สัญญาค้ำประกัน

สัญญาค้ำประกัน

การค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” สัญญาว่าจะชำาระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ ไม่ยอมชําระหนี้

 สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทําหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน

 ชนิดของสัญญาค้าประกัน ได้แก่ สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จํากัดจำนวน และสัญญาค้ำประกันจํากัดความรับผิด

————————————————————————————————————————-

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์คืน ในสัญญาขายฝาก

กฎหมายหน้ารู้

การจำนำ

การจำนำ

          จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชําระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น

          หลักเกณฑ์การจำนำที่ต้องปฏิบัติ

1) เมื่อผู้จำนำไม่ชําระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนำ

2) หากผู้จำนำยังไม่ชําระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินําทรัพย์สินนั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ

3) เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ

กฎหมายหน้ารู้

5 ข้อสำคัญผู้ให้เช่าอสังหาต้องรู้

 

 


กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ” ผู้ให้กู้ ” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ไม่ก็ได้

          ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสําคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบ บังคับคนจน กฎหมายจึงได้กําหนดค่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือ ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัท เงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)

         ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทังหมด (เป็นโมฆะ) คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา

กฎหมายยกเว้น ห้ามทำสัญญา
           สำหรับในเรื่องนี้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาได้ ยกเว้นเพียงแต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ไม่สามารถทำนิติกรรมด้วยตัวเองได้ ได้แก่ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลสุดท้ายก็คือบุคคลที่ล้มละลาย โดยบุคคลดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาด้วยตัวเองได้

กฎหมายหน้ารู้

สัญญาเช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อ
             สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชําระเป็นงวดๆ จนครบตามข้อตกลง ข้อกำหนดสัญญาเช่าซื้อ
             สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชําระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะท่าสัญญา ไม่ต้องรอให้ชําระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชําระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าขอทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่า

กฎหมายหน้ารู้

การเช่าทรัพย์

การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระค่าเช่าเป็นการตอบแทน

หลักเกณฑ์การเช่า
          การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา การเช่าทรัพย์มีรายละเอียดและข้อกำหนดการเช่าทรัพย์เอาไว้ดังต่อไปนี้
          1) สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือ มีกําหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
          2) ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว
          3) ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และยอมให้ผู้ให้เช่าตรวจตราทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า
          4) ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง
———————————————————————————————————————-

กฎหมายหน้ารู้

ทำสัญญาให้ถูกต้องใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

    ท่านเคยไหมครับที่ได้ทำสัญญาไปแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะมีผลบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่อย่างไร
สำหรับในเรื่องกฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาเบื้องต้นเอาไว้ว่า การทำสัญญาจะมีผลเป็นสัญญาได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า 2 ฝ่ายเข้ามาทำการตกลงโดยมีข้อเสนอและข้อสนองที่ตรงกัน
จึงจะทำให้เกิดสัญญาขึ้นได้ ส่งผลให้ขอให้เกิดหนี้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ต่อกันด้วย และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์เรียกร้องให้ลูกหนี้ได้สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้เช่นเดียวกัน

     แต่ในเรื่องนี้สำคัญอยู่ที่ว่าหากสัญญาที่เราทำไว้ไม่ถูกต้องล่ะ จะส่งผลทำให้สัญญาที่เราทำไว้บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ ในเรื่องนี้กฎหมายเขาได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า หากมีสัญญาใดที่ทำไว้โดยมีรายละเอียดและข้อบังคับที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ก็ให้นำสัญญานั้นมาใช้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อข้อกฎหมายเท่านั้นได้
ด้วยเหตุนี้ ท่านใดที่ทำสัญญาต่างๆไว้คงจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบให้มากขึ้นนะครับ เพราะหากเกิดความผิดพลาดหรือเกิดข้อบกพร่องใดๆแล้วอาจจะส่งผลร้ายต่อทรัพย์สินของท่านเองได้

กฎหมายหน้ารู้

ลาป่วย ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง

📌ลาป่วย ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง

#นายจ้างมีสิทธิ์ตัดเงินเดือนได้หรือไม่?

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 32 ถ้าภายในการทำงาน 1 ปี หากลูกจ้างสุขภาพไม่ดี และมีอาการเจ็บป่วยจริง ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิ์
ลางานได้ตามความเป็นจริง โดยตลอดระยะเวลาที่ป่วย ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย

แต่ทั้งนี้ภายใน 1 ปี การลาป่วยต้องไม่เกินกว่า 30 วัน
กรณีหากการลาป่วยหรืออาการป่วยนาน ติดต่อเกินกว่า 30 วัน ในส่วนวันที่เกินจะไม่ได้รับค่าจ้าง

และหากลูกจ้างไม่สบาย และลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ขอดูใบรับรองแพทย์ได้ โดยต้องแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ
__________________________
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี‼️

กฎหมายหน้ารู้