หมวดหมู่: ไม่มีหมวดหมู่
สิทธิ์การนำคดีมาฟ้องศาล
กฎหมายหน้ารู้
ข้อยกเว้นความผิดข้อหา ” หมิ่นประมาท “
ข้อยกเว้นความผิดข้อหา ” หมิ่นประมาท ”
มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
กฎหมายหน้ารู้
หลักฐานฟ้องคดี คดีกู้ยืมเงิน
หลักฐานฟ้องคดี คดีกู้ยืมเงิน
ไม่ปรากฏว่ามีเอกสารฉบับใดเลยที่มีข้อความแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์หรือมีข้อความว่าจะใช้คืนอันเป็นสาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือที่บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ ลำพังหนังสือขอเบิกค่าใช้จ่ายประจำเดือนของจำเลยที่ 1 ที่มีเพียงข้อความระบุถึงจำนวนเงินที่ขอเบิกและวันที่ขอรับเงินตามเอกสาร คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ได้รับเช็คไปจากโจทก์แล้วเท่านั้น ยังไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินจากโจทก์หรือรับเงินที่กู้ยืม หนังสือขอเบิกค่าใช้จ่ายประจำเดือนตามเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ส่วนรายงานที่ ป. มีถึงโจทก์ ก็ปรากฏเพียงข้อความว่า ขอให้โจทก์พิจารณาจ่ายเงินกู้ยืมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารที่ ป. จัดทำขึ้นเองแต่ฝ่ายเดียว
กฎหมายหน้ารู้
จบปัญหาคดีความด้วยงานเจรจา
จบปัญหาคดีความด้วยงานเจรจา
พูดถึงคดีความใครๆก็ไม่อยากเจอ แต่เพราะเรื่องอนาคตเป็นเรื่องไม่แน่นอน บางครั้งก็เจอปัญหาการผิดนัดค่าผ่อนรถ ผิดนัดค่าเช่า บัตรเครดิต เงินกู้บ้าน เงินกู้นอกระบบ ถูกเรียกค่าเสียหายในคดีอาญาในข้อหาต่างๆ
ทางออกที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว จบปัญหาได้เร็ว คือการแก้ไขปัญหาโดยการเจรจากับคู่ความหรือคู่กรณี
ดังนั้นตัวแทนที่ปรึกษา หรือทนายความที่จะเข้ามาทำหน้าที่ให้กับท่านจะต้องเข้าใจปัญหาของท่าน มีความรอบรู้ จิตวิทยา รวมทั้งทักษะและประสบการณ์ที่ดี คุยจบ ไม่เสียเปรียบ ได้ประโยชน์ตรงตามประสงค์ของตัวความ
กฎหมายหน้ารู้
หลักเกณฑ์ลดโทษในคดีอาญา
#หลักเกณฑ์ลดโทษในคดีอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 บัญญัติว่า
“เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษจามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างแสนสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อพนักงาน หรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน ”
กฎหมายหน้ารู้
กฎหมายอะไรบ้าง? ที่นักลงทุนอสังหาฯควรรู้
กฎหมายหน้ารู้
หน้าที่ต้องส่งคืน ทรัพย์สินที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ
หน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ
กฎหมายได้กำหนดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ถ้ามิได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อ ของคู่สัญญาแสดง
ไว้ต่อกัน ว่าทรัพย์สินที่ให้เช่ามีสภาพเป็นอยู่อย่างไรนั้น
กฎหมายกำหนดเอาไว้ในเรื่องนี้ว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่านั้นไปโดยสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว และเมื่อสัญญาได้เลิกหรือระงับลง
ผู้เช่าก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเช่นนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิได้ซ่อมแชมไว้ดีในขณะที่ส่งมอบ (ป.พ.พ. มาตรา ๕๖๑)
เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว
การที่จำเลยที่ ๑ ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ ๑ เช่าไป
จำเลยที่ ๒ จะอ้างว่าระหว่างนั้น จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๖๑ (ฎีกา ๖๗๓๔/๒๕๕๓)
กฎหมายหน้ารู้
✍🏻✍🏻 #อายุความผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่า ✍🏻✍🏻
✍🏻✍🏻 #อายุความผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่า ✍🏻✍🏻
คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพันกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า (ป.พ.พ. มาตรา๕๖๓) สิทธิเรียกร้องคำาเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ ๕ ปี ตาม ป.พ.พ.หมาตรา ๑๙๓/๓๓(๓) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 463นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้าดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 463 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือน ตามมาตรา ๑๙๓/๑๒ (ฎีกา ๑๗๔๐/๒๕๕๘) ____________________________________