การลงลายมือชื่อกรณีทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การลงลายมือชื่อกรณีทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีที่มีการให้ผู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  หากมีการดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ  กรณีก็ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อมีหลักฐานการกู้ยืมแล้วตามกฎหมาย

            คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556  การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง  ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์  และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป    การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินของโจทก์ตามพรบว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  พ.ศ 2544 มาตรา 78 และมาตรา 9  ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์  ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่า จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายระยะเวลาในการชำระหนี้โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดงจึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง   โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำอธิบาย หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป  แต่จะปรากฏเป็นหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีรายชื่อผู้ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้  บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ  รายงานการประชุม  รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น

ฎีกาที่ 36/2555  เอกสาร จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับว่าโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว  เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536  จำเลยได้กู้ยืมเงินจากสจำนวน 2 ล้านบาท  จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย  แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ตาม  การที่คู่สัญญาได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม  โจทก์จึงใช้เอกสารหมาย จ.2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือขอให้จำเลยรับผิดได้

ฎีกาที่ 4537/2553 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไปนั้น    ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องให้มาบังคับคดีหาได้ไม่  สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก  อยู่ที่ว่า  มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว  ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้      ดังนั้น เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม  ได้ปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้  แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ให้ถูกต้องแต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 รวมรายชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน  จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว

ปรึกษากฎหมายคดีเงินกู้  ทนายคดีเงินกู้  091 047 3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ  ) สำนักงานกฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์ ถนนบางนา – ตราด จังหวัดสมุทรปราการ

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคดีกู้ยืมเงิน

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคดีกู้ยืมเงิน

ลักษณะทั่วไปของสัญญากู้ยืมเงิน

 ลักษณะที่ 1 เป็นนสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กล่าวคือ เป็นการโอนไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในวันที่ให้ยืม และผู้ยืมคืนเงินโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเงินส่วนที่ยืมไป  แต่เอาเงินจากที่ใดมาคืนก็ได้  ขอให้มีจำนวนเท่ากับที่ยืมก็ใช้ได้  ซึ่งต่างกับการยืมใช้คงรูปที่ต้องคืนทรัพย์ที่ยืมนั้น

 แบบที่ 2 สัญญาบริบูรณ์เมื่อการส่งมอบเงินที่ให้ยืม   ซึ่งตามมาตรา 650 วรรค 2 บัญญัติเกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญาว่า  ย่อมบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินหรือเงินที่ยืม   จะเห็นได้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าต้องมีการส่งมอบ  หากไม่ส่งมอบสัญญาก็จะไม่บริบูรณ์เท่านั้น  ซึ่งไม่หมายถึงการเป็นโมฆะ โมฆียะ หรือเสียเปล่า เหตุประการอื่นแต่อย่างใด  ซึ่งเรื่องความไม่บริบูรณ์ของสัญญานี้มักจะเป็นเหตุหนึ่งที่ถูกลูกหนี้ยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามสัญญากู้

 

ตัวอย่างความสมบูรณ์ของสัญญากู้   กรณีมีหนี้สินระหว่างกันแล้วคิดหักบัญชีกันอีกฝ่ายเป็นหนี้อีกฝ่ายหนึ่งจึงทำสัญญากู้ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว  ถือได้ว่าสัญญากู้บริบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 ฎีกาที่ 1557/2524  จำเลยตกลงว่าจะใช้เงินที่โจทก์เสียไปคืนให้แก่โจทก์  หากบุตรโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศตามที่จำเลยชักนำ  โดยจำเลยยอมทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน  เมื่อบริษัทจัดหางานไม่สามารถส่งบุตรโจทก์ไปทำงานต่างประเทศได้ จำเลยก็ต้องรับผิดชอบใช้หนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงทำสัญญากู้ไว้  จะอ้างว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันหาได้ไม่  เพราะการกู้ยืมเงินนั้นผู้กู้ไม่จำต้องรับเงินไปจากผู้ให้กู้เสมอไป  ผู้กู้อาจตกลงยอมรับเอาหนี้สินอย่างอื่นมาแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่นเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินอื่นเติมเงินที่กู้  การส่งมอบเช็คการปฏิบัติต่อการเกี่ยวกับการเบิกเงินคืนบัญชีหรือมอบเงินให้ไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร  แต่กลับเอาไปใช้ส่วนตัวจนหมดจึงทำสัญญากู้ให้ไว้  ดังนั้น  ก็ถือว่ามีการมอบเงินที่กู้  สัญญากู้บริบูรณ์แล้ว

