ความผิดเกี่ยวกับการละเมิด

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานการรับเงินกู้ ที่ถือเสมือนเป็นหนังสือแทนสัญญากู้ได้

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิเรียกเงินค่าสินไหมทดแทน

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดที่เกี่ยวกับการละเมิด

ความผิดที่เกี่ยวกับการละเมิด
    กฎหมายกำหนดในเรื่องนี้ว่า ผู้กระทำการละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่การกระทำการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.ม. 420) ความผิดในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับหลักการ 3 ประการ ดังนี้
       1. กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย จะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นต้นว่า ฆ่าเขาตาย, ทำร้ายร่างกายเขา,ขับรถโดยประมาทชนคนตายและทรัพย์สินของเขาเสียหาย ฯลฯ
       2. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ คือ ทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เขาเสียหาย เช่น เจตนาฆ่าหรือเจตนาทำร้าย ฯลฯ 
       3. ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย โดยปกติผู้กระทำต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนแต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกันหรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดดังนี้บุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น ….

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิการเรียกค่าเสียหาย การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต

สิทธิการเรียกค่าเสียหาย “การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต”

1.ทายาทจะได้รับ

– ค่าปลงศพ

– ค่าใช้จ่ายจำเป็นเพื่อการปลงศพ

– ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต

2. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และลูกบุญธรรม หรือผู้รับลูกบุญธรรมจะได้รับ

–  ค่าขาดการไร้การอุปการะ

3. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และนายจ้างจะได้รับ

– ค่าชดใช้ขาดแรงงาน

กฎหมายหน้ารู้

สัญญาค้ำประกัน

สัญญาค้ำประกัน

การค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” สัญญาว่าจะชำาระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ ไม่ยอมชําระหนี้

 สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทําหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน

 ชนิดของสัญญาค้าประกัน ได้แก่ สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จํากัดจำนวน และสัญญาค้ำประกันจํากัดความรับผิด

————————————————————————————————————————-

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์คืน ในสัญญาขายฝาก

กฎหมายหน้ารู้

การจำนำ

การจำนำ

          จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชําระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น

          หลักเกณฑ์การจำนำที่ต้องปฏิบัติ

1) เมื่อผู้จำนำไม่ชําระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนำ

2) หากผู้จำนำยังไม่ชําระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินําทรัพย์สินนั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ

3) เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ

กฎหมายหน้ารู้

5 ข้อสำคัญผู้ให้เช่าอสังหาต้องรู้

 

 


กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ” ผู้ให้กู้ ” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ไม่ก็ได้

          ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสําคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบ บังคับคนจน กฎหมายจึงได้กําหนดค่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือ ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัท เงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)

         ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทังหมด (เป็นโมฆะ) คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

กฎหมายหน้ารู้