันทีขณะทำสัญญาไม่ “เจ้าของ” จึงหมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขณะทำสัญญาเช่าซื้อและหมายรวมถึงผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในอนาคตโดยชอบด้วย เมื่อ ค. ได้ซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาทมาจาก ห. โดย ห. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจโอนลอยทางทะเบียนให้ ค. ไว้แล้ว เพียงจะนำไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดย ค. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ด้วย เท่ากับว่าจะโอนเป็นชื่อของบริษัทโจทก์เมื่อใดก็ได้ ต่อมาโจทก์ได้ให้ ห. เช่าซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาท และ ห. นำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย ดังนั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็น “เจ้าของ” รถแทรกเตอร์คันพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อได้ สัญญาเช่าซื้อจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ห. ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยไม่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แต่กลับนำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดรถแทรกเตอร์คันพิพาทไว้จำต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

        กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด https://www.sushitokyo.net/

       ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้ เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้ https://www.funpizza.net/
https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

หากคดีตกลงกันไม่ได้ในคดีแรงงาน

        ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ(มาตรา 39)ฎีกา 6458-6461/2544

แม้พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 39จะใช้คำว่า ”  ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท”

ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

ที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว   ก็ถือว่าศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

โจทก์และจำเลยมาศาลในคดีแรงงาน

        ศาลทำการไกล่เกลี่ย(conciliate /mediate)คู่ความทั้งสองฝ่าย อาจไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย

หรือต่อหน้าแต่ละฝ่าย (มาตรา 38,43 ) ฎีกา  6630/2542  คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้

ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง  เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงาน

ได้ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยเป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือตามพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

——————————————————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

         ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระ 2 งวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       เว้นแต่ถ้าสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวก็ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อ ให้เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงเช่นนี้มีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้นหากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินเพียงงวดเดียวผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       การผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่ อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้

กฎหมายหน้ารู้

ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

            ก่อนขายรถยนต์หรือจักรยานยนต์คันเช่าซื้อ ไฟแนนซ์ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน ทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อสามารถซื้อรถยนต์คืนได้ในราคาที่ค้างชำระ

            หลังจากขายแล้ว ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบว่า ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ราคาเท่าไหร ยังเหลือหนี้อยู่อีกเท่าไหร หรือขายได้กำไรกี่บาท ภายใน 15 วัน นับจากวันขายทอดตลาด

            หากทางผู้ให้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าไม่แจ้งให้ทราบตามกฎหมาย ก็เรียกค่าเสียหาย ค่าขาดราคารถไม่ได้ ยกเว้นจะระบุไว้ในสัญญา

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

            การปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

           ประเภทที่ 1) การขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

          ประเภทที่ 2) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยก่อนปล่อยไปผู้ประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน การขอปล่อยชั่วคราว (การขอประกันตัว)

          ประเภทที่3 ) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันต้องลงลายมือในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล และมีการวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน

กฎหมายหน้ารู้

เหตุของการหย่า

เหตุของการหย่า

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การละทิ้งร้าง คือ การแยกกันอยู่ต่างหากโดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่ออีกฝ่าย
การละทิ้งร้างจะสิ้นสุดลงเมื่อกรณีที่ฝ่ายที่ละทิ้งร้างได้แสดงเจตจำนงว่าจะกลับมาอยู่กินกันใหม่

– สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำที่ขัดขวางต่อการที่ชายหรือหญิงจะดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างปกติสุขและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรืออนามัยของคู่สมรสอีกฝ่ายนั้นด้วย

– สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทัณฑ์บนตามอนุมาตรานี้ เป็นทัณฑ์บนเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติเท่านั้น ซึ่งเป็นบันทึกข้อความของฝ่ายที่ให้ทัณฑ์บนไว้พร้อมลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวก็สามารถบังคับได้ เมื่อได้มีการทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือแล้วนั้นห้ามมิให้มีการยกเลิกในภายหลัง

ขอรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น  /ฟรี 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้