อายุความฟ้องศาลคดีทรัพย์มรดก

อายุความฟ้องศาลคดีทรัพย์มรดก

กรณีที่เจ้ามรดกตายนั้นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาททันที แต่อย่างไรก็ตาม กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในกองมรดกยังไม่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทโดยเด็ดขาดจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทกันเสร็จสิ้น เพราะถ้าตราบใดที่ยังมีความเป็นมรดกอยู่ทายาทก็อาจเสียสิทธิได้ ถ้าเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกขึ้น เงื่อนไขที่สำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกนั้น คือ”อายุความฟ้องคดีมรดก” เพราะหากมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกภายในกำหนดอายุความแล้ว ก็ย่อมเสียสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกเนื่องจากขาดอายุความฟ้องคดี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผู้จัดการมรดก?

ผู้จัดการมรดก?

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น กองทุน ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินที่มีผู้อื่นยืมไป หนี้ ภาระติดพันต่างๆ ทั้งการจำนองหรือค้ำประกัน เป็นต้น

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรจะต้องรู้ไว้คือ หลังจากที่ผู้ตาย หรือที่กฎหมายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ได้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ถึงแม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม แต่ก็อาจมีปัญหาในการแบ่งมรดก ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก” และถึงแม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

 

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต https://www.highlandstheatre.com/

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา https://www.funpizza.net/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

องค์ประกอบเดียว ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่าเป็นผู้ออกเช็คตาม ข้อที่ 1 ย่อมมีความผิดแม้จะมีเหตุเหล่านี้มาประกอบก็ตาม

  1. ผู้ออกเช็คจะไม่มีหนี้สินกับผู้ทรงโดยตรง

ฎีกาที่  1273 2/2557 3 เมื่อจำเลยที่  2  เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เงินในเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่  2  ว่าเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร   ดังนี้แม้จำเลยที่  2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่ง ซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง    เมื่อจำเลยที่ 2 ลงมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง  2  ฉบับ   จำเลยที่  2  ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย

2.  บัญชีเงินฝากปิด

ฎีกาที่  1017/2567  บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ใน มาตรา  487  และ  488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ โทรออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

ฎีกาที่  249/2527  จำเลยรับกระบือจากโจทก์  29  และออกเช็คให้โจทก์  2  ฉบับคณะออกเช็คบัญชีของจำเลยผิดแล้วดังนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่ากระบือที่โจทก์ขายขาดให้จำเลยไม่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระราคากระบือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ในส่วนกรณีนี้ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเอาไว้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 1983/2514

จำเลยใช้เช็คของส.และลงชื่อส.เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นและมอบให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ทำให้ผู้เสียหายลงผิดว่าจำเลยเป็น ส.ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย  แต่ผู้เสียหายไปรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน  เช่นนี้ถือเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดกรรมเดียว ความผิดหลายกรรม

ความผิดกรรมเดียว ความผิดหลายกรรม https://www.highlandstheatre.com/
1. ความผิดกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 บัญญัติว่า “ เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ใช้กฎหมายบทที่มีอัตราโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด แต่ถึงอย่างไรก็ตามการกระทำความผิด ใน 1 คดีอาจเป็นความผิดควบกับความผิดคนอื่นเช่นฉ้อโกงซึ่งถือเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทได้ ” mahjong slot
ฎีกาที่ 2918/2527 จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบสินค้าให้แก่จำเลยไปและในวันนั้นเองจำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าที่หลอกไปนั้นเห็นได้ว่าการเขียนเช็คว่ามีแต่ผู้ต้องหาได้กระทำเวลาต่อเนื่องใกล้ชิดกับเวลาที่รับสินค้าไปจากผู้เสียหายโดยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้ได้สินค้าตามที่ต้องการจากผู้เสียหายการออกเช็คเป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าจากผู้เสียหายเท่านั้นการกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
2. ความผิดหลายกรรม https://www.sushitokyo.net/
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 บัญญัติว่าเมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตามเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้
1) สำหรับกรณีความผิดกันตรงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี
2) 20 ปีสำหรับกรณีความผิดก็ตรงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี
3) 50 ปีสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป เว้นแต่ กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382 https://www.funpizza.net/