กรณีที่การกู้เป็นผลมาจากมูลหนี้อย่างอื่นและแปลงเป็นหนี้กู้ยืม  มูลหนี้นั้นก็ต้องสมบูรณ์และเป็นการแปลงหนี้ใหม่อย่างแท้จริง  หากเป็นเพียงการทำสัญญาคู่กันไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาอย่างอื่น  ก็ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากนี้เดินมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน  สัญญากู้ก็ไม่บริบูรณ์

 

ตัวอย่าง   กรณีทำสัญญากู้แทนของหมั้น  ยังไม่ได้มีการให้ของหมั้นกัน  สัญญากู้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในวันข้างหน้าเท่านั้น  จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะของหมั้นไม่ได้

——————————————————————————————————————————————————————

สำนักงานกฎหมาย สยามอินเตอร์ลอว์

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน   

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน   

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก  ได้วางบทบัญญัติไว้ว่าการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่

จากบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว  สามารถตั้งข้อสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1)   การกู้ยืมที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น  จะต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป   ดังนั้น การกู้ยืมกันเพียง 2,000 บาทพอดีหรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด

2)  หลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี  ฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้  เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติผลให้เป็นโมฆะ  ไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น

                คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

  คำพิพากษาฎีกาที่ 8175/2551   หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 นั้น  อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้  และไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน  แค่คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม   ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว   ดังนั้น  เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง  จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 28/2505  จำเลยยืมเงินโจทก์  โจทก์ให้เงินไปก่อนแต่ยังไม่ได้ทำสัญญากู้  ภายหลังจำเลยจึงทำหนังสือรับรองใช้หนี้ให้     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  จริงอยู่ในกรณีนี้ในเวลาที่อ้างว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันนั้น  คู่กรณีหาได้ทำหนังสือในการกู้ยืมเป็นหนังสือกันไว้ไม่  ย่อมจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ไม่  แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีหลักฐานในการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญเกิดขึ้นแล้ว  ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีนั้นได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 5644/2546    โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน  แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม  โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล

หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับเป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่หนี้กู้ยืม  จึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

ในกรณีที่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว  แต่ต่อมาได้สูญหายไป  กรณีนี้ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับการสูญหายได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 696/2522    จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์  โดยจำเลยยินยอมอนุญาตให้ ณ. บุตรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้กู้แทนจำเลย  ดังนั้น  หาผูกพันจำเลยไม่  และกรณีเช่นนี้หาใช่กรณีที่จำเลยเชิดให้ ณ.เป็นตัวแทนกู้เงินโจทก์ไม่

 

คุยคดีเงินกู้  #ทนายคดีเงินกู้  091-0473382 ,02-1217414  คุณสุริยา สนธิวงศ์ ( ทนายความ )

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน  #ทนายเชี่ยวชาญคดีเงินกู้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก  วางบทบัญญัติไว้ว่าการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่

จากบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าว  สามารถตั้งข้อสังเกตได้ดังต่อไปนี้

1) การกู้ยืมที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น  จะต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป   ดังนั้น การกู้ยืมกันเพียง 2,000 บาท พอดีหรือต่ำกว่า จึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด

2)  หลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี  ฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้  เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติผลให้เป็นโมฆะ  ไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ฎีกาที่ 8175/2551   หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 นั้น  อาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้  และไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน  แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า  จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นไปหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม   ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ   ดังนั้น  เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง  จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น

 

ฎีกาที่ 28/2505  จำเลยยืมเงินโจทก์  โจทก์ให้เงินไปก่อนแต่ยังไม่ได้ทำสัญญากู้  ภายหลังจำเลยจึงทำหนังสือรับรองใช้หนี้ให้  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  จริงอยู่ในกรณีนี้ในเวลาที่อ้างว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันนั้น  คู่กรณีหาได้ทำหนังสือในการกู้ยืมเป็นหนังสือกันไว้ไม่  จำเจ้าฟ้องร้องไห้บังคับคดีได้ไม่  แต่ในเวลาต่อมาก็ได้มีหลักฐานในการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญเกิดขึ้นแล้ว  ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

 

ฎีกาที่ 5644/2546    โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน  แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม   โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล

หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับเป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความมิใช่หนี้กู้ยืม   จึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

ในกรณีที่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว  แต่ต่อมาได้สูญหายไป  กรณีนี้ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับการสูญหายได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

 

ฎีกาที่ 696/2522    จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์  โดยจำเลยยินยอมอนุญาตให้บุตรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้กู้แทนจำเลย  ดังนั้น  หาผูกพันจำเลยไม่และกรณีเช่นนี้หาใช่กรณีที่จำเลยเป็นตัวแทนกู้เงินโจทก์ไม่

 

สอบถามกฎหมาย หรือขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความโดยตรง

ติดต่อ คุณสุริยา สนธิวงศ์ (ทนายขาว) 091-047-3382 , 02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน

คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน

คำถาม : คดีพิพาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดิน ระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใด

คำตอบ : มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

    คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2560  แม้โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครอง  ส่วนฝ่ายจำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทก็ได้รับประโยชน์  จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373  ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองเช่นกัน  แต่มาตรา 1367 เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไป  เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน  ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกถึงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครอง จึงต้องบังคับตามมาตรา 1373  ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์

กฎหมายหน้ารู้

ถาม-ตอบ ปัญหาข้อกฎหมาย สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง

ถาม :   สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ระบุว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่ทำการแก้ไข  หรือเพิ่มเติม  หรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้  โดยกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร  ผู้รับจ้างจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า  ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากแบบแปลนเดิมตามที่ตกลงกันไว้ได้หรือไม่

คำตอบ :  คำพิพากษาฎีกาที่ 6866/2552  ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปที่จำเลยฎีกาว่า  ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อ 11 ระบุว่า  ” ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์ที่ทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้…โดยกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร ”  ดังนั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า  จำเลยให้โจทก์ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากแบบแปลนเดิมตามที่ตกลงกันไว้นั้น  จึงเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข) ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยนั้น

เห็นว่าหนังสือจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารนั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่ง  กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง  ฉะนั้นโจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่า  จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้  ไม่ต้องห้ามนำบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ทั้งนี้ตามในคำพิพากษาที่ 3107/2538

กฎหมายหน้ารู้

แก้หนี้ได้ด้วยการเจรจา

แก้หนี้ได้ด้วยการเจรจา

📍ใครไม่เคยเป็นหนี้ในช่วงชั่วโมงนี้ก็คงไม่เข้าใจหรอกนะครับ ว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องภาระหนี้สินลำบากเพียงใด การหาเงินนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องภาระหนี้สินที่ยังค้างอยู่เป็นเรื่องที่ยากมากกว่า

📍ท่านใดมีปัญหาเรื่องดังกล่าวนี้ทนายขอแนะนำให้ท่านควรงดการสร้างหนี้ใหม่ก่อนเป็นอันดับแรกเลยนะครับ และให้ท่านนำเงินที่ได้มาปิดหนี้สินเดิมก่อนที่จะรีบสร้างหนี้ใหม่เพิ่มเติมนะครับ และท่านสมควรใช้หลักการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอลดจำนวนหนี้แทนดีกว่านะครับ (เพราะทุกอย่างเจรจาได้เสมอ) ยิ่งใครที่เป็นหนี้นอกระบบอยู่มานานก็ยิ่งต้องใช้หลักการนี้จะได้ผลดีมากๆครับ

📍สิ่งที่ท่านได้รับจากการเจรจาดังกล่าว คือ ช่วยลดจำนวนหนี้ได้ ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ไม่มีหนี้เพิ่ม มีโอกาสหลุดพ้นจากภาระหนี้ได้เร็วขึ้น ทำให้ครอบครัวกลับมามีความสุข ดังนั้นอย่าลืมหัวใจในการแก้ภาระหนี้ในเรื่องนี้คือ ” การเจรจา ” ครับ

ท่านใดที่มีปัญหาในเรื่องนี้อยู่หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม ท่านสามารถทักเข้ามาพูดคุยกันทนายของเราได้ทุกวันครับ

กฎหมายหน้ารู้

5 ข้อสำคัญผู้ให้เช่าอสังหาต้องรู้

กฎหมายหน้ารู้

รับมืออย่างไร เมื่อเจ้าหนี้ให้ผู้ค้ำประกันจ่ายหนี้แทน

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิการนำคดีมาฟ้องศาล

กฎหมายหน้ารู้