ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีหลักประกันมาวางศาล

ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีหลักประกันมาวางศาล
     การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีหลักประกัน คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเป็นการชั่วคราวในระหว่างคดียังไม่เสร็จสิ้น
ในการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวในรูปแบบนี้ ก่อนปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไป ผู้ประกันต้องมีหลักทรัพย์มาวางเป็นประกัน
ต่อศาลตามเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดเอาไว้ รวมทั้งผู้ร้องขอหรือเจ้าของหลักประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลด้วย
ว่าผู้ประกันจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันการขอปล่อยตัวชั่วคราวได้

กฎหมายหน้ารู้

การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่มีประกัน

การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่มีประกัน
     การขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว
โดยไม่ต้องทำสัญญาประกัน และไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย
สาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์สำคัญ การขอปล่อยตัวชั่วคราว

หลักเกณฑ์สำคัญ การขอปล่อยตัวชั่วคราว
          การปล่อยชั่วคราว คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานศาลตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือในระหว่างมีการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะให้ปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า “ ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ”

กฎหมายหน้ารู้

การชดใช้ค่าสินไหมจากเหตุละเมิด “จากการเสียชื่อเสียง”

การชดใช้ค่าสินไหม จากเหตุละเมิด

“จากการเสียชื่อเสียง”

1.ชดใช้ค่าเสียหาย

2.จัดการให้ชื่อเสียงกลับมาดีดังเดิม

3.หรือทั้งสองอย่าง

 ค่าสินไหมทดแทนจะชดใชดด้วยวิธีไหน/เท่าไหร่  ศาลจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัย

กฎหมายหน้ารู้

ค่าชดใช้ค่าสินไหม จากเหตุละเมิด “กรณีเกิดความเสียหายแก่ร่างกายอนามัย ”

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดเกี่ยวกับการละเมิด

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานการรับเงินกู้ ที่ถือเสมือนเป็นหนังสือแทนสัญญากู้ได้

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิเรียกเงินค่าสินไหมทดแทน

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดที่เกี่ยวกับการละเมิด

ความผิดที่เกี่ยวกับการละเมิด
    กฎหมายกำหนดในเรื่องนี้ว่า ผู้กระทำการละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่การกระทำการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.ม. 420) ความผิดในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับหลักการ 3 ประการ ดังนี้
       1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย จะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นต้นว่า ฆ่าเขาตาย, ทำร้ายร่างกายเขา,ขับรถโดยประมาทชนคนตายและทรัพย์สินของเขาเสียหาย ฯลฯ
       2. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ คือ ทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เขาเสียหาย เช่น เจตนาฆ่าหรือเจตนาทำร้าย ฯลฯ 
       3. ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย โดยปกติผู้กระทำต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนแต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกันหรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดดังนี้บุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น ….

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิการเรียกค่าเสียหาย การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต

สิทธิการเรียกค่าเสียหาย “การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต”

1.ทายาทจะได้รับ

– ค่าปลงศพ

– ค่าใช้จ่ายจำเป็นเพื่อการปลงศพ

– ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต

2. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และลูกบุญธรรม หรือผู้รับลูกบุญธรรมจะได้รับ

–  ค่าขาดการไร้การอุปการะ

3. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และนายจ้างจะได้รับ

– ค่าชดใช้ขาดแรงงาน

กฎหมายหน้ารู้