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่มีการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ   กรณีนี้ก็ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ และมีหลักฐานจากการกู้ยืมแล้ว

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556

การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินสดและใส่รหัสส่วนตัว เปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง การทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์และกดเงินยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิปไปแล้ว การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7, 8 และ 9   จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจในการฟ้องคดีได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิเรียกร้องจากการกระทำที่เป็นการละเมิด

สิทธิเรียกร้องจากการกระทำที่เป็นการละเมิด

              องค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิด กล่าวคือ

  1. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  2. กระทำโดยผิดกฎหมาย
  3. การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
  4. ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น

                สำหรับการละเมิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับด้วยเหตุผลว่า  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะตัว ในการดำเนินงานบางครั้งอาจเกิดความเสียหายขึ้นโดยความไม่ตั้งใจและผิดพลาดเล็กน้อยแต่กลับต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว และที่ผ่านมายังใช้หลักของลูกหนี้ร่วมทำให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของผู้อื่นด้วย  ซึ่งเป็นระบบที่มุ่งจะให้ได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายอย่างครบถ้วนโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อบุคคล จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ จนบางครั้งเป็นปัญหาในการบริหารงานเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจในการทำงานเท่าที่ควร      ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงให้เจ้าหน้าที่รับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ

                      ดังนั้นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน้าที่ของตนนั้นหากเกิดความเสียหายขึ้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าทีนั้นต้องไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่  การที่มีกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ดังกล่าวนั้นเนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ บางกรณีอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดหรือเป็นเหตุสุดวิสัยโดยมิได้เกิดจากความ จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเสียหายพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ จึงบัญญัติคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไว้ ดังนี้

             มาตรา๕ วรรคหนึ่ง “ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐ ดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้  ”

            แต่หากเจ้าหน้าที่กระทำการนอกเหนือหรือไม่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของตน เช่น เจ้าพนักงานการเงิน ไม่ได้มีหน้าที่ในการขับรถ แต่ได้ขับรถไปซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนแล้วเกิดเฉี่ยวชนกับคุคลภายนอกได้รับความเสียหายเป็นต้นย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

           มาตรา๖ บัญญัติว่า  “ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้น เป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานรัฐไม่ได้” จะเห็นได้ว่าหากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือหน้าที่ของตนตามที่กฎ ระเบียบ กำหนดไว้แล้วรัฐไม่คุ้มครองแต่ถ้าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนโดยชอบแล้วเมื่อเกิดความ ผิดพลาดไม่ว่าบุคคลใดได้รับความเสียหายหรือทำให้รัฐเองเสียหายก็ตาม หน่วยงานของรัฐ จะต้องเข้ารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนเจ้าหน้าที่ แต่ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า ความผิดพลาดที่ เกิดขึ้นเนื่องมาจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ตามความที่บัญญัติไว้ใน มาตรา๘ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการอันเป็นไปด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

                กรณีจะเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะต้องเป็นประมาทเลินเล่อเสียก่อนโดย “จะเป็นส่วนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจงใจกับประมาทเลินเล่อธรรมดา” คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือกรมบัญชีกลางว่า การที่จะพิจารณาว่ากรณีใดจะเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบทุกคน จนถึงคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือศาล ส่วนอย่างไรเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีไปความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะมีลักษณะไปในทางที่บุคคลนั้นได้กระทำไปโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้หรือหากใช้ความระมัดระวังสักเล็กน้อย ก็คงได้คาดเห็นการอาจเกิดความเสียหายนั้น นั้นเอง

 

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักการกระทำละเมิด

หลักการกระทำละเมิด 

มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี  แก่ร่างกายก็ดี    อนามัยก็ดี   เสรีภาพก็ดี  ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า  ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ”

กฎหมายหน้ารู้