



หน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ
กฎหมายได้กำหนดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ถ้ามิได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อ ของคู่สัญญาแสดง
ไว้ต่อกัน ว่าทรัพย์สินที่ให้เช่ามีสภาพเป็นอยู่อย่างไรนั้น
กฎหมายกำหนดเอาไว้ในเรื่องนี้ว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่านั้นไปโดยสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว และเมื่อสัญญาได้เลิกหรือระงับลง
ผู้เช่าก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินในสภาพเช่นนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิได้ซ่อมแชมไว้ดีในขณะที่ส่งมอบ (ป.พ.พ. มาตรา ๕๖๑)เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว
การที่จำเลยที่ ๑ ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ ๑ เช่าไปจำเลยที่ ๒ จะอ้างว่าระหว่างนั้น จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๖๑ (ฎีกา ๖๗๓๔/๒๕๕๓)
✍🏻✍🏻 #อายุความผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่า ✍🏻✍🏻
คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพันกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า (ป.พ.พ. มาตรา๕๖๓) สิทธิเรียกร้องคำาเช่าอาคารซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระ มีอายุความ ๕ ปี ตาม ป.พ.พ.หมาตรา ๑๙๓/๓๓(๓) ส่วนอายุความ 6 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 463นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าในกรณีอื่น เช่น การเรียกร้องค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าล่าช้าดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าปรับอันเนื่องมาจากการชำระค่าเช่าล่าช้าของโจทก์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 463 ซึ่งการเริ่มนับอายุความของค่าเช่าย่อมนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าในแต่ละเดือน ตามมาตรา ๑๙๓/๑๒ (ฎีกา ๑๗๔๐/๒๕๕๘) ____________________________________
#ความประพฤติที่เป็นความผิดคดีแรงงาน
⭕️กรณีที่ลูกจ้างประพฤติผิดต่อนายจ้างที่ไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องลงโทษทางวินัยตามความจำเป็นเหมาะสมเสียก่อน มิฉะนั้นถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
📍ฎีกา 3360/2526 ลูกจ้างทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรก นายจ้างเลิกจ้างทันทีทั้งที่มีระเบียบว่าต้องทำผิดซ้ำ ถึงจะให้ออกจากงานได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
📍หากลูกจ้างผิดวินัยกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างลงโทษเตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำอีก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ฎีกา 3934/2557 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทางานในตำแหน่งผู้จัดการประสานงานขาย แต่โจทก์ ไม่ยอมไปทำงาน ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายตามเดิม
📍ต่อมาจำเลยมีหนังสือเตือนแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และกระทำผิดซ้ำ คำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
⭕️ ถ้าความประพฤติของลูกจ้าง เป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรง ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมฎีกา 11096/2556 นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด การขาย เนื่องจากในระหว่างทำงาน ไปดำรงค์ตำแหน่งกรรมการบริษัท อ.ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง การกระทำของลูกจ้างเป็นปฏิปักษ์ต่อทางการค้าของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
📍ฎีกา 5978/2549 ลูกจ้างปล่อยเงินกู้นอกระบบ ในสถานที่ทำงานคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน ฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ทำอย่างไร? เมื่อซื้อของออนไลน์ไปแล้วแต่โดนโกง
เมื่อซื้อของออนไลน์จากร้านค้า แต่ร้านค้ากลับไม่ตอบ เงียบหาย หรือโดนบล๊อก สุดท้ายของก็ไม่ได้ เสียเงินให้ร้านค้าฟรีๆ เราจัดการยังไงดี? ก่อนอื่นต้องแคปหลักฐานให้พร้อม เตรียมแจ้งความดำเนินคดี
มีหลักฐานอะไรบ้างที่ใช้แจ้งความ 1. รูปโปรไฟล์ของร้านค้าที่โกง
2. ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัญชีธนาคารของร้านค้าหรือข้อมูลอื่นๆ ที่รวบรวมได้
3.ข้อความที่สนทนาในแชท ตั้งแต่การพูดคุย การซื้อ การชำระเงิน
4.หลักฐานการโอนเงิน
โดยนำหลักฐานทั้งหมดไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อขอให้ดำเนินการอายัดเลขบัญชีของร้านค้าที่โกง และที่สำคัญ ต้องระบุว่า
“ ต้องการแจ้งความดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน ”