การใช้ทนายความขึ้นศาล

การใช้ทนายความขึ้นศาล       

ทนายความ คือ ผู้มีอาชีพรับจ้าง เหมือนผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างทั่วไป ซึ่งหากแปลให้ตรงตัวคือผู้รับใช้   แต่ที่ต่างกันกับอาชีพอื่นคือทนายความต้องมีใบอนุญาตให้ว่าความในเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ซึ่งออกโดยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นองค์กรที่กำกับ ควบคุมคุมมาตรฐาน และ มรรยาท ซึ่งหากสมาชิกคนใดก็ตามที่ประพฤติปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็อาจจะถูกเพิกถอน หรือพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งส่งผลให้คนนั้นไม่มีสิทธิขึ้นว่าความในศาลได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นทนายความในประเทศไทยได้จึงต้องได้ใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่านั้น จะได้รับใบอนุญาตจากประเทศอื่นก็ไม่สามารถขึ้นว่าความในศาลไทยได้เช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าทนายความเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง ประเภทหนึ่ง ดังนั้นเมื้อทนายความคนใดก็ตามตกลงรับทำงานในเรื่องใดก็ตามจึงต้องรับผิดชอบจนเสร็จงานของแต่ชั้นศาล หากทอดทิ้งงานก็อาจจะถูกลงโทษ

ทนายความจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการแต่งทนายความให้ทำงานโดยผู้อื่นซึ่งอาจเป็น โจทก์ หรือ จำเลยในคดีใดๆและต้องลงลายมือชื่อผู้แต่งทนายความ ในแบบพิมพ์ของศาล จึงจะสามารถดำเนินคดีในฐานะโจทก์ หรือ จำเลย ได้ โดยตรงช่องผู้แต่งทนายความ จะมีข้อความระบุว่ายอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ สละสิทธิหรือใช้สิทธิ ในการอุทธรณ์ฎีกาหรือการพิจารณาคดีใหม่..สำหรับคดีแพ่งและอาญาหรือล้มละลาย ส่วนคดีอาญา อาจพิมพ์คำว่า “ว่าต่างและแก้ต่าง อุทธรณ์ฎีกา” ก็สามารถระบุได้

ส่วนอัตราค่าตอบแทนวิชาชีพหรือการจ้างทนายความให้ทำงานแทนนั้นแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคนจ้าง กับ ทนายความ ไม่มีกำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นมาตรฐานชัดเจน แน่นอนกำกับไว้ ดังนั้นการจ้างทนายความจึงเป็นดุลพินิจของผู้จ้างที่จะเลือกจ้างได้ตามความประสงค์และตามอัธยาศัย

การใช้หรือจ้างทนายความไปศาลเพื่อดำเนินการในภารกิจแทนตัวความจึงเป็นการสะดวก ลดภาระงานสำหรับผู้มีคดีความที่ศาล และการหาทนายความทุกวันนี้ ก็ง่ายมาก เพราะทนายความมีอยู่ทั่วทุกจังหวัด ทุกอำเภอหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าทนายความมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกตำบลทุกหมู่บ้าน นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีคดีความทั่วไป

กฎหมายหน้ารู้

บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี

”  บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี “

หนังสือบอกกล่าวก่อนฟ้อง คือ เอกสาร ที่เจ้าหนี้ หรือ ผู้ที่จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย ใช้นำส่งไปยังลูกหนี้ หรือ คู่กรณี https://www.funpizza.net/

เอกสารนี้เรียกว่า “หนังสือบอกกล่าวทวงถาม”     โดยในเนื้อหาต้องมีการกล่าวถึง นิติสัมพันธ์ต่อกันว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร และ แจ้งเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ์หน้าที่ๆพึงมีต่อกัน และสุดท้ายผู้บอกกล่าว ต้องแจ้งไปว่า มีความประสงค์อย่างใด ต้องการอะไร ให้ชัดเจน

รายละเอียดที่ปรากฎในหนังสือควรแจ้งให้คู่กรณีทราบข้อเรียกร้อง และ คู่กรณีมีหน้าที่ จะต้องกระทำการ หรือ ละเว้นกระทำการอะไรบ้าง  และ แจ้งให้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควร   เช่น ให้คู่กรณี ชำระเงิน , โอนทรัพย์สิน หรือ ปฏิบัติตามสัญญา  เป็นต้น    หากคู่กรณีไม่ ปฏิบัติตาม หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ผู้บอกกล่าว ก็จะใช้สิทธิ์ ฟ้องร้องดำเนินคดี ทางกฎหมายต่อไป   โดยทางคู่กรณี จะต้องไปขึ้นศาล เสียเงิน เสียเวลา  เสียค่าทนายความ  และ มีค่าใช้จ่าย ต่างๆ นาๆ นำมาซึ่งความเดือดร้อน หลายประการ https://www.highlandstheatre.com/

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังคู่กรณี นั้้น ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่อาจทำให้เกิดการเจรจาในเบื้องต้น  และ เปิดทางให้มีโอกาสในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  ซึ่งอาจจะจบลงได้ ก่อนนำคดี ไปสู่ ศาลคดีความ โดยส่วนใหญ่นั้น กฎหมาย ไม่ได้กำหนดว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม     แต่มีคดีบางประเภท ที่กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี    เช่น

-คดีการฟ้องบังคับจำนอง

-คดีการฟ้องผู้ค้ำประกัน

-คดีการใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญา ก่อนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นต้น

ในคดีต่าง ๆ เหล่านี้ หากไม่มีการ ยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก็จะนำคดีมาฟ้องร้อง ต่อศาล ไม่ได้

กรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ ที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม เช่น กรณีขับรถยนต์ชนผู้เสียหาย(คดีละเมิด) ตัวผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ประโยชน์ของการยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

มีหลายประการ เช่น   ทำให้เกิดการเจรจาและสามารถจบเรื่องกันได้โดยไม่ต้องขึ้นสู่ศาลแสดงให้ศาลเห็นถึงเจตนาบริสุทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ในด้านการพยายามไกล่เกลี่ยหาทางออกและให้โอกาสคู่กรณีอย่างเต็มที่แล้วและสามารถใช้ หนังสือบอกกล่าวทวงถาม อ้างอิงเป็นหลักฐาน ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ถ้ามีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์ ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามมีข้อควร พิจารนาเพิ่มเติม ดังนี้

แม้ตามหลักกฎหมายจะไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าพิจารนาจากรูปคดีแล้ว มีแนวโน้มว่าเจรจาตกลงกันได้ ก่อนขึ้นสู่ศาล ก็ควรยื่น หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง     อีกกรณีที่แม้กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่เพื่อป้องกัน ข้อโต้แย้ง จากคู่กรณีในภายหลัง โดยให้ คู่กรณีปฏิบัติตามหน้าที่ก่อน และให้โอกาสตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา อย่างเหมาะสม โดยแจ้งไปในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม นั้นผู้ฟ้องคดี สามารถทำเองได้    แต่ในทางปฏิบัติ ทนายความจะทำได้ถูกต้อง มีเนื้อหาข้อความ รัดกุมดีกว่า และ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้คู่กรณี เกิดความยำเกรง มากกว่า

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าว  สามารถสอบถามปัญหาดังกล่าวกับเราได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 02-1217414 ,091-0473382 สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์   https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

กฎหมายหน้ารู้

ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

#ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

มาตรการการยึดทรัพย์บังคับคดีกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในชั้นบังคับคดี  ถือว่าเป็นขั้นตอนปลายทางแล้วที่เป็นทางออกสุดท้ายที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับเงินชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำการยึดหรืออายัดเพื่อนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินมาแล้ว

ดังนั้น หากลูกหนี้คนใดที่ถูกเจ้าหนี้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะผ่อนชำระหนี้ต่อไปนั้น  เป็นเรื่องที่ฝ่ายเจ้าหนี้จะต้องให้การยินยอมในเรื่องดังกล่าวนี้ก่อนเสมอ    ส่วนในทัศนะของทนายความเห็นว่า   การขอลดหย่อนผ่อนหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกขั้นตอน  ไม่ว่าคดีความดังกล่าวอยู่ในชั้นพิจารณาใดก็ตาม  เพราะหากลูกหนี้กับเจ้าหนี้สามารถพูดคุยกันได้  เรื่องทุกๆอย่างที่มีข้อพิพาทต่อกันก็ถือเป็นอันยุติได้โดยทันที

แต่ปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้  ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายเจ้าหนี้ยอมรับเงื่อนไขกับที่ลูกหนี้ได้เสนอไปแล้วหรือไม่  ปกติในชั้นบังคับคดีเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้เพียงแค่การผลัดจ่ายหนี้ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆเพียงเท่านั้น  อาจจะขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนเหมือนในชั้นพิจารณาของศาล  ปกติเจ้าหนี้จะไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้   เพราะหากรับเงื่อนไขนี้ได้ก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องนำทรัพย์สินของลูกหนี้มายึดขายทอดตลาด

ปกติหากเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้แล้วในชั้นบังคับคดี   เมื่อเจ้าหนี้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้เป็นแบบคราวเดียว  ได้เงินชำระหนี้เป็นก้อนเดียว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้มีการผ่อนชำระเป็นคราวๆไป

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในชั้นบังคับคดี ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

ปกติหากลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน  นับแต่ทราบผลคำพิพากษาของศาลแล้ว   หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ได้   และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาบังคับชำระหนี้ได้

ในกรณีที่ล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  เจ้าหนี้ท่านใดที่ยังไม่ได้รับเงินชำระหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้แล้ว  ท่านสามารถเริ่มต้นจากการสืบหาทรัพย์สินที่สามารถยึด  หรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ได้โดยทันที   แต่หากบางท่านไม่สะดวกหรือไม่มีความพร้อมหรือไม่ชำนาญในการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ท่านก็สามารถทำการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายที่ท่านรู้จักเพื่อทำการสืบหาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของลูกหนี้เพื่อนำมายึดทรัพย์  หรือนำมาอายัดบังคับชำระหนี้ให้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้จนเป็นที่เรียบร้อยได้

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

ข้อยกเว้นความรับผิดในข้อหา ” หมิ่นประมาท “

ตามที่ทราบกันมาว่า  หากผู้ใดพูดใส่ความผู้อื่นเพื่อให้เกิดความเสียหายโดยมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง  บุคคลนั้นถือว่าได้กระทำความผิดในข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทแล้ว   ซึ่งในเรื่องดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามในของข้อกฎหมายว่า  ผู้ใดที่ได้กระทำดังกล่าวไม่ผิดตามข้อกล่าวหาได้   จะต้องเข้าหลักเกณฑ์  ” ข้อยกเว้น ” ดังต่อไปนี้ https://www.highlandstheatre.com/

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1)  เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม  ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ

(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุมผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท https://www.funpizza.net/

ดังนั้น ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น บางครั้งคนที่ได้กล่าวข้อความดังกล่าวในเรื่องของการหมิ่นประมาท  ก็มิได้เป็นความผิดตามกฎหมายเสมอไป  ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวต้องคำนึงถึงข้อยกเว้นของกฎหมายในเรื่องนี้ด้วย   ซึ่งหากการพูดคุยดังกล่าวเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  หรือเป็นการกระทำการเพื่อเป็นการป้องกันตนเองตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นโดยสุจริตแล้ว   ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมายในเรื่องนี้อย่างแน่นอน

กฎหมายหน้ารู้

การหมิ่นประมาท

เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทนั้นเป็นการมุ่งคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดจังแม้การใส่ความบางอย่างเป็นความจริงหรืออาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จริงก็อาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ได้   หากผู้พูดหรือผู้แสดงข้อความดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและมีเจตนาที่จะทำให้คนอื่นถูกดูหมิ่นดูแคลนหรือเกลียดชังจากข้อความที่ตนเองกล่าวถึงนั้น

ข้อกฎหมายในเรื่องนี้

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี  หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร  ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ  แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง  บันทึกภาพ หรือบันทึกตัวอักษร  กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น  ผู้กระทำต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ถึงอย่างไรก็ดีหากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องการหมิ่นประมาทนั้น   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องของการหมิ่นประมาทเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อชื่อเสียง  เกียรติยศและศักดิ์ศรีของผู้ที่ถูกกล่าวหา  รวมถึงอาจจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นในการทำมาค้าขายของคู่ความที่เกี่ยวข้องได้   ซึ่งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวนี้สมควรได้รับคำแนะนำจากทนายความในเรื่องนี้ก่อน ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้ท่านสามารถทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดการคลี่คลายได้อย่างดี

กฎหมายหน้ารู้

ความแตกต่างระหว่างการฝากเงินกับการฝากทรัพย์อย่างอื่น

ความแตกต่างระหว่างการฝากเงินและฝากทรัพย์อย่างอื่นมีดังต่อไปนี้

1. การฝากเงิน  ผู้รับฝากมีหน้าที่คืนจำนวนเงินที่ฝากให้แก่ผู้ฝาก  ไม่ใช่เงินเดิมที่ฝาก  แต่หากเป็นการฝากทรัพย์อย่างอื่น  ผู้รับฝากมีหน้าที่คืนทรัพย์สินที่ฝากให้แก่ผู้ฝากไม่ใช่ทรัพย์สินอื่นๆ

2. การฝากเงิน ผู้รับฝากเงินเป็นเจ้าของเงินที่ผู้ฝากเอามาฝาก  เพราะในเรื่องฝากเงินนั้นกรรมสิทธิ์ในเงินที่ฝากโอนมาเป็นของผู้รับฝาก  จึงมีสิทธิ์นำเงินซึ่งตนและฝากไว้นั้นไปใช้ได้    ส่วนการฝากทรัพย์อย่างอื่น  ผู้รับฝากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ฝาก  จึงไม่มีอำนาจนำทรัพย์สินซึ่งตนรับฝากไว้นั้นไปใช้สอยเพื่อประโยชน์ส่วนตัวได้

3. ผู้รับฝากเงิน ต้องรับผิดชอบชดใช้ถ้าเงินนั้นสูญหายไป  แม้โดยเหตุสุดวิสัยก็ตาม   ส่วนการฝากทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น  ผู้รับฝากไม่ต้องรับผิดชอบถ้าตัวทรัพย์สินซึ่งฝากไว้นั้นสูญหายหรือบุบสลายไปโดยเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความผิดของผู้รับฝาก

4. การฝากเงิน  มีกำหนดเวลาส่งคืน  ผู้ฝากจะเรียกให้ส่งเงินคืนก่อนกำหนดเวลาไม่ได้  และผู้รับฝากเงินก็ต้องส่งคืนก่อนกำหนดก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน   ส่วนการฝากทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น  การฝากทรัพย์สินเงินที่มีกำหนดเวลาส่งคืน  ผู้ฝากจะเรียกคืนทรัพย์สินของเขาคืนก่อนกำหนดได้  หรือผู้รับฝากก็มีสิทธิ์ส่งทรัพย์สินซึ่งรับรองไว้คืนก่อนกำหนดได้  ถ้ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจเข้าร่วมได้

กฎหมายหน้ารู้

เงินหายจากบัญชี การรับฝากเงินธนาคาร

ธนาคารถือเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงิน  มีหน้าที่ในการรับฝากเงิน  ดูแลเงินของลูกค้า  รวมทั้งมีหน้าที่บริหารจัดการเงินและนำไปลงทุนหรือบริหารเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากเงินฝากของลูกค้า    หากกรณีเงินของลูกค้าหายออกไปจากบัญชี   ธนาคารถือเป็นผู้เสียหาย  และธนาคารต้องรับผิดชอบในการคืนเงินตามสัญญาฝากเงินให้แก่ลูกค้าตามที่เงินของลูกค้าได้หายออกไปจากบัญชี    ดังนั้นสำหรับหน้าที่และบทบาทของธนาคารเกี่ยวกับเรื่องนี้ ธนาคารถือเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินที่ต้องหาวิธีการในการป้องกันเพื่อมีให้ทรัพย์สินของลูกค้าหรือตัวเงินที่นำฝากไว้ไม่ให้เกิดการสูญหาย  รวมทั้งมีหน้าที่ในการป้องกันการโจรกรรมต่างๆที่มี  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาทรัพย์ที่เป็นตัวเงินให้แก่ลูกค้าให้จงได้

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้

มาตรา 657  ได้บัญญัติไว้เอาไว้ว่า  อันว่าฝากทรัพย์นั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้ฝาก  ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้รับฝาก  และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้

มาตรา 659 วรรคท้าย  ถ้าผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขาย  หรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด  ก็จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังหรือใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

ฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2711/2529  ผู้รับฝาก  มีหน้าที่จะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากแก่ผู้ฝาก  ผู้รับฝากจะนำทรัพย์ออกใช้สอยหรือมอบให้ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ฝากหาได้ไม่

ดังนั้น หากบุคคลท่านใดที่เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเงินสูญหายในบัญชีในเรื่องดังกล่าวนี้  ธนาคารจึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามหน้าที่ที่มีต่อลูกค้าของตน   และหากเกิดความเสียหายกับธนาคารในเรื่องดังกล่าว    ธนาคารก็สามารถใช้สิทธิ์ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายในเรื่องนี้ได้ต่อไปได้เช่นเดียวกัน

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับฝากเงิน

ฝ่ายที่รับฝากเงิน  ตามกฎหมายให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่า  ผู้รับฝากเงินไม่จำเป็นต้องส่งคืนเป็นเงินทองกลับมาอันเดียวกันกับที่ฝากไว้  แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนตามที่ฝากไว้ก็ได้

กรณีหากผู้รับฝากเงินจะเอาเงินซึ่งทำที่ตนเองรับฟังไว้ออกไปใช้ก็ได้   แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นก็ได้   แม้ว่าเงินที่ฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม  ผู้รับฝากก็ต้องคืนเงินเป็นจำนวนเงินดังกล่าวนั้นได้ (มาตรา 672 )

กฎหมายหน้ารู